Keurig K-Mini Single Serve K-Cup Pod Coffee Maker, Poppy Red

Google

Wednesday, October 21, 2009

Trade Agreement Act of 1979

รัฐบัญญัติข้อตกลงทางการค้าปี ค.ศ. 1979

รัฐบัญญัติที่ใช้ดำเนินการตามข้อตกลงที่กระทำขึ้นในระหว่างการเจรจาทางการค้าพหุภาคีรอบโตเกียวที่เริ่มเมื่อ ปี ค.ศ. 1973 และยุติลงที่เจนีวาเมื่อปี ค.ศ. 1979 เป็นรัฐบัญญัติฉบับที่ 4 ในอีกหลายฉบับที่กำกับนโยบายทางการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐฯนับแต่ยุคเศรษฐกิของโลกตกต่ำเป็นต้นมา รัฐบัญญัติอื่น ๆ ได้แก่ รัฐบัญญัติข้อตกลงทางการค้าต่างตอบแทนปี ค.ศ. 1934 รัฐบัญญัติขยายการค้าปี ค.ศ. 1962 และรัฐบัญญัติการค้าปี ค.ศ. 1974

ความสำคัญ นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองยุติเป็นต้นมา การสนับสนุนของสหรัฐ ฯ เพื่อให้มีการขยายการค้าโลก ได้ดำเนินการโดยผ่านทางข้อตกลงทางการค้าพหุภาคี "รอบต่าง ๆ " ตามห้วงเวลา ซึ่งดำเนินการภายใต้ข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (แกตต์) ที่ได้ใช้หลักการ "ชาติที่ได้การอนุเคราะห์ยิ่ง" เป็นเครื่องมือเพื่อลดอุปสรรคทางการค้าต่าง ๆ อย่างไรก็ตามสถานะของสหรัฐ ฯ ในฐานะเป็นยักษ์ใหญ่ทางการค้าระหว่างประเทศได้ถูกท้าทายจากปรากฏการณ์ต่างๆ เช่น(1)จากการเติบโตทางเศรษฐกิจและจากพลังการแข่งขันของประชาคมยุโรปและของญี่ปุ่นตลอดจนนโยบายการปกป้องสินค้าและอุตสาหกรรภายในของประชาคมยุโรปและของญี่ปุ่น (2) จากการตกต่ำทางเศรษฐกิจอันมีสาเหตุจากวิกฤติการณ์น้ำมัน (3) จากภาวะเงินฟ้า (4) จากภาวะว่างงาน และ (5) จากการเสื่อมค่าลงของเงินสกุลดอลลาร์ จากปัจจัยต่าง ๆ ข้างต้นผนวกเข้ากับปัจจัยอื่น ๆ ผสมกันเข้า ทำให้เกิดมีการเรียกร้องให้รัฐบาลสหรัฐ ฯ ดำเนินนโยบายปกป้องสินค้าและอุตสาหกรรมภายในของตน ต่อต้านการแข่งขันจากต่างประเทศ "ที่ขาดความยุติธรรม" การเรียกร้องดังกล่าวมาจากเขตเลือกตั้งในท้องถิ่นอันจะมีผลทางการเมือง ซึ่งยากที่ผู้แทนที่ทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติจะขัดขืนได้ แม้ว่าฝ่ายบริหารจะทำการกดดันให้ดำเนินทางการค้าเสรีต่อไปก็ตาม ผลประโยชน์ของสหรัฐ ฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการเกษตรและด้านบริหารเป็น 2 หัวข้อสำคัญที่ถูกบรรจุไว้ในการเจรจา "รอบอุรุกวัย" ที่ดำเนินการเมื่อปี ค.ศ. 1986

No comments:

Post a Comment

Google