Keurig K-Mini Single Serve K-Cup Pod Coffee Maker, Poppy Red

Google

Wednesday, October 21, 2009

Dollar Diplomacy

การทูตดอลลาร์

การใช้อำนาจของรัฐต่อประเทศอื่น เพื่อส่งเสริมผลประโยชน์ในการลงทุนที่ต่างประเทศของภาคเอกชนให้แก่พลเมืองของตน การทูตดอลลาร์เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับนโยบายต่างประเทศของสหรัฐ ฯ ในประเทศแถบละตินอเมริกา ในระหว่างการบริหารเป็นประธานาธิบดีของนายธีออดอร์ รูสเวสท์ นายวิเลียม โฮเวิร์ด ทัฟท์ และนายวูดโรว์ วิลสัน นโยบายการทูตดอลลาร์นี้ตั้งอยู่บนฐานของความคิดเห็นที่ว่า การลงทุนของคนอเมริกันในต่างประเทศจะเป็นประโยชน์ต่อภูมิภาคนั้น ๆ และแก่ผู้ลงทุนเอง และแนวความคิดที่ว่า การลงทุนในทางสร้างสรรจะเป็นไปได้ก็ต้องให้เกิดเสถียรภาพเสียก่อน นโยบายการทูตดอลลาร์จึงได้เรียกร้องให้สหรัฐอเมริกาเข้าแทรกแซงทางด้านการทหาร เมื่อเห็นว่าเป็นความจำเป็น เพื่อให้เกิดเสถียรภาพและเพื่อป้องกันการแทรกแซงจากต่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ใกล้เคียงกับคลองปานามา

ความสำคัญ การทูตดอลลาร์จะเกี่ยวข้องกับการเข้าแทรกแซงหลากหลายรูปแบบ อาทิ การใช้กำลังทหารและจัดตั้งดินแดนอารักขาทางการเงินในคิวบา สาธารณรัฐโดมินิกัน ไฮติ และนิการากัว นโยบายการทูตดอลลาร์นี้นำไปสู่การกล่าวหาว่าเป็น "ลัทธิจักรวรรดินิยมแยงกี้" และลัทธิจักรวรรดินิยมทางเศรษฐกิจ กับเป็นการสร้างความหวาดระแวงและความประสงค์ร้ายที่ประทับตรึงตราอยู่ยั่งยืนต่อ "ยักษ์ใหญ่ทางภาคเหนือ" (หมายถึงสหรัฐอเมริกา) ความเป็นศัตรูกันทีี่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ครั้งนั้นก็ยังมีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกากับละตินอเมริกา แม้ว่าจะมีความพยายามใช้นโยบายเพื่อนบ้านที่ดีเริ่มตั้งแต่สมัยที่ฮูเวอร์เป็นประธานาธิบดีเรื่อยมาจนกระทั่งถึงประธานาธิบดีคนต่อ ๆ มาทุกคนนับตั้งแต่ประธานาธิบดีแฟรงกลิน รูสเวลท์ก็ไม่ทำให้สถานการณ์ดีขึ้น ความพยายามที่จะสร้างความร่วมมือระดับพหุภาคีผ่านทางองค์การต่าง ๆ เช่น องค์การนานารัฐอเมริกา (โอเอเอส) และพันธมิตรเพื่อความก้าวหน้า เป็นต้น ก็มิได้ช่วยให้ยุติความกังวลเกี่ยวกับการแทรกแซงที่แสดงออกมาโดยหมู่รัฐต่าง ๆ ในละตินอเมริกา ดังเช่น วิกฤติการณ์ในกัวเตมาลา (ค.ศ. 1954) ความพยายามรุกรานเบย์ออฟพิกส์(อ่าวหมู)ของคิวบา (ค.ศ. 1961) การแทรกแซงฝ่ายเดียวของสหรัฐอเมริกาในวิกฤติการณ์โดมินิกัน (ค.ศ. 1965) และการรุกรานเกรนาดา (ค.ศ.1983)

No comments:

Post a Comment

Google