Keurig K-Mini Single Serve K-Cup Pod Coffee Maker, Poppy Red

Google

Wednesday, October 21, 2009

President : Chief Diplomat

ประธานาธิบดี : ประมุขนักการทูต

บทบาทของประมุขฝ่ายบริหาร ในฐานะที่เป็นผู้เจรจาระดับสูงสุดของชาติกับรัฐต่างประเทศ ประธานาธิบดีในฐานะที่เป็นประมุขนักการทูตนี้ ทำหน้าที่เป็นคนกลางอย่างเป็นทางการที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาสามารถใช้ติดต่อกับรัฐบาลต่างประเทศได้ อำนาจของประธานาธิบดีในด้านนี้ได้มาโดยตรงและโดยอ้อมจากมาตรา 2 ของรัฐธรรมนูญ ด้วยเหตุนี้ ประธานาธิบดีจึงสามารถ (1) ส่งและรับเอกอัครราชทูต (2) ให้การรับรองหรือถอนการรับรอง (3) ตัดความสัมพันธ์ทางการทูต (4) เจรจาสนธิสัญญา และ (5) มีอำนาจในฐานะเป็นผู้บัญชาการทหารสามเหล่าทัพ ที่จะใช้อำนาจทางทหารของชาติให้การสนับสนุนนโยบายต่างประเทศของสหรัฐ ฯ ได้ ในการสร้างและดำเนินนโยบายต่างประเทศนั้น ประธานาธิบดีจะต้องพึ่งพาอาศัยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ตลอดจนกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ที่เจ้ากระทรวงทั้งสองเป็นหัวหน้าบังคับบัญชาอยู่นั้น

ความสำคัญ ความสำคัญของประธานาธิบดีในฐานะเป็นประมุขนักการทูตนี้ได้รับการรับรองมาตั้งแต่ยุคต้น ๆ ของการก่อตั้งสาธารณรัฐ ศาลสูงในคดี "สหรัฐอเมริกากับเคอร์ติส - ไร้ท์ เอ็กซพอร์ต คอร์ป" มีมติว่า "ประธานาธิบดีเท่านั้นมีอำนาจที่จะพูดหรือฟังในฐานะเป็นตัวแทนของชาติ" การเจรจาโดยตรงในระดับประธานาธิบดีได้ดำเนินการโดยประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสันในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และโดยประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. รูสเวลท์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง สำหรับในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองนั้นการทูตในระดับประชุมสุดยอดกับประมุขรัฐบาลอื่น ๆ เป็นปรากฏการณ์สำคัญที่แสดงถึงบทบาทของประธานาธิบดีในฐานะเป็นประมุขนักการทูต และบทบาทนี้ก็ได้รับการส่งเสริมมากยิ่งขึ้นจากพัฒนาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เช่น เมื่อปี ค.ศ. 1963 ได้มีข้อตกลงติดตั้ง "สายด่วน" เชื่อมโยงการติดต่อโดยตรงระหว่างทำเนียบขาวกับพระราชวังเครมลิน เป็นต้น ในช่วงที่ประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสันรื้อฟื้นความสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณรัฐประชาชนจีน และในช่วงที่ประธานาธิบดีจิมมี คาร์เตอร์เจรจาสันติภาพที่แคมป์เดวิดกับอียิปต์และอิสราเอลระหว่างทศวรรษปี 1970 ล้วนแสดงให้เห็นบทบาททางการทูตของประธานาธิบดีได้เป็นอย่างดีทั้งสิ้น

No comments:

Post a Comment

Google