Keurig K-Mini Single Serve K-Cup Pod Coffee Maker, Poppy Red

Google

Wednesday, October 21, 2009

President : Appointment Power

ประธานาธิบดี : อำนาจในการแต่งตั้ง

อำนาจในการกำหนดตัวบุคคลที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่งในรัฐบาล อำนาจในการแต่งตั้ง (ซึ่งตามปกติเป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหาร) ในสหรัฐ ฯ ได้ถูกดัดแปลงโดยระบบคานและดุลอำนาจ ในมาตรา 2 อนุมาตรา 2 ของรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ว่า ประธานาธิบดี "จะเป็นผู้กำหนดตัวบุคคล และโดยคำแนะนำและความยินยอมของวุฒิสภา เป็นผู้แต่งตั้งเอกอัครราชทูต อัครราชทูตและกงสุล" อำนาจในการแต่งตั้งของประธานาธิบดีและของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้รับการสนับสนุนจากข้อกำหนดของกฎหมาย ภายใต้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมาตราเดียวกันนั้นว่า "สภาคองเกรสตามกฎหมายอาจมอบอำนาจการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ชั้นผู้น้อยดังกล่าวตามแต่จะเห็นสมควร ให้แก่ประธานาธิบดีแต่เพียงผู้เดียว ... หรือแก่รัฐมนตรีเจ้ากระทรวงต่าง ๆ ก็ได้ นอกจากนั้นแล้ว ประธานาธิบดีก็ยังได้รับมอบอำนาจให้แต่งตั้งบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งเป็นเอกอัครราชทูต อัครราชทูต หรือกงสุล ที่ว่างลงในขณะที่วุฒิสภาอยู่ในระหว่างพักการประชุม หากมีการเรียกประชุมวุฒิสภาแล้ว การแต่งตั้งชั่วคราวนั้นไม่ได้รับความยืนยันไม่ว่าจะด้วยเหตุใด ก็ให้การเข้าดำรงตำแหน่งของผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งนั้นสิ้นสุดลงเมื่อสิ้นสุดสมัยประชุมของวุฒิสภา" ด้วยเหตุนี้อำนาจของประธานาธิบดีในการแต่งตั้งได้มาโดยตรงจากรัฐธรรมนูญและได้รับการสนับสนุนจากกฎหมายที่ออกมาโดยสภาคองเกรส

ความสำคัญ ด้วยเหตุที่ประธานาธิบดีต้องรับผิดชอบต่อการดำเนินนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ ดังนั้นบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดี ก็จะต้องเป็นบุคคลที่สามารถดำเนินนโยบายด้วยความพิถีพิถันและด้วยความมีทักษะ ด้วยเหตุนี้ในการกำหนดตัวบุคคลที่จะเป็นเอกอัครราชทูตและนักการทูตอื่น ๆ นั้น ประธานาธิบดีจะมีเอกสิทธิ์อย่างกว้างขวาง และไม่ค่อยจะถูกตรวจสอบจากวุฒิสภาโดยปฏิเสธการให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งนั้น ประธานาธิบดีไม่จำเป็นต้องคัดเลือกบุคคลที่จะดำรงตำแหน่งทางการทูตในระดับสูงจากข้ารัฐการประจำฝ่ายต่างประเทศก็ได้ และในทุกรัฐบาลก็จะมีการแต่งตั้งบุคคลที่จะดำรงตำแหน่งทางการทูตในระดับสูงโดยทางการเมือง แต่นักการทูตมืออาชีพที่ได้รับการแต่งตั้งก็มีประมาณ 50 - 75 % นอกจากนั้นในการดำเนินทางการทูตระดับที่ไม่เป็นทางการนั้นประธานาธิบดีก็อาจจะส่งทูตส่วนตัวนำคณะทูตเดินทางไปยังประเทศต่าง ๆ โดยไม่จำต้องขอคำแนะนำหรือได้รับคำเห็นชอบจากวุฒิสภาเลยก็ได้ ประธานาธิบดีมีอำนาจที่จะถอดถอนเจ้าหน้าที่ทางการทูตได้ทุกเวลา ทั้งนี้เพราะเจ้าหน้าที่ทางฝ่ายบริหารและทางฝ่ายปกครองทุกคนอยู่ในบังคับของประธานาธิบดีทั้งนั้น

No comments:

Post a Comment

Google