หน่วยงานพัฒนาระหว่างประเทศ (เอไอดี)
หน่วยงานกึ่งอัตโนมัติที่ปฏิบัติงานเป็นองค์ประกอบหนึ่งของหน่วยงานความร่วมมือระหว่างประเทศ (ไอดีซีเอ) ที่จัดตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1979 เอไอดีขณะนี้ขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการของไอดีซีเอ และทำหน้าที่บริหารความช่วยเหลือแก่ต่างประเทศทางด้านเศรษฐกิจและด้านเทคนิค โดยประสานโครงการให้ความช่วยเหลือเพื่อสนับสนุนความมั่นคงและอำนวยการทางด้านเศรษฐกิจของโครงการอาหารเพื่อสันติภาพ หากเกิดความขัดแย้งระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกับผู้อำนวยการของไอดีซีเอเกี่ยวกับนโยบายการให้ความช่วยเหลือ ก็ให้ประธานาธิบดีเป็นผู้ตัดสิน
ความสำคัญ นับตั้งแต่ยุคที่ได้มี "แผนมาร์แชล" เป็นต้นมา ได้เกิดปัญหาการจัดระบบความสัมพันธ์ระหว่างโครงการให้ความช่วยเหลือต่างประเทศกับกระทรวงการต่างประเทศ การจัดระบบเกี่ยวกับเรื่องนี้จะมีลักษณะกวัดแกว่ง คือ ทางหนึ่งก็ต้องการให้กระทรวงการต่างประเทศควบคุมนโยบายต่างประเทศทางด้านเศรษฐกิจ แต่อีกทางหนึ่งก็ไม่ต้องการให้กระทรวงการต่างประเทศ เข้าไปมีส่วนในด้านปฏิบัติการในต่างประเทศของนโยบายดังกล่าว ในทำนองเดียวกันนี้ก็ได้เกิดปัญหาความสัมพันธ์ทางด้านการบริหารระหว่างโครงการให้ความช่วยเหลือทางด้านเศรษฐกิจกับโครงการให้ความช่วยเหลือทางด้านการทหาร บทบาทของเอไอดีที่อยู่ภายใต้การกำกับของไอดีซีเอนี้มีลักษณะเป็นการประนีประนอม คือ มีบทบาท (1) เน้นใช้แผนพัฒนาระยะยาว (2) รับผิดชอบในเชิงปฏิบัติการ (3) ประสานโครงการให้ความช่วยเหลือต่าง ๆ ในแต่ละประเทศ เมื่อได้จัดตั้งไอดีซีเอเป็นหน่วยงานอิสระแต่ให้ผู้อำนวยขึ้นต่อรัฐมนตรีว่าการต่างประเทศเช่นนี้ พวกผู้เชี่ยวชาญทางด้านบริหารเชื่อว่า พวกตนสามารถแก้ปัญหาในเรื่องที่ว่าควรจะเอาเอไอดีไปไว้ที่ไหนได้ ในทางปฏิบัตินั้น ไอดีซีเอและกระทรวงการคลังจะทำงานใกล้ชิดกับ (1) สหประชาชาติ (2) องค์การรัฐอเมริกา (โอเอเอส) (3) กลุ่มธนาคารโลก (ไอบีอาร์ดี) (4) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (5) ธนาคารพัฒนาในระดับภูมิภาคต่าง ๆ ในการให้การสนับสนุนเพื่อให้บรรลุถึงความทันสมัยของประเทศที่กำลังพัฒนา ในช่วงทศวรรษ 1980 เอไอดีมีผู้แทนถาวรประจำอยู่ในประเทศที่ได้รับความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจในแบบทวิภาคีจากสหรัฐอเมริกามีจำนวนถึง88 ประเทศ
Keurig K-Mini Single Serve K-Cup Pod Coffee Maker, Poppy Red
Wednesday, October 21, 2009
Alliance for progress
พันธมิตรเพื่อความก้าวหน้า
โครงการพัฒนาระยะ 10 ปีสำหรับภูมิภาคละตินอเมริกา ที่เสนอแนะโดยประธานธิบดี จอห์น เอฟ. เคนเนดี และได้รับการจัดตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1961ที่เมืองปุนตา เดล เอสเต ประเทศอุรุกวัย โดยประเทศสาธารณรัฐต่าง ๆ ในทวีปอเมริการทุกประเทศยกเว้นประเทศคิวบา แผนพันธมิตรเพื่อความก้าวหน้านี้เป็นการรวมพลังความพยายามที่จะสนองความต้องการที่จะสร้างความทันสมัยให้เกิดขึ้นในภูมิภาค โดยวิธีให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันและการช่วยตนเองไปพร้อม ๆ กัน สหรัฐอเมริกาคาดการณ์ไว้ว่าในช่วงที่ดำเนินโครงการพันธมิตรเพื่อความก้าวหน้าระยะเวลา 10 ปี จะมีเงินทุนจากภาครัฐบาลและภาคเอกชนไหลเข้าไปมีมูลค่าประมาณ 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากนักลงทุนภาคเอกชนของประเทศที่มีทุนเหลือเฟือภายนอกภูมิภาค อย่างไรก็ตามประเทศผู้เข้าร่วมโครงการได้ให้การรับรองว่า ในที่สุดแล้วประเทศในแถบละตินอเมริกาเองก็จะต้องออกเงินสมทบอีก 4 เท่าตัวของเงินจำนวนดังกล่าว เพื่อจะให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ของโครงการ โครงการพันธมิตรเพื่อความก้าวหน้าเรียกร้องดังนี้ (1) ให้มีการวางแผนในระดับภูมิภาคโดยคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจและสังคมระหว่างรัฐในทวีปอเมริกา และโดยคณะกรรมการพัฒนาระหว่างรัฐในทวีปอเมริกา (2) ให้มีการร่วมมือและมีบูรณาการทางเศรษฐกิจ (3) ให้สร้างเสถียรภาพแก่ราคาสินค้าส่งออก (4) ให้ปฏิรูปที่ดินและภาษี (5) ให้พัฒนาอุตสาหกรรม และ (6) ให้ปรับปรุงสุขอนามัยและโอกาสทางการศึกษา
ความสำคัญ โครงการพันธมิตรเพื่อความก้าวหน้านี้เข้าลักษณะ ”ท่าดีแต่ทีเหลว”เป็นไปอย่างอืดอาดยืดยาดในท่ามกลางการทะเลาะเบาะแว้งและสาดโคลนเข้าใส่กัน ที่เป็นเช่นนี้ส่วนหนึ่งก็สามารถอธิบายได้ว่า มาจากโครงการ ฯ มีภารกิจกว้างใหญ่ไพศาลเป็นการเรียกร้องให้มีการปฏิวัติทางสังคมและเศรษฐกิจทั่วทั้งทวีปอเมริกาเลยทีเดียว ในสหรัฐอเมริกาการคัดค้านโครงการนี้มาจากพวกที่คัดค้านการให้ความช่วยเหลือแก่ต่างประเทศ ส่วนในละตินอเมริกาเองพวกหัวเก่าก็ไม่อยากให้มีการปฏิรูปเกิดขึ้น เพราะหากมีการปฏิรูปก็จะทำให้พวกเขาต้องสูญเสียสถานภาพของตนไป ในขณะเดียวกัน ทั่วทั้งพื้นที่ในละตินอเมริกาก็มีอัตราการเพิ่มของประชากรอยู่ในระดับสูงมาก เป็นตัวกระตุ้นให้ต้องดำเนินการสร้างความทันสมัยทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ข้างฝ่ายสหรัฐอเมริกาก็ยังคงให้ความช่วยเหลือในระดับปานกลาง ภายในกรอบปรัชญาทั่วไปของโครงการ
โครงการพัฒนาระยะ 10 ปีสำหรับภูมิภาคละตินอเมริกา ที่เสนอแนะโดยประธานธิบดี จอห์น เอฟ. เคนเนดี และได้รับการจัดตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1961ที่เมืองปุนตา เดล เอสเต ประเทศอุรุกวัย โดยประเทศสาธารณรัฐต่าง ๆ ในทวีปอเมริการทุกประเทศยกเว้นประเทศคิวบา แผนพันธมิตรเพื่อความก้าวหน้านี้เป็นการรวมพลังความพยายามที่จะสนองความต้องการที่จะสร้างความทันสมัยให้เกิดขึ้นในภูมิภาค โดยวิธีให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันและการช่วยตนเองไปพร้อม ๆ กัน สหรัฐอเมริกาคาดการณ์ไว้ว่าในช่วงที่ดำเนินโครงการพันธมิตรเพื่อความก้าวหน้าระยะเวลา 10 ปี จะมีเงินทุนจากภาครัฐบาลและภาคเอกชนไหลเข้าไปมีมูลค่าประมาณ 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากนักลงทุนภาคเอกชนของประเทศที่มีทุนเหลือเฟือภายนอกภูมิภาค อย่างไรก็ตามประเทศผู้เข้าร่วมโครงการได้ให้การรับรองว่า ในที่สุดแล้วประเทศในแถบละตินอเมริกาเองก็จะต้องออกเงินสมทบอีก 4 เท่าตัวของเงินจำนวนดังกล่าว เพื่อจะให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ของโครงการ โครงการพันธมิตรเพื่อความก้าวหน้าเรียกร้องดังนี้ (1) ให้มีการวางแผนในระดับภูมิภาคโดยคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจและสังคมระหว่างรัฐในทวีปอเมริกา และโดยคณะกรรมการพัฒนาระหว่างรัฐในทวีปอเมริกา (2) ให้มีการร่วมมือและมีบูรณาการทางเศรษฐกิจ (3) ให้สร้างเสถียรภาพแก่ราคาสินค้าส่งออก (4) ให้ปฏิรูปที่ดินและภาษี (5) ให้พัฒนาอุตสาหกรรม และ (6) ให้ปรับปรุงสุขอนามัยและโอกาสทางการศึกษา
ความสำคัญ โครงการพันธมิตรเพื่อความก้าวหน้านี้เข้าลักษณะ ”ท่าดีแต่ทีเหลว”เป็นไปอย่างอืดอาดยืดยาดในท่ามกลางการทะเลาะเบาะแว้งและสาดโคลนเข้าใส่กัน ที่เป็นเช่นนี้ส่วนหนึ่งก็สามารถอธิบายได้ว่า มาจากโครงการ ฯ มีภารกิจกว้างใหญ่ไพศาลเป็นการเรียกร้องให้มีการปฏิวัติทางสังคมและเศรษฐกิจทั่วทั้งทวีปอเมริกาเลยทีเดียว ในสหรัฐอเมริกาการคัดค้านโครงการนี้มาจากพวกที่คัดค้านการให้ความช่วยเหลือแก่ต่างประเทศ ส่วนในละตินอเมริกาเองพวกหัวเก่าก็ไม่อยากให้มีการปฏิรูปเกิดขึ้น เพราะหากมีการปฏิรูปก็จะทำให้พวกเขาต้องสูญเสียสถานภาพของตนไป ในขณะเดียวกัน ทั่วทั้งพื้นที่ในละตินอเมริกาก็มีอัตราการเพิ่มของประชากรอยู่ในระดับสูงมาก เป็นตัวกระตุ้นให้ต้องดำเนินการสร้างความทันสมัยทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ข้างฝ่ายสหรัฐอเมริกาก็ยังคงให้ความช่วยเหลือในระดับปานกลาง ภายในกรอบปรัชญาทั่วไปของโครงการ
Bipartisanship
ภาวะปรองดองระหว่างสองพรรค
ความมีเอกภาพระหว่างพรรคการเมืองในการแก้ปัญหาสำคัญของนโยบายต่างประเทศสหรัฐ ฯ ภาวะปรองดองระหว่างสองพรรคตั้งอยู่บนรากฐานของแนวความคิดของความร่วมมือร่วมใจกันระหว่างพรรคการเมืองใหญ่สองพรรค (กล่าวคือ พรรคดีโมแครตและพรรครีพับลิกัน) ในสภาคองเกรส และระหว่างประธานาธิบดีกับหัวหน้าพรรคฝ่ายค้าน สมมติฐานของภาวะการปรองดองระหว่างสองพรรค ก็คือ เมื่อยามที่เกิดอันตรายร้ายแรงต่อชาติ การเมืองในแบบพรรคใครพรรคมันก็จะต้องยุติลงในทันที เพื่อแสดงให้โลกภายนอกได้เห็นว่ามีความปรองดองเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
ความสำคัญ ภาวะปรองดองระหว่างสองพรรคประสบความสำเร็จในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองและในช่วงที่เกิดการแข่งขันกันในสงครามเย็นหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติลงใหม่ ๆ ระบบรัฐธรรมนูญของสหรัฐ ฯ ที่เป็นแบบแบ่งแยกอำนาจและมีการคานดุลระหว่างกันนี้ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติได้ ซึ่งหากว่าไม่มีภาวะปรองดองระหว่างสองพรรคนี้เสียแล้ว ก็จะทำให้นโยบายต่างประเทศเป็นอัมพาตไปได้ ในที่สุดระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย ก็จะมีการเลือกระหว่างทางสองแพ่ง คือ หนทางหนึ่งเป็นการยึดหลักการเมืองแบบพรรคใครพรรคมัน กล่าวคือ พรรคใดเป็นฝ่ายค้านพรรคนั้นก็จะทำหน้าที่ค้านอย่างเต็มที่ กับอีกหนทางหนึ่ง คือ ยึดความสามัคคีปรองดองภายในชาติ ที่เป็นประชาธิปไตยน้อยแต่ทว่ามีสมานฉันท์ เพื่อช่วยกันแก้ปัญหานโยบายต่างประเทศ การที่ภาวะปรองดองระหว่างสองพรรคสำเร็จได้นั้น พรรคเสียงข้างน้อยจะต้องเกิดความรู้สึกว่าฝ่ายตนได้รับ "การปรึกษาหารือ" มิใช่เพียง "ได้รับการแจ้งให้ทราบ" เกี่ยวกับการตัดสินใจในนโยบาย
ความมีเอกภาพระหว่างพรรคการเมืองในการแก้ปัญหาสำคัญของนโยบายต่างประเทศสหรัฐ ฯ ภาวะปรองดองระหว่างสองพรรคตั้งอยู่บนรากฐานของแนวความคิดของความร่วมมือร่วมใจกันระหว่างพรรคการเมืองใหญ่สองพรรค (กล่าวคือ พรรคดีโมแครตและพรรครีพับลิกัน) ในสภาคองเกรส และระหว่างประธานาธิบดีกับหัวหน้าพรรคฝ่ายค้าน สมมติฐานของภาวะการปรองดองระหว่างสองพรรค ก็คือ เมื่อยามที่เกิดอันตรายร้ายแรงต่อชาติ การเมืองในแบบพรรคใครพรรคมันก็จะต้องยุติลงในทันที เพื่อแสดงให้โลกภายนอกได้เห็นว่ามีความปรองดองเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
ความสำคัญ ภาวะปรองดองระหว่างสองพรรคประสบความสำเร็จในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองและในช่วงที่เกิดการแข่งขันกันในสงครามเย็นหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติลงใหม่ ๆ ระบบรัฐธรรมนูญของสหรัฐ ฯ ที่เป็นแบบแบ่งแยกอำนาจและมีการคานดุลระหว่างกันนี้ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติได้ ซึ่งหากว่าไม่มีภาวะปรองดองระหว่างสองพรรคนี้เสียแล้ว ก็จะทำให้นโยบายต่างประเทศเป็นอัมพาตไปได้ ในที่สุดระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย ก็จะมีการเลือกระหว่างทางสองแพ่ง คือ หนทางหนึ่งเป็นการยึดหลักการเมืองแบบพรรคใครพรรคมัน กล่าวคือ พรรคใดเป็นฝ่ายค้านพรรคนั้นก็จะทำหน้าที่ค้านอย่างเต็มที่ กับอีกหนทางหนึ่ง คือ ยึดความสามัคคีปรองดองภายในชาติ ที่เป็นประชาธิปไตยน้อยแต่ทว่ามีสมานฉันท์ เพื่อช่วยกันแก้ปัญหานโยบายต่างประเทศ การที่ภาวะปรองดองระหว่างสองพรรคสำเร็จได้นั้น พรรคเสียงข้างน้อยจะต้องเกิดความรู้สึกว่าฝ่ายตนได้รับ "การปรึกษาหารือ" มิใช่เพียง "ได้รับการแจ้งให้ทราบ" เกี่ยวกับการตัดสินใจในนโยบาย
Bricker Amendment
บริกเกอร์ อะเมนด์เม้นท์
ข้อเสนอให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา ที่เสนอในสภาครองเกรสโดยวุฒิสมาชิก จอห์น บริกเกอร์ แห่งมลรัฐ โอไฮโอ เมื่อปี ค.ศ. 1953 และปี ค.ศ. 1954 ข้อเสนอในบริกเกอร์ อะเมนด์เม้นท์มีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) เพื่อเสริมสร้างบทบาทของสภาครองเกรสในการทำสนธิสัญญา (2) เพื่อจำกัดอำนาจของประธานาธิบดีในการบรรลุข้อตกลงฝ่ายบริหาร และ (3) เพื่อสร้างหลักประกันว่ารัฐธรรมนูญมีความสำคัญเหนือกว่าบทบัญญัติของสนธิสัญญาใด ๆ ข้อเสนอนี้มีอันตกไปเพราะขาดเสียงสนับสนุนไปเสียงหนึ่งทำให้มีคะแนนเสียงไม่ถึงสองในสามในวุฒิสภา
ความสำคัญ บริกเกอร์ อะเมนด์เม้นท์ คือ ฉากหนึ่งในประวัติศาสตร์ของการชิงดีชิงเด่นกันระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหาร ในอันที่จะควบคุมความสัมพันธ์ต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา พวกที่ให้การสนับสนุน บริกเกอร์ อะเมนด์เม้นท์ มีแรงกระตุ้นจากความกลัวว่าประธานาธิบดีจะทำสนธิสัญญาที่มีบทบัญญัติขัดกับรัฐธรรมนูญเหมือนอย่างที่เกิดขึ้นในกรณี มิสซูรีกับฮอลแลนด์ เมื่อ ค.ศ.1920 นอกจากนั้นแล้ว ข้อเสนอบริกเกอร์ อะเมนด์เม้นท์นี้ก็ยังสะท้อนให้เห็นความไม่พอใจในข้อตกฝ่ายบริหารในระหว่างสงครามที่กระทำกันที่ยัลตาและปอตสดัมเมื่อปี ค.ศ. 1945 กับสะท้อนให้เห็นผลที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำของสหประชาชาติในการบังคับใช้ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เป็นต้น หากข้อเสนอบริกเกอร์ อะเมนด์เม้นท์กระทำได้สำเร็จก็หมายถึงการกลับแนวโน้มทางประวัติศาสตร์ไปจากเดิมที่ฝ่ายบริหารเป็นผู้นำในกิจการต่างประเทศ รัฐบัญญัติ "เคสแอ็คท์" ปี ค.ศ. 1972 และรัฐบัญญัติ "วอร์พาวเวอร์สแอ็คท์" ปี ค.ศ. 1973 เป็นตัวอย่างของความพยายามของฝ่ายสภาครองเกรสที่จะปรับปรุงดุลอำนาจการตัดสินใจในกิจการระหว่างประเทศ โดยที่รัฐบัญญัติเคสแอ็คท์กำหนดให้ประธานาธิบดีจะต้องแจ้งข้อตกลงทางบริหารทุกอย่างที่ประธานาธิบดีกระทำให้สภาครองเกรสได้ทราบ ส่วนวอร์พาวเวอร์สแอ็คท์ก็เป็นความพยายามที่จะจำกัดอำนาจของประธานาธิบดีในการใช้กำลังทางทหาร
ข้อเสนอให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา ที่เสนอในสภาครองเกรสโดยวุฒิสมาชิก จอห์น บริกเกอร์ แห่งมลรัฐ โอไฮโอ เมื่อปี ค.ศ. 1953 และปี ค.ศ. 1954 ข้อเสนอในบริกเกอร์ อะเมนด์เม้นท์มีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) เพื่อเสริมสร้างบทบาทของสภาครองเกรสในการทำสนธิสัญญา (2) เพื่อจำกัดอำนาจของประธานาธิบดีในการบรรลุข้อตกลงฝ่ายบริหาร และ (3) เพื่อสร้างหลักประกันว่ารัฐธรรมนูญมีความสำคัญเหนือกว่าบทบัญญัติของสนธิสัญญาใด ๆ ข้อเสนอนี้มีอันตกไปเพราะขาดเสียงสนับสนุนไปเสียงหนึ่งทำให้มีคะแนนเสียงไม่ถึงสองในสามในวุฒิสภา
ความสำคัญ บริกเกอร์ อะเมนด์เม้นท์ คือ ฉากหนึ่งในประวัติศาสตร์ของการชิงดีชิงเด่นกันระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหาร ในอันที่จะควบคุมความสัมพันธ์ต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา พวกที่ให้การสนับสนุน บริกเกอร์ อะเมนด์เม้นท์ มีแรงกระตุ้นจากความกลัวว่าประธานาธิบดีจะทำสนธิสัญญาที่มีบทบัญญัติขัดกับรัฐธรรมนูญเหมือนอย่างที่เกิดขึ้นในกรณี มิสซูรีกับฮอลแลนด์ เมื่อ ค.ศ.1920 นอกจากนั้นแล้ว ข้อเสนอบริกเกอร์ อะเมนด์เม้นท์นี้ก็ยังสะท้อนให้เห็นความไม่พอใจในข้อตกฝ่ายบริหารในระหว่างสงครามที่กระทำกันที่ยัลตาและปอตสดัมเมื่อปี ค.ศ. 1945 กับสะท้อนให้เห็นผลที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำของสหประชาชาติในการบังคับใช้ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เป็นต้น หากข้อเสนอบริกเกอร์ อะเมนด์เม้นท์กระทำได้สำเร็จก็หมายถึงการกลับแนวโน้มทางประวัติศาสตร์ไปจากเดิมที่ฝ่ายบริหารเป็นผู้นำในกิจการต่างประเทศ รัฐบัญญัติ "เคสแอ็คท์" ปี ค.ศ. 1972 และรัฐบัญญัติ "วอร์พาวเวอร์สแอ็คท์" ปี ค.ศ. 1973 เป็นตัวอย่างของความพยายามของฝ่ายสภาครองเกรสที่จะปรับปรุงดุลอำนาจการตัดสินใจในกิจการระหว่างประเทศ โดยที่รัฐบัญญัติเคสแอ็คท์กำหนดให้ประธานาธิบดีจะต้องแจ้งข้อตกลงทางบริหารทุกอย่างที่ประธานาธิบดีกระทำให้สภาครองเกรสได้ทราบ ส่วนวอร์พาวเวอร์สแอ็คท์ก็เป็นความพยายามที่จะจำกัดอำนาจของประธานาธิบดีในการใช้กำลังทางทหาร
Camp David Accords
ข้อตกลงแคมป์ เดวิด
กรอบของข้อตกลงเพื่อ "การฟื้นสัมพันธไมตรี " ระหว่างอียิปต์กับอิสราเอล เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1978 ประเทศเพื่อนบ้านในตะวันออกกลางสองชาตินี้อยู่ในภาวะสงครามระหว่างกัน มีการต่อสู้กันบ้างเป็นครั้งคราวนับแต่มีการตั้งประเทศอิสราเอลขึ้นมาเมื่อปี ค.ศ. 1948 ประธานาธิบดีจิมมี คาร์เตอร์ มีความเห็นว่าเป็นโอกาสเหมาะที่จะระงับข้อพิพาทระหว่างอาหรับกับอิสราเอลให้เกิดสันติภาพขึ้นมาได้ ประธานาธิบดีคาร์เตอร์เห็นสิ่งบอกเหตุนี้จากการที่ประธานาธิบดีอันวาร์ เอล-ซาดัตแห่งอียิปต์เดินทางไปเยือนกรุงเยรูซาเลมในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1977 จึงมีความคิดว่าน่าจะให้ประธานาธิบดีอัลวาร์ เอล-ซาดัตกับนายกรัฐมนตรีเมนาฮิม เบกิน แห่งอิสราเอลได้มาพบปะเจรจาแก้ปัญหาร่วมกันเสียเลย ประธานาธิบดีสหรัฐ ฯ ได้ใช้ประโยชน์จากการที่ประเทศทั้งสองมีความเชื่อถือในสหรัฐอเมริกาทำหน้าที่เป็นคนกลางที่จะช่วยไกล่เกลี่ยและทำการกดดันอย่างต่อเนื่องเพื่อที่จะให้ทั้งสองฝ่ายทำความตกลงแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างกัน ข้อตกลงแคมป์ เดวิดนี้นำไปสู่สนธิสัญญาสันติภาพเป็นทางการเมื่อปี ค.ศ. 1979 ช่วยให้สงครามที่ทำกันมาถึง 30 ปียุติลงได้
ความสำคัญ ข้อตกลงแคมป์ เดวิดเป็นตัวอย่างแสดงให้เห็นบทบาทของหัวหน้าฝ่ายบริหารของสหรัฐอเมริกาในฐานะที่เป็นหัวหน้านักการทูตและหัวหน้าผู้ดำเนินการนโยบายต่างประเทศ จากผลของข้อตกลงและสนธิสัญญาสันติภาพ อิสราเอลได้รับการรับรองเป็นทางการครั้งแรกจากรัฐอาหรับรัฐหนึ่ง พร้อมกับที่ได้มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน ส่วนอียิปต์ก็ได้แหลมซีนายคืนและสามารถปลดเปลื้องตัวเองจากภาระเศรษฐกิจอันเกิดจากภาวะสงครามที่ยืดเยื้อได้ ข้างฝ่ายสหรัฐอเมริกาก็มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับอียิปต์และได้เข้าไปใช้สิ่งอำนวยความสะดวกทางทหารของประเทศอียิปต์ ทำให้สหรัฐเข้าไปมีอิทธิพลทางทหารในตะวันออกกลางได้ สหรัฐอเมริกาได้ให้การสนับสนุนข้อตกลงแคมป์ เดวิดและสนธิสัญญาสันติภาพ ด้วยการให้เงินช่วยเหลือแต่ละฝ่ายเป็นจำนวนหลายพันล้านดอลล่าร์ ส่วนสหภาพโซเวียตถูกกีดกันไม่ให้เข้ามามีส่วนร่วมในข้อตกลงและไม่ให้ขัดขวางความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศอาหรับกับอิสราเอล อย่างไรก็ตามข้อตกลงแคมป์ เดวิคไม่สามารถขยายกระบวนการสันติภาพในตะวันออกกลางออกไปได้ เนื่องจากไม่สามารถนำรัฐอาหรับอื่น ๆ มาสู่โต๊ะเจรจาได้
กรอบของข้อตกลงเพื่อ "การฟื้นสัมพันธไมตรี " ระหว่างอียิปต์กับอิสราเอล เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1978 ประเทศเพื่อนบ้านในตะวันออกกลางสองชาตินี้อยู่ในภาวะสงครามระหว่างกัน มีการต่อสู้กันบ้างเป็นครั้งคราวนับแต่มีการตั้งประเทศอิสราเอลขึ้นมาเมื่อปี ค.ศ. 1948 ประธานาธิบดีจิมมี คาร์เตอร์ มีความเห็นว่าเป็นโอกาสเหมาะที่จะระงับข้อพิพาทระหว่างอาหรับกับอิสราเอลให้เกิดสันติภาพขึ้นมาได้ ประธานาธิบดีคาร์เตอร์เห็นสิ่งบอกเหตุนี้จากการที่ประธานาธิบดีอันวาร์ เอล-ซาดัตแห่งอียิปต์เดินทางไปเยือนกรุงเยรูซาเลมในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1977 จึงมีความคิดว่าน่าจะให้ประธานาธิบดีอัลวาร์ เอล-ซาดัตกับนายกรัฐมนตรีเมนาฮิม เบกิน แห่งอิสราเอลได้มาพบปะเจรจาแก้ปัญหาร่วมกันเสียเลย ประธานาธิบดีสหรัฐ ฯ ได้ใช้ประโยชน์จากการที่ประเทศทั้งสองมีความเชื่อถือในสหรัฐอเมริกาทำหน้าที่เป็นคนกลางที่จะช่วยไกล่เกลี่ยและทำการกดดันอย่างต่อเนื่องเพื่อที่จะให้ทั้งสองฝ่ายทำความตกลงแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างกัน ข้อตกลงแคมป์ เดวิดนี้นำไปสู่สนธิสัญญาสันติภาพเป็นทางการเมื่อปี ค.ศ. 1979 ช่วยให้สงครามที่ทำกันมาถึง 30 ปียุติลงได้
ความสำคัญ ข้อตกลงแคมป์ เดวิดเป็นตัวอย่างแสดงให้เห็นบทบาทของหัวหน้าฝ่ายบริหารของสหรัฐอเมริกาในฐานะที่เป็นหัวหน้านักการทูตและหัวหน้าผู้ดำเนินการนโยบายต่างประเทศ จากผลของข้อตกลงและสนธิสัญญาสันติภาพ อิสราเอลได้รับการรับรองเป็นทางการครั้งแรกจากรัฐอาหรับรัฐหนึ่ง พร้อมกับที่ได้มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน ส่วนอียิปต์ก็ได้แหลมซีนายคืนและสามารถปลดเปลื้องตัวเองจากภาระเศรษฐกิจอันเกิดจากภาวะสงครามที่ยืดเยื้อได้ ข้างฝ่ายสหรัฐอเมริกาก็มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับอียิปต์และได้เข้าไปใช้สิ่งอำนวยความสะดวกทางทหารของประเทศอียิปต์ ทำให้สหรัฐเข้าไปมีอิทธิพลทางทหารในตะวันออกกลางได้ สหรัฐอเมริกาได้ให้การสนับสนุนข้อตกลงแคมป์ เดวิดและสนธิสัญญาสันติภาพ ด้วยการให้เงินช่วยเหลือแต่ละฝ่ายเป็นจำนวนหลายพันล้านดอลล่าร์ ส่วนสหภาพโซเวียตถูกกีดกันไม่ให้เข้ามามีส่วนร่วมในข้อตกลงและไม่ให้ขัดขวางความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศอาหรับกับอิสราเอล อย่างไรก็ตามข้อตกลงแคมป์ เดวิคไม่สามารถขยายกระบวนการสันติภาพในตะวันออกกลางออกไปได้ เนื่องจากไม่สามารถนำรัฐอาหรับอื่น ๆ มาสู่โต๊ะเจรจาได้
Caribbean Basin Initiative (CBI)
โครงการริเริ่มลุ่มทะเลคาริบเบียน(ซีบีไอ)
โครงการของสหรัฐอเมริกา เพื่อพัฒนาคุณค่าประชาธิปไตยและเศรษฐกิจแบบตลาดเสรีที่มีเสถียรภาพในแถบกลุ่มประเทศลุ่มทะเลคาริบเบียน ซึ่งประกาศเป็นโครงการโดยประธานาธิบดีไรนัลด์ เรแกนในที่ประชุมขององค์การรัฐในทวีปอเมริกา (โอเอเอส) เมื่อปี ค.ศ. 1982 สภาครองเกสของสหรัฐ ฯ ได้ตรากฎหมายว่าด้วยการปลอดภาษีและผลประโยชน์ด้านภาษีของซีบีไอนี้ไว้ใน "รัฐบัญญัติการฟื้นฟูเศรษฐกิจของลุ่มทะเลคาริบเบียน" ปี ค.ศ. 1983 โครงการซีบีไอมีผลบังคับใช้เป็นเวลา 12 ปี โดยเริ่มตั้งปี ค.ศ. 1984 มีขอบข่ายโครงการครอบคลุม 22 ประเทศ ข้อกำหนดของโครงการที่ว่าด้วยการปลอดภาษีนั้น ได้ให้การสนับสนุนการพัฒนาโดยผ่านทางความหลากหลายของสินค้าขาออก ส่วนข้อกำหนดที่ว่าด้วยผลประโยชน์ทางด้านภาษีนั้นได้ให้การสนับสนุนให้มีการลงทุนต่างประเทศภาคเอกชนของสหรัฐอเมริกาในภูมิภาคดังกล่าว
ความสำคัญ โครงการซีบีไอเพื่อเสถียรภาพทางการเมืองและเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคกลุ่มทะเลคาริบเบียนนี้มีความสำคัญต่อประชาชนชาวอเมริกัน ห้าสิบเปอร์เซ็นต์ของการค้าของสหรัฐทั้งหมดรวมทั้งการนำเข้านำ้มันเกือบทั้งหมดจะต้องขนส่งผ่านเส้นทางการเดินเรือในแถบทะเลคาริบเบียนนี้ การสร้างงานให้แก่ประชาชนที่อยู่ในภูมิภาคดังกล่าวนี้มีวัตถุประสงค์จะลดภาวะการว่างงานของคนภายในภูมิภาคนี้ ที่มีอยู่สูงถึง 40 เปอร์เซ็นต์ อันเป็นเหตุให้เป็นภูมิภาคที่มีคนหลบหนีเข้าไปอยู่ในสหรัฐอเมริกาใหญ่อันเป็นอันดับสองของโลก นอกจากนี้แล้วภูมิภาคคาริบเบียนนี้ก็ยังเป็นตลาดสำหรับสินค้าออกที่สำคัญแห่งหนึ่งของสหรัฐ ฯ คือ เป็นตลาดใหญ่เป็นอันดับเจ็ดของโลกเลยทีเดียว สินค้าส่งออกของสหรัฐที่ส่งเข้าไปขายในภูมิภาคแห่งนี้มีมูลค่าทั้งสิ้น 6.3 พันล้านดอลล่าร์ คือ เป็นจำนวนที่มากกว่าสินค้าขาออกที่สหรัฐฯส่งไปขายในสหภาพโซเวียตและประเทศในยุโรปตะวันออกรวมกัน หรือมากกว่าสินค้าขาออกที่สหรัฐฯส่งไปขายทุกประเทศในทวีปอเมริกา หรือมากกว่าสินค้าออกที่สหรัฐ ฯ ส่งไปขายในฝรั่งเศส หรืออิตาลีเสียอีก การให้ความสนับสนุนด้านดุลการชำระเงิน การให้ความช่วยเหลือทางด้านการพัฒนา และการให้ความช่วยเหลือทางด้านโภคภัณฑ์จากสหรัฐฯก็ดี การได้รับความช่วยเหลือทางด้านพลังงานราคาถูกจากเม็กซิโกและเวเนซุเอลากับจากโครงการตลาดเสรีของแคนนาดาต่อประเทศเครือไพบูลย์แห่งคาริบเบียนก็ดี ได้ช่วยให้ดินแดนแถบนี้เกิดการพัฒนาด้านต่าง ๆ แม้ว่าปัญหาการขาดดุลทางงบประมาณของสหรัฐ ฯ จะทำให้สหรัฐ ฯ ให้ความช่วยเหลือไม่ได้เต็มที่แต่ก็ได้ช่วยให้ดินแดนแถบนี้มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ยทั่วภูมิภาคถึง 2 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ประชากรทั่วทั้งภูมิภาคยังคงเติบโต 2.5 เปอร์เซ็นต์ต่อปีอยู่ต่อไป
โครงการของสหรัฐอเมริกา เพื่อพัฒนาคุณค่าประชาธิปไตยและเศรษฐกิจแบบตลาดเสรีที่มีเสถียรภาพในแถบกลุ่มประเทศลุ่มทะเลคาริบเบียน ซึ่งประกาศเป็นโครงการโดยประธานาธิบดีไรนัลด์ เรแกนในที่ประชุมขององค์การรัฐในทวีปอเมริกา (โอเอเอส) เมื่อปี ค.ศ. 1982 สภาครองเกสของสหรัฐ ฯ ได้ตรากฎหมายว่าด้วยการปลอดภาษีและผลประโยชน์ด้านภาษีของซีบีไอนี้ไว้ใน "รัฐบัญญัติการฟื้นฟูเศรษฐกิจของลุ่มทะเลคาริบเบียน" ปี ค.ศ. 1983 โครงการซีบีไอมีผลบังคับใช้เป็นเวลา 12 ปี โดยเริ่มตั้งปี ค.ศ. 1984 มีขอบข่ายโครงการครอบคลุม 22 ประเทศ ข้อกำหนดของโครงการที่ว่าด้วยการปลอดภาษีนั้น ได้ให้การสนับสนุนการพัฒนาโดยผ่านทางความหลากหลายของสินค้าขาออก ส่วนข้อกำหนดที่ว่าด้วยผลประโยชน์ทางด้านภาษีนั้นได้ให้การสนับสนุนให้มีการลงทุนต่างประเทศภาคเอกชนของสหรัฐอเมริกาในภูมิภาคดังกล่าว
ความสำคัญ โครงการซีบีไอเพื่อเสถียรภาพทางการเมืองและเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคกลุ่มทะเลคาริบเบียนนี้มีความสำคัญต่อประชาชนชาวอเมริกัน ห้าสิบเปอร์เซ็นต์ของการค้าของสหรัฐทั้งหมดรวมทั้งการนำเข้านำ้มันเกือบทั้งหมดจะต้องขนส่งผ่านเส้นทางการเดินเรือในแถบทะเลคาริบเบียนนี้ การสร้างงานให้แก่ประชาชนที่อยู่ในภูมิภาคดังกล่าวนี้มีวัตถุประสงค์จะลดภาวะการว่างงานของคนภายในภูมิภาคนี้ ที่มีอยู่สูงถึง 40 เปอร์เซ็นต์ อันเป็นเหตุให้เป็นภูมิภาคที่มีคนหลบหนีเข้าไปอยู่ในสหรัฐอเมริกาใหญ่อันเป็นอันดับสองของโลก นอกจากนี้แล้วภูมิภาคคาริบเบียนนี้ก็ยังเป็นตลาดสำหรับสินค้าออกที่สำคัญแห่งหนึ่งของสหรัฐ ฯ คือ เป็นตลาดใหญ่เป็นอันดับเจ็ดของโลกเลยทีเดียว สินค้าส่งออกของสหรัฐที่ส่งเข้าไปขายในภูมิภาคแห่งนี้มีมูลค่าทั้งสิ้น 6.3 พันล้านดอลล่าร์ คือ เป็นจำนวนที่มากกว่าสินค้าขาออกที่สหรัฐฯส่งไปขายในสหภาพโซเวียตและประเทศในยุโรปตะวันออกรวมกัน หรือมากกว่าสินค้าขาออกที่สหรัฐฯส่งไปขายทุกประเทศในทวีปอเมริกา หรือมากกว่าสินค้าออกที่สหรัฐ ฯ ส่งไปขายในฝรั่งเศส หรืออิตาลีเสียอีก การให้ความสนับสนุนด้านดุลการชำระเงิน การให้ความช่วยเหลือทางด้านการพัฒนา และการให้ความช่วยเหลือทางด้านโภคภัณฑ์จากสหรัฐฯก็ดี การได้รับความช่วยเหลือทางด้านพลังงานราคาถูกจากเม็กซิโกและเวเนซุเอลากับจากโครงการตลาดเสรีของแคนนาดาต่อประเทศเครือไพบูลย์แห่งคาริบเบียนก็ดี ได้ช่วยให้ดินแดนแถบนี้เกิดการพัฒนาด้านต่าง ๆ แม้ว่าปัญหาการขาดดุลทางงบประมาณของสหรัฐ ฯ จะทำให้สหรัฐ ฯ ให้ความช่วยเหลือไม่ได้เต็มที่แต่ก็ได้ช่วยให้ดินแดนแถบนี้มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ยทั่วภูมิภาคถึง 2 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ประชากรทั่วทั้งภูมิภาคยังคงเติบโต 2.5 เปอร์เซ็นต์ต่อปีอยู่ต่อไป
Case Act of 1972
รัฐบัญญัติเคสแอ็คส์ ปี ค.ศ. 1972
รัฐบัญญัติที่เสนอโดยวุฒิสมาชิกคลิฟฟอร์ดเคส (จากรัฐนิวเจอร์ซี) ซึ่งมีข้อกำหนดให้ประธานาธิบดีต่อยื่นต้นฉบับของข้อตกลงฝ่ายบริหารทั้งปวงต่อสภาครองเกส หากประธานาธิบดีพิจารณาเห็นว่าการเปิดเผยบทบัญญัติในข้อตกลงฝ่ายบริหารดังกล่าวจะเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของชาติกฎหมายก็ได้ให้สิทธิแก่ประธานาธิบดีที่จะไม่เปิดเผยความลับนี้ได้ อย่างไรก็ตามต้นฉบับของข้อตกลงดังกล่าวจะต้องส่งมอบให้แก่คณะกรรมาธิการวิเทศสัมพันธ์วุฒิสภาและแก่คณะกรรมาธิการกิจการต่างประเทศสภาผู้แทนนี้เท่านั้น รัฐบัญญัติเคสแอ็คส์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันฝ่ายบริหารมิให้ปกปิดฝ่ายนิติบัญญัติในเรื่องข้อผูกพันต่างประเทศโดยใช้วิธีการทำข้อตกลงฝ่ายบริหารแทนที่จะใช้กระบวนการทางสนธิสัญญา
ความสำคัญ รัฐบัญญัติเคสแอ็คส์เป็นตัวอย่างแสดงให้เห็นถึงการแข่งขันชิงดีชิงเด่นระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติที่ถูกสร้างขึ้นมาในการบริหารบ้านเมืองโดยระบบแบ่งแยกอำนาจและหลักการคานและดุลอำนาจ เมื่อปี ค.ศ. 1954 ข้อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ "บริกเกอร์ อะเมนด์เม้นท์" ที่ต้องการจำกัดอำนาจทำสนธิสัญญาของประธานาธิบดีมีอันตกไปเพราะขาดเสียงสนับสนุนหนึ่งเสียง ทำให้มีคะแนนเสียงไม่ถึงสองในสามของวุฒิสภาได้ อย่างไรก็ตามจากการที่ได้ประกาศยกเลิกมติอ่าวตังเกี๋ยในปี ค.ศ. 1970 ก็ดี จากการที่ได้ผ่านรัฐบัญญัติเคสแอ็คส์ปี ค.ศ. 1973 และรัฐบัญญัติวอร์พาวเวอร์แอ็คท์ ในปี ค.ศ. 1973 ก็ดี ล้วนแต่เป็นตัวอย่างของความพยายามของฝ่ายสภาครองเกรสที่จะยับยั้งการขยายอำนาจฝ่ายบริหารและเชิดชูบทบาทของสภาครองเกสในด้านนโยบายต่างประเทศ พลังของบทบาทนั้นยังจะต้องคอยทดสอบกันต่อไป ข้างฝ่ายศาลก็ไม่ต้องการจะยุ่งเกี่ยวกับการแข่งขันระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัตินี้ โดยมองว่าเป็นปัญหาทางการเมืองมิใช่ปัญหาการตัดสินข้อพิพาททางศาลแต่อย่างใด ในขณะเดียวกันการควบคุมของประธานาธิบดีในกิจการต่างประเทศอย่างสำคัญก็ยังคงมีต่อไปไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด
รัฐบัญญัติที่เสนอโดยวุฒิสมาชิกคลิฟฟอร์ดเคส (จากรัฐนิวเจอร์ซี) ซึ่งมีข้อกำหนดให้ประธานาธิบดีต่อยื่นต้นฉบับของข้อตกลงฝ่ายบริหารทั้งปวงต่อสภาครองเกส หากประธานาธิบดีพิจารณาเห็นว่าการเปิดเผยบทบัญญัติในข้อตกลงฝ่ายบริหารดังกล่าวจะเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของชาติกฎหมายก็ได้ให้สิทธิแก่ประธานาธิบดีที่จะไม่เปิดเผยความลับนี้ได้ อย่างไรก็ตามต้นฉบับของข้อตกลงดังกล่าวจะต้องส่งมอบให้แก่คณะกรรมาธิการวิเทศสัมพันธ์วุฒิสภาและแก่คณะกรรมาธิการกิจการต่างประเทศสภาผู้แทนนี้เท่านั้น รัฐบัญญัติเคสแอ็คส์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันฝ่ายบริหารมิให้ปกปิดฝ่ายนิติบัญญัติในเรื่องข้อผูกพันต่างประเทศโดยใช้วิธีการทำข้อตกลงฝ่ายบริหารแทนที่จะใช้กระบวนการทางสนธิสัญญา
ความสำคัญ รัฐบัญญัติเคสแอ็คส์เป็นตัวอย่างแสดงให้เห็นถึงการแข่งขันชิงดีชิงเด่นระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติที่ถูกสร้างขึ้นมาในการบริหารบ้านเมืองโดยระบบแบ่งแยกอำนาจและหลักการคานและดุลอำนาจ เมื่อปี ค.ศ. 1954 ข้อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ "บริกเกอร์ อะเมนด์เม้นท์" ที่ต้องการจำกัดอำนาจทำสนธิสัญญาของประธานาธิบดีมีอันตกไปเพราะขาดเสียงสนับสนุนหนึ่งเสียง ทำให้มีคะแนนเสียงไม่ถึงสองในสามของวุฒิสภาได้ อย่างไรก็ตามจากการที่ได้ประกาศยกเลิกมติอ่าวตังเกี๋ยในปี ค.ศ. 1970 ก็ดี จากการที่ได้ผ่านรัฐบัญญัติเคสแอ็คส์ปี ค.ศ. 1973 และรัฐบัญญัติวอร์พาวเวอร์แอ็คท์ ในปี ค.ศ. 1973 ก็ดี ล้วนแต่เป็นตัวอย่างของความพยายามของฝ่ายสภาครองเกรสที่จะยับยั้งการขยายอำนาจฝ่ายบริหารและเชิดชูบทบาทของสภาครองเกสในด้านนโยบายต่างประเทศ พลังของบทบาทนั้นยังจะต้องคอยทดสอบกันต่อไป ข้างฝ่ายศาลก็ไม่ต้องการจะยุ่งเกี่ยวกับการแข่งขันระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัตินี้ โดยมองว่าเป็นปัญหาทางการเมืองมิใช่ปัญหาการตัดสินข้อพิพาททางศาลแต่อย่างใด ในขณะเดียวกันการควบคุมของประธานาธิบดีในกิจการต่างประเทศอย่างสำคัญก็ยังคงมีต่อไปไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด
Central Intelligence Agency (CIA)
หน่วยงานข่าวกรองกลาง (ซีไอเอ)
หน่วยงานข่าวกรองกลาง (ซีไอเอ) คือ หน่วยงานหลักของรัฐบาลกลางที่ทำหน้าที่รวบรวมและตีค่าข้อมูลที่รวบรวมมาได้โดยทุกหน่วยของชุมชนข่าวกรองแห่งชาติ หน่วยงานข่าวกรองกลางซึ่งก่อตั้งขึ้นมาโดยรัฐบัญญัติความมั่นคงแห่งชาติปี ค.ศ. 1947 นี้ เป็นหน่วยงานขึ้นตรงต่อสภาความมั่นคงแห่งชาติ (เอ็นเอสซี) และต่อประธานาธิบดี แม้ว่าโดยทางกฎหมายผู้อำนวยการฝ่ายพลเรือนของหน่วยงานข่าวกรองกลางจะมิได้เป็นสมาชิกของสภาความมั่นคงแห่งชาติ แต่ตามปกติแล้วจะเข้าประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติตามคำเชิญของประธานาธิบดี นอกจากจะทำหน้าที่เป็นหน่วยงานรับและตีความข้อมูลแล้ว ซีไอเอก็ยังทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลข่าวกรองและทำการปฏิบัติการในทางลับต่าง ๆอีกด้วย
ความสำคัญ หน่วยงานข่าวกรองกลางทำหน้าที่เป็นเครื่องมือหลักของรัฐบาลสหรัฐ ฯ ในการปฏิบัติการลับในต่างประเทศ การปฏิบัติการและการตีค่าของซีไอเอในด้านข่าวกรองมีผลกระทบต่อการตกลงใจในนโยบายของผู้กำหนดนโยบายระดับสูงเป็นอย่างยิ่ง แต่จากการที่ซีไอเอได้เข้าไปแทรกแซงล้วงความลับทั้งที่เป็นเรื่องกิจการภายในและกิจการต่างประเทศทั้งในภาครัฐบาลและของภาคเอกชน ก็จึงเกิดการโต้เถียงทางการเมืองว่าควรจะได้ทำการควบคุมหรือไม่ ประเด็นสำคัญที่นำมาถกเถียงกัน ก็คือ หากซีไอเอซึ่งเป็นผู้รวบรวมข้อมูลมีบทบาทสำคัญเป็นผู้กระทำทางการทูตเองเสียแล้ว จะทำให้ทำเนียบขาวและกระทรวงการต่างประเทศทำการควบคุมนโยบายต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิผลหรือไม่
หน่วยงานข่าวกรองกลาง (ซีไอเอ) คือ หน่วยงานหลักของรัฐบาลกลางที่ทำหน้าที่รวบรวมและตีค่าข้อมูลที่รวบรวมมาได้โดยทุกหน่วยของชุมชนข่าวกรองแห่งชาติ หน่วยงานข่าวกรองกลางซึ่งก่อตั้งขึ้นมาโดยรัฐบัญญัติความมั่นคงแห่งชาติปี ค.ศ. 1947 นี้ เป็นหน่วยงานขึ้นตรงต่อสภาความมั่นคงแห่งชาติ (เอ็นเอสซี) และต่อประธานาธิบดี แม้ว่าโดยทางกฎหมายผู้อำนวยการฝ่ายพลเรือนของหน่วยงานข่าวกรองกลางจะมิได้เป็นสมาชิกของสภาความมั่นคงแห่งชาติ แต่ตามปกติแล้วจะเข้าประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติตามคำเชิญของประธานาธิบดี นอกจากจะทำหน้าที่เป็นหน่วยงานรับและตีความข้อมูลแล้ว ซีไอเอก็ยังทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลข่าวกรองและทำการปฏิบัติการในทางลับต่าง ๆอีกด้วย
ความสำคัญ หน่วยงานข่าวกรองกลางทำหน้าที่เป็นเครื่องมือหลักของรัฐบาลสหรัฐ ฯ ในการปฏิบัติการลับในต่างประเทศ การปฏิบัติการและการตีค่าของซีไอเอในด้านข่าวกรองมีผลกระทบต่อการตกลงใจในนโยบายของผู้กำหนดนโยบายระดับสูงเป็นอย่างยิ่ง แต่จากการที่ซีไอเอได้เข้าไปแทรกแซงล้วงความลับทั้งที่เป็นเรื่องกิจการภายในและกิจการต่างประเทศทั้งในภาครัฐบาลและของภาคเอกชน ก็จึงเกิดการโต้เถียงทางการเมืองว่าควรจะได้ทำการควบคุมหรือไม่ ประเด็นสำคัญที่นำมาถกเถียงกัน ก็คือ หากซีไอเอซึ่งเป็นผู้รวบรวมข้อมูลมีบทบาทสำคัญเป็นผู้กระทำทางการทูตเองเสียแล้ว จะทำให้ทำเนียบขาวและกระทรวงการต่างประเทศทำการควบคุมนโยบายต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิผลหรือไม่
Civilian Control
การควบคุมโดยพลเรือน
หลักการในรัฐธรรมนูญของสหรัฐ ฯ อิงอาศัยหลักประเพณีนิยมของอังกฤษ ที่กำหนดไว้ว่า การควบคุมขั้นสุดท้ายของฝ่ายทหารให้ไปอยู่กับผู้นำทางการเมืองที่เป็นพลเรือน เพื่อเป็นหลักประกันในความดำรงอยู่ของประชาธิปไตย การควบคุมทางพลเรือนได้ถูกกำหนดไว้โดยรัฐธรรมนูญของสหรัฐ ฯ โดยให้ประธานาธิบดีที่เป็นพลเรือนเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด และกำหนดให้สภาคองเกรสมีอำนาจในการจัดตั้งและธำรงกองทัพ ออกกฎหมายทหารและประกาศสงคราม หลักการควบคุมโดยพลเรือนนี้ยังขยายขอบข่ายไปถึงว่าต้องให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และผู้บัญชาการทางทหารบก ทหารเรือ และทหารอากาศ เป็นพลเรือนด้วย การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 3 ก็ได้สนับสนุนหลักการนี้ โดยห้ามมิให้ตั้งกองทหารไว้ในบ้านส่วนตัว โดยปราศจากความเห็นชอบ ส่วนการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 2 ก็ยังให้หลักประกันในสิทธิของประชาชนที่จะครอบครองอาวุธได้ด้วย
ความสำคัญ หลักการว่าด้วยการควบคุมโดยพลเรือนนี้ มีความสำคัญทั้งต่อสหรัฐอเมริกาและต่อโลก อันเป็นผลสืบเนื่องจากการแข่งขันทางอาวุธในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ผู้นำทางทหารเมื่อได้มาช่วยแก้ปัญหาทางด้านการทหารแล้ว ก็มักจะมีอิทธิพลในการกำหนดนโยบายต่างประเทศเพิ่มขึ้น นอกจากนี้แล้วเทคโนโลยีทางทหารมีความซับซ้อนชวนให้ปวดเศียรเวียนเกล้าเป็นอย่างยิ่ง ทำให้สภาคองเกรสต้องไปขอคำแนะนำทางด้านการทหารจากพวกทหารที่ตนมีความรับผิดชอบควบคุมอยู่นี้
หลักการในรัฐธรรมนูญของสหรัฐ ฯ อิงอาศัยหลักประเพณีนิยมของอังกฤษ ที่กำหนดไว้ว่า การควบคุมขั้นสุดท้ายของฝ่ายทหารให้ไปอยู่กับผู้นำทางการเมืองที่เป็นพลเรือน เพื่อเป็นหลักประกันในความดำรงอยู่ของประชาธิปไตย การควบคุมทางพลเรือนได้ถูกกำหนดไว้โดยรัฐธรรมนูญของสหรัฐ ฯ โดยให้ประธานาธิบดีที่เป็นพลเรือนเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด และกำหนดให้สภาคองเกรสมีอำนาจในการจัดตั้งและธำรงกองทัพ ออกกฎหมายทหารและประกาศสงคราม หลักการควบคุมโดยพลเรือนนี้ยังขยายขอบข่ายไปถึงว่าต้องให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และผู้บัญชาการทางทหารบก ทหารเรือ และทหารอากาศ เป็นพลเรือนด้วย การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 3 ก็ได้สนับสนุนหลักการนี้ โดยห้ามมิให้ตั้งกองทหารไว้ในบ้านส่วนตัว โดยปราศจากความเห็นชอบ ส่วนการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 2 ก็ยังให้หลักประกันในสิทธิของประชาชนที่จะครอบครองอาวุธได้ด้วย
ความสำคัญ หลักการว่าด้วยการควบคุมโดยพลเรือนนี้ มีความสำคัญทั้งต่อสหรัฐอเมริกาและต่อโลก อันเป็นผลสืบเนื่องจากการแข่งขันทางอาวุธในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ผู้นำทางทหารเมื่อได้มาช่วยแก้ปัญหาทางด้านการทหารแล้ว ก็มักจะมีอิทธิพลในการกำหนดนโยบายต่างประเทศเพิ่มขึ้น นอกจากนี้แล้วเทคโนโลยีทางทหารมีความซับซ้อนชวนให้ปวดเศียรเวียนเกล้าเป็นอย่างยิ่ง ทำให้สภาคองเกรสต้องไปขอคำแนะนำทางด้านการทหารจากพวกทหารที่ตนมีความรับผิดชอบควบคุมอยู่นี้
Congress
สภาคองเกรส
รัฐสภาหรือฝ่ายนิติบัญญัติแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา อันประกอบด้วยวุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎร จากหลักการที่ว่าทุกรัฐมีความเท่าเทียมกันนั้น จึงทำให้แต่ละรัฐในจำนวนทั้งสิ้น 50 รัฐต่างก็มีวุฒิสมาชิกได้จำนวน 2 คน ซึ่งวุฒิสมาชิกเหล่านี้จะอยู่ในวาระละ 6 ปี แต่ทั้งนี้หนึ่งในสามของวุฒิสมาชิกเหล่านี้จะได้รับการเลือกตั้งในทุก 2 ปี ส่วนสมาชิกภาพในสภาผู้แทนราษฎรนั้นอิงหลักประชากรเป็นสำคัญ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้ง 435 คนจะได้รับการเลือกตั้งในทุก 2 ปี บทบาทในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของสภาคองเกรสมีดังนี้ (1) อำนาจทางนิติบัญญัติโดยทั่วไป ได้แก่ การจัดตั้งหรือยุบเลิกหน่วยงานต่าง ๆ การกำหนดหรือเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการค้าและการเข้าเมือง เป็นต้น (2) อำนาจทางบริหารของวุฒิสภาได้แก่ การให้ความเห็นชอบในสนธิสัญญาและการให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งบุคคลเป็นเอกอัครราชทูต เป็นต้น (3) อำนาจควบคุมการจัดสรรงบประมาณ (4) อำนาจที่จะดำเนินการสอบสวนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับบทบัญญัติของกฎหมายเก่าและความจำเป็นที่จะต้องให้มีกฎหมายใหม่ นอกจากนี้แล้วสภาคองเกรสก็ยังมีส่วนเกี่ยวข้องโดยอ้อมกับกิจการต่างประเทศผ่านทาง (1) มติที่ระบุว่าเป็น "ความรู้สึกของสภาคองเกรส" (2) คำสุนทรพจน์ การเดินทางและกิจกรรมอื่น ๆ ของมวลสมาชิก (3) กิจกรรมของพรรคการเมืองที่อาจจะไปลดหรือเพิ่มความห่างเหินระหว่างทำเนียบขาว(ไว้ท์เฮาส์)กับแคปิตอลฮิลล์
ความสำคัญ หน้าที่หลักของสภาคองเกรสทางด้านกิจการต่างประเทศ เป็นไปตามกรอบกว้างๆของการแบ่งแยกกับการคานและดุลอำนาจตามที่บรรพบุรุษผู้ก่อตั้งประเทศสหรัฐอเมริกาได้กำหนดไว้ หลักการเหล่านี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการให้หลักประกันว่า การกระทำอย่างหนึ่งของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งของรัฐบาลในการใช้อำนาจตามความชอบธรรมของตนนั้น จะต้องพบกับกิจกรรมตรวจสอบความถูกต้องจากอีกฝ่ายหนึ่งก่อนที่กิจกรรมนั้น ๆ จะบรรลุขั้นสุดท้ายได้ ยกตัวอย่างเช่น แม้ว่าประธานาธิบดีจะรับผิชอบด้านการดำเนินนโยบายต่างประเทศ แต่เงินที่จะนำไปใช้จ่ายในการดำเนินนโยบายต่างประเทศนั้น จะต้องให้สภาคองเกรสลงคะแนนเสียงให้ความเห็นชอบ ซึ่งทั้งนี้ร่างกฎหมายเกี่ยวกับการจัดสรรงบประมาณจะเริ่มขึ้นในสภาผู้แทนราษฎรก่อนเสมอ และประธานาธิบดีจะไม่สามารถดำเนินการในขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับสนธิสัญญาหรือการแต่งตั้งตัวบุคคลสำคัญ เช่น เอกอัคราชทูต เป็นต้น ได้จนกว่าจะได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภาเสียก่อน อย่างไรก็ตามมีแนวโน้มว่า สภาคองเกรสจะทำหน้าที่ตรวจสอบนโยบายต่างประเทศยิ่งกว่าจะทำหน้าที่สร้างนโยบายเสียเองมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้แล้ว จากการที่นโยบายต่างประเทศมีความสลับซับซ้อนและสหรัฐอเมริกาก็มีบทบาทเป็นผู้นำโลกด้วยเช่นนี้ ก็จำเป็นจะต้องให้ประธานาธิบดีทำหน้าที่คอยดูแล ทำการริเริ่ม และแสดงความยืดหยุ่นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหน้าที่ดังกล่าวสภาคองเกรสซึ่งเป็นองค์กรที่จะต้องปรึกษาหารือกันก่อนไม่สามารถจะทำได้ด้วยตนเอง
รัฐสภาหรือฝ่ายนิติบัญญัติแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา อันประกอบด้วยวุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎร จากหลักการที่ว่าทุกรัฐมีความเท่าเทียมกันนั้น จึงทำให้แต่ละรัฐในจำนวนทั้งสิ้น 50 รัฐต่างก็มีวุฒิสมาชิกได้จำนวน 2 คน ซึ่งวุฒิสมาชิกเหล่านี้จะอยู่ในวาระละ 6 ปี แต่ทั้งนี้หนึ่งในสามของวุฒิสมาชิกเหล่านี้จะได้รับการเลือกตั้งในทุก 2 ปี ส่วนสมาชิกภาพในสภาผู้แทนราษฎรนั้นอิงหลักประชากรเป็นสำคัญ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้ง 435 คนจะได้รับการเลือกตั้งในทุก 2 ปี บทบาทในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของสภาคองเกรสมีดังนี้ (1) อำนาจทางนิติบัญญัติโดยทั่วไป ได้แก่ การจัดตั้งหรือยุบเลิกหน่วยงานต่าง ๆ การกำหนดหรือเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการค้าและการเข้าเมือง เป็นต้น (2) อำนาจทางบริหารของวุฒิสภาได้แก่ การให้ความเห็นชอบในสนธิสัญญาและการให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งบุคคลเป็นเอกอัครราชทูต เป็นต้น (3) อำนาจควบคุมการจัดสรรงบประมาณ (4) อำนาจที่จะดำเนินการสอบสวนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับบทบัญญัติของกฎหมายเก่าและความจำเป็นที่จะต้องให้มีกฎหมายใหม่ นอกจากนี้แล้วสภาคองเกรสก็ยังมีส่วนเกี่ยวข้องโดยอ้อมกับกิจการต่างประเทศผ่านทาง (1) มติที่ระบุว่าเป็น "ความรู้สึกของสภาคองเกรส" (2) คำสุนทรพจน์ การเดินทางและกิจกรรมอื่น ๆ ของมวลสมาชิก (3) กิจกรรมของพรรคการเมืองที่อาจจะไปลดหรือเพิ่มความห่างเหินระหว่างทำเนียบขาว(ไว้ท์เฮาส์)กับแคปิตอลฮิลล์
ความสำคัญ หน้าที่หลักของสภาคองเกรสทางด้านกิจการต่างประเทศ เป็นไปตามกรอบกว้างๆของการแบ่งแยกกับการคานและดุลอำนาจตามที่บรรพบุรุษผู้ก่อตั้งประเทศสหรัฐอเมริกาได้กำหนดไว้ หลักการเหล่านี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการให้หลักประกันว่า การกระทำอย่างหนึ่งของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งของรัฐบาลในการใช้อำนาจตามความชอบธรรมของตนนั้น จะต้องพบกับกิจกรรมตรวจสอบความถูกต้องจากอีกฝ่ายหนึ่งก่อนที่กิจกรรมนั้น ๆ จะบรรลุขั้นสุดท้ายได้ ยกตัวอย่างเช่น แม้ว่าประธานาธิบดีจะรับผิชอบด้านการดำเนินนโยบายต่างประเทศ แต่เงินที่จะนำไปใช้จ่ายในการดำเนินนโยบายต่างประเทศนั้น จะต้องให้สภาคองเกรสลงคะแนนเสียงให้ความเห็นชอบ ซึ่งทั้งนี้ร่างกฎหมายเกี่ยวกับการจัดสรรงบประมาณจะเริ่มขึ้นในสภาผู้แทนราษฎรก่อนเสมอ และประธานาธิบดีจะไม่สามารถดำเนินการในขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับสนธิสัญญาหรือการแต่งตั้งตัวบุคคลสำคัญ เช่น เอกอัคราชทูต เป็นต้น ได้จนกว่าจะได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภาเสียก่อน อย่างไรก็ตามมีแนวโน้มว่า สภาคองเกรสจะทำหน้าที่ตรวจสอบนโยบายต่างประเทศยิ่งกว่าจะทำหน้าที่สร้างนโยบายเสียเองมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้แล้ว จากการที่นโยบายต่างประเทศมีความสลับซับซ้อนและสหรัฐอเมริกาก็มีบทบาทเป็นผู้นำโลกด้วยเช่นนี้ ก็จำเป็นจะต้องให้ประธานาธิบดีทำหน้าที่คอยดูแล ทำการริเริ่ม และแสดงความยืดหยุ่นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหน้าที่ดังกล่าวสภาคองเกรสซึ่งเป็นองค์กรที่จะต้องปรึกษาหารือกันก่อนไม่สามารถจะทำได้ด้วยตนเอง
Congress : Confirmation of Appointments
สภาคองเกรส : การให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้ง
หน้าที่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ( สภาคองเกรส) ที่จะเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในการแต่งตัวบุคคลที่ดำเนินการโดยประธานาธิบดีให้เข้าดำรงตำแหน่งที่ว่างทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายตุลาการ อำนาจในการให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งนี้ได้มอบหมายให้แก่วุฒิสภา โดยความในมาตรา 11 อนุมาตรา 2 ของรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา และสามารถดำเนินการได้โดยใช้วิธีลงคะแนนเสียงข้างมากปกติ การให้ความเห็นชอบนี้ให้ใช้เฉพาะกับการแต่งตั้งทางการเมืองเท่านั้น กล่าวคือ เป็นการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ไม่ได้เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติของข้าราชการพลเรือนหรือระบบคุณธรรมที่เป็นทางการอื่น ๆ
ความสำคัญ ภายใต้ระบบการคานอำนาจของสหรัฐ ฯ นั้น กำหนดให้การแต่งตั้งเป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหารร่วมกับวุฒิสภา ข้อนี้มีไว้เพื่อเป็นหลักประกันว่า ในการแต่งตั้งบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งทางการทูตและตำแหน่งผู้กำหนดนโยบายในกระทรวงต่างประเทศและองค์กรบริหารอื่น ๆ จะต้องผ่านการกลั่นกรอง จากฝ่ายนิติิบัญญัติเสียก่อน ตามปกตินั้นประธานาธิบดีจะดำเนินการปรึกษาหารือกับวุฒิสมาชิกคนสำคัญ ๆ เป็นการล่วงหน้าก่อนว่าจะยอมรับบุคคลที่จะได้รับการแต่งตั้งนั้น ๆ หรือไม่ ในกรณีบุคคลที่จะได้รับการแต่งตั้งในตำแหน่งเอกอัคราชทูตและตำแหน่งที่สูงกว่าในกระทรวงการต่างประเทศนั้น จะผ่านการสอบถามโดยคณะกรรมาธิการวิเทศสัมพันธ์วุฒิสภา จากนั้นคณะกรรมการคณะนี้ก็จะเสนอแนะให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งต่อที่ประชุมเต็มคณะของวุฒิสภาอีกต่อหนึ่ง การแต่งตั้งบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งโดยประธานาธิบดีในด้านกิจการต่างประเทศจะไม่ค่อยถูกปฏิเสธโดยวุฒิสภา
หน้าที่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ( สภาคองเกรส) ที่จะเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในการแต่งตัวบุคคลที่ดำเนินการโดยประธานาธิบดีให้เข้าดำรงตำแหน่งที่ว่างทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายตุลาการ อำนาจในการให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งนี้ได้มอบหมายให้แก่วุฒิสภา โดยความในมาตรา 11 อนุมาตรา 2 ของรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา และสามารถดำเนินการได้โดยใช้วิธีลงคะแนนเสียงข้างมากปกติ การให้ความเห็นชอบนี้ให้ใช้เฉพาะกับการแต่งตั้งทางการเมืองเท่านั้น กล่าวคือ เป็นการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ไม่ได้เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติของข้าราชการพลเรือนหรือระบบคุณธรรมที่เป็นทางการอื่น ๆ
ความสำคัญ ภายใต้ระบบการคานอำนาจของสหรัฐ ฯ นั้น กำหนดให้การแต่งตั้งเป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหารร่วมกับวุฒิสภา ข้อนี้มีไว้เพื่อเป็นหลักประกันว่า ในการแต่งตั้งบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งทางการทูตและตำแหน่งผู้กำหนดนโยบายในกระทรวงต่างประเทศและองค์กรบริหารอื่น ๆ จะต้องผ่านการกลั่นกรอง จากฝ่ายนิติิบัญญัติเสียก่อน ตามปกตินั้นประธานาธิบดีจะดำเนินการปรึกษาหารือกับวุฒิสมาชิกคนสำคัญ ๆ เป็นการล่วงหน้าก่อนว่าจะยอมรับบุคคลที่จะได้รับการแต่งตั้งนั้น ๆ หรือไม่ ในกรณีบุคคลที่จะได้รับการแต่งตั้งในตำแหน่งเอกอัคราชทูตและตำแหน่งที่สูงกว่าในกระทรวงการต่างประเทศนั้น จะผ่านการสอบถามโดยคณะกรรมาธิการวิเทศสัมพันธ์วุฒิสภา จากนั้นคณะกรรมการคณะนี้ก็จะเสนอแนะให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งต่อที่ประชุมเต็มคณะของวุฒิสภาอีกต่อหนึ่ง การแต่งตั้งบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งโดยประธานาธิบดีในด้านกิจการต่างประเทศจะไม่ค่อยถูกปฏิเสธโดยวุฒิสภา
Congress : Declaration of War
สภาคองเกรส : การประกาศสงคราม
มติร่วมที่ยอมรับโดยสภาคองเกรสและได้รับการลงนามโดยประธานาธิบดีแล้ว แจ้งให้ประชาคมระหว่างประเทศทราบว่าชาติมีความประสงค์จะดำเนินหรือปกป้องผลประโยชน์ของตนโดยวิธีปฏิบัติการทางทหาร ในทางเทคนิคนั้น สภาคองเกรสสามารถผ่านมติการประกาศสงครามนี้โดยฝืนความรู้สึกของประธานาธิบดีได้ แต่กรณีดังกล่าวประธานาธิบดีก็มีทางเลือก คือ ใช้สิทธิยับยั้งการประกาศสงครามได้ การประกาศสงครามของสหรัฐอเมริกาทุกครั้ง เว้นสงครามเมื่อปี ค.ศ. 1812 กระทำตามคำสั่งของประธานาธิบดีทั้งนั้น การยุติสถานะสงครามก็เช่นเดียวกันสามารถกระทำได้โดยมติร่วมหรือโดยสนธิสัญญา สภาคองเกรสประกาศสงครามเพียง 5 ครั้งเท่านั้น แต่ประธานาธิบดีทำการส่งทหารไปปฏิบัติการตามที่ต่าง ๆ มากกว่า 150 ครั้ง โดยมิได้มีการประกาศสงคราม ทั้งนี้รวมทั้งการปฏิบัติการในเกาหลีและเวียตนามด้วย
ความสำคัญ การประกาศสงครามซึ่งตามรัฐธรรมนูญของสหรัฐกำหนดไว้ให้เป็นหน้าที่ของสภาคองเกรสโดยเฉพาะนั้น อาจจะมีความสำคัญในทางปฏิบัติน้อย เนื่องจากสงครามอาจถูกบีบบังคับให้ต้องทำจากพฤติกรรมการรุกรานของรัฐอื่นได้ ยิ่งไปกว่านั้นประธานาธิบดีในฐานะที่เป็นผู้อำนวยการด้านกิจการระหว่างประเทศอาจจะแจ้งให้สภาคองเกรสได้ทราบถึงสถานการณ์ว่ามีความเลวร้ายมากจนไม่มีทางเลือกเป็นอย่างอื่นนอกจากจะต้องทำสงครามนี้ และภายในข้อจำกัดของรัฐบัญญัติวอร์พาวเวอร์แอ็คท์ปี ค.ศ. 1973 นั้นประธานาธิบดีในฐานะที่เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดสามารถออกคำสั่งให้กองทัพเข้าสู่สถานการณ์รบได้โดยที่ไม่ต้องมีการประกาศสงคราม ยกตัวอย่างเช่นกรณีสงครามเกาหลีและสงครามเวียตนาม อย่างไรก็ตามจากประสบการณ์ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่สอง แสดงให้เห็นว่า การประกาศสงครามมีความสำคัญในแง่อื่น กล่าวคือ เมื่อประเทศอยู่ในสถานะสงครามอย่างเป็นทางการแล้ว สภาคองเกรสจะยินยอมจัดสรรงบประมาณให้ และก็จะไม่สอบถามถึงความถูกต้องในการที่มีการมอบอำนาจกึ่งนิติบัญญัติอย่างล้นเหลือให้แก่ประธานาธิบดีในยามสงครามข้อนี้หมายถึงว่า สงครามสมัยนี้เป็นสงครามสมัยใหม่ ดังนั้นก็จะต้องให้ประธานาธิบดีได้มีอำนาจในการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตทุกอย่างของคนทั้งชาติ เพื่อให้สามารถทำสงครามได้อย่างประสบความสำเร็จ โดยทั้งนี้ก็จะต้องไม่มีการละเมิดบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญโดยเปิดเผยและโดยจงใจ นอกจากนี้แล้วการประกาศสงครามก็ยังจะมีผลทางกฎหมายทั้งในระดับภายในชาติและในระดับนานาชาติ กล่าวคือ การประกาศสงครามจะเป็นการกำหนดวันที่สิทธิและหน้าที่เกี่ยวกับสถานะสงครามมีผลบังคับใช้ แต่อย่างไรก็ตามยุคนี้เป็นยุคก้าวหน้างทางเทคโนโลยี ที่มหาอำนาจสามารถยิงอาวุธนิวเคลียร์ทำลายล้างซึ่งกันและกัน (เอ็มเอดี) ได้อย่างฉับพลัน จึงไม่จำเป็นต้องมีการประกาศสงครามกันก็ได้
มติร่วมที่ยอมรับโดยสภาคองเกรสและได้รับการลงนามโดยประธานาธิบดีแล้ว แจ้งให้ประชาคมระหว่างประเทศทราบว่าชาติมีความประสงค์จะดำเนินหรือปกป้องผลประโยชน์ของตนโดยวิธีปฏิบัติการทางทหาร ในทางเทคนิคนั้น สภาคองเกรสสามารถผ่านมติการประกาศสงครามนี้โดยฝืนความรู้สึกของประธานาธิบดีได้ แต่กรณีดังกล่าวประธานาธิบดีก็มีทางเลือก คือ ใช้สิทธิยับยั้งการประกาศสงครามได้ การประกาศสงครามของสหรัฐอเมริกาทุกครั้ง เว้นสงครามเมื่อปี ค.ศ. 1812 กระทำตามคำสั่งของประธานาธิบดีทั้งนั้น การยุติสถานะสงครามก็เช่นเดียวกันสามารถกระทำได้โดยมติร่วมหรือโดยสนธิสัญญา สภาคองเกรสประกาศสงครามเพียง 5 ครั้งเท่านั้น แต่ประธานาธิบดีทำการส่งทหารไปปฏิบัติการตามที่ต่าง ๆ มากกว่า 150 ครั้ง โดยมิได้มีการประกาศสงคราม ทั้งนี้รวมทั้งการปฏิบัติการในเกาหลีและเวียตนามด้วย
ความสำคัญ การประกาศสงครามซึ่งตามรัฐธรรมนูญของสหรัฐกำหนดไว้ให้เป็นหน้าที่ของสภาคองเกรสโดยเฉพาะนั้น อาจจะมีความสำคัญในทางปฏิบัติน้อย เนื่องจากสงครามอาจถูกบีบบังคับให้ต้องทำจากพฤติกรรมการรุกรานของรัฐอื่นได้ ยิ่งไปกว่านั้นประธานาธิบดีในฐานะที่เป็นผู้อำนวยการด้านกิจการระหว่างประเทศอาจจะแจ้งให้สภาคองเกรสได้ทราบถึงสถานการณ์ว่ามีความเลวร้ายมากจนไม่มีทางเลือกเป็นอย่างอื่นนอกจากจะต้องทำสงครามนี้ และภายในข้อจำกัดของรัฐบัญญัติวอร์พาวเวอร์แอ็คท์ปี ค.ศ. 1973 นั้นประธานาธิบดีในฐานะที่เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดสามารถออกคำสั่งให้กองทัพเข้าสู่สถานการณ์รบได้โดยที่ไม่ต้องมีการประกาศสงคราม ยกตัวอย่างเช่นกรณีสงครามเกาหลีและสงครามเวียตนาม อย่างไรก็ตามจากประสบการณ์ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่สอง แสดงให้เห็นว่า การประกาศสงครามมีความสำคัญในแง่อื่น กล่าวคือ เมื่อประเทศอยู่ในสถานะสงครามอย่างเป็นทางการแล้ว สภาคองเกรสจะยินยอมจัดสรรงบประมาณให้ และก็จะไม่สอบถามถึงความถูกต้องในการที่มีการมอบอำนาจกึ่งนิติบัญญัติอย่างล้นเหลือให้แก่ประธานาธิบดีในยามสงครามข้อนี้หมายถึงว่า สงครามสมัยนี้เป็นสงครามสมัยใหม่ ดังนั้นก็จะต้องให้ประธานาธิบดีได้มีอำนาจในการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตทุกอย่างของคนทั้งชาติ เพื่อให้สามารถทำสงครามได้อย่างประสบความสำเร็จ โดยทั้งนี้ก็จะต้องไม่มีการละเมิดบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญโดยเปิดเผยและโดยจงใจ นอกจากนี้แล้วการประกาศสงครามก็ยังจะมีผลทางกฎหมายทั้งในระดับภายในชาติและในระดับนานาชาติ กล่าวคือ การประกาศสงครามจะเป็นการกำหนดวันที่สิทธิและหน้าที่เกี่ยวกับสถานะสงครามมีผลบังคับใช้ แต่อย่างไรก็ตามยุคนี้เป็นยุคก้าวหน้างทางเทคโนโลยี ที่มหาอำนาจสามารถยิงอาวุธนิวเคลียร์ทำลายล้างซึ่งกันและกัน (เอ็มเอดี) ได้อย่างฉับพลัน จึงไม่จำเป็นต้องมีการประกาศสงครามกันก็ได้
Congress : House Foreign Affairs Committee
สภาคองเกรส : คณะกรรมาธิการกิจการต่างประเทศสภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการสามัญของสภาผู้แทนราษฎรที่รับผิดชอบทางด้านกิจการต่างประเทศเป็นหลัก งานที่ลงในรายละเอียดของคณะกรรมาธิการกิจการต่างประเทศนี้จะมอบหมายให้คณะอนุกรรมการสามัญเป็นผู้ทำ โดยที่สมาชิกอนุกรรมการคณะนี้จะมีความเชี่ยวชาญ เนื่องจากเข้าไปเกี่ยวข้องกับพื้นที่ทางภูมิศาสตร์และปัญหานั้น ๆ อย่างต่อเนื่อง อำนาจของคณะกรรมมาธิการกิจการต่างประเทศสภาผู้แทนราษฎรในด้านกิจการต่างประเทศได้จาก (1) อำนาจทางนิติบัญญัติโดยทั่วไปของสภาผู้แทนราษฎร (2) อำนาจทำการสอบสวน และ(3)บทบาทของสภาผู้แทนราษฎรที่จะจัดสรรเงินงบประมาณที่จำเป็นจะต้องใช้ในกิจกรรมนโยบายต่างประเทศทั้งปวง ด้วยเหตุนี้คณะกรรมมาธิการกิจการต่างประเทศสภาผู้แทนราษฎรจึงมีบทบาทสำคัญในการกำหนด (1) การจัดองค์การบริหาร (2) แนวทางของนโยบายและงบประมาณให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ อาทิ หน่วยงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (เอไอดี) หน่วยงานสารสนเทศสหรัฐอเมริกา (ยูเอสไอเอ) และกระทรวงการต่างประเทศ
ความสำคัญ คณะกรรมาธิการกิจการต่างประเทศสภาผู้แทนราษฎร แต่เดิมเป็นคณะกรรมาธิการคณะเล็ก ๆ เท่านั้น แต่ต่อมาได้ขยายตัวโตขึ้น ๆ พร้อมกับที่สหรัฐอเมริกามีบทบาทเกี่ยวข้องกับกิจการของโลกเพิ่มมากขึ้น คณะกรรมมาธิการกิจการต่างประเทศสภาผู้แทนราษฎรจะติดตามความเคลื่อนไหวของเหตุการณ์ระหว่างประเทศโดยวิธีการต่อไปนี้ คือ (1) โดยส่งสมาชิกของตนไปศึกษาเหตุการณ์ในต่างประเทศ (2) โดยเรียกให้อนุกรรมการมาชี้แจง (3) โดยการเข้าร่วมประชุมทั้งในระดับนานาชาติและในระดับชาติ และ (4) โดยส่งผู้แทนของคณะกรรมาธิการ ฯ ไปร่วมในคณะผู้แทนของสหรัฐ ฯ ที่ประจำอยู่ในสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ถึงแม้ว่าในอดีตคณะกรรมาธิการวิเทศสัมพันธ์วุฒิสภาจะมีบาทโดดเด่นในด้านนโยบายต่างประเทศ แต่คณะกรรมาธิการกิจการต่างประเทศสภาผู้แทนราษฎรก็ได้มีบทบาทในด้านนี้เพิ่มขึ้นตามอำนาจของสภาผู้แทนราษฎรที่รัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้
คณะกรรมาธิการสามัญของสภาผู้แทนราษฎรที่รับผิดชอบทางด้านกิจการต่างประเทศเป็นหลัก งานที่ลงในรายละเอียดของคณะกรรมาธิการกิจการต่างประเทศนี้จะมอบหมายให้คณะอนุกรรมการสามัญเป็นผู้ทำ โดยที่สมาชิกอนุกรรมการคณะนี้จะมีความเชี่ยวชาญ เนื่องจากเข้าไปเกี่ยวข้องกับพื้นที่ทางภูมิศาสตร์และปัญหานั้น ๆ อย่างต่อเนื่อง อำนาจของคณะกรรมมาธิการกิจการต่างประเทศสภาผู้แทนราษฎรในด้านกิจการต่างประเทศได้จาก (1) อำนาจทางนิติบัญญัติโดยทั่วไปของสภาผู้แทนราษฎร (2) อำนาจทำการสอบสวน และ(3)บทบาทของสภาผู้แทนราษฎรที่จะจัดสรรเงินงบประมาณที่จำเป็นจะต้องใช้ในกิจกรรมนโยบายต่างประเทศทั้งปวง ด้วยเหตุนี้คณะกรรมมาธิการกิจการต่างประเทศสภาผู้แทนราษฎรจึงมีบทบาทสำคัญในการกำหนด (1) การจัดองค์การบริหาร (2) แนวทางของนโยบายและงบประมาณให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ อาทิ หน่วยงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (เอไอดี) หน่วยงานสารสนเทศสหรัฐอเมริกา (ยูเอสไอเอ) และกระทรวงการต่างประเทศ
ความสำคัญ คณะกรรมาธิการกิจการต่างประเทศสภาผู้แทนราษฎร แต่เดิมเป็นคณะกรรมาธิการคณะเล็ก ๆ เท่านั้น แต่ต่อมาได้ขยายตัวโตขึ้น ๆ พร้อมกับที่สหรัฐอเมริกามีบทบาทเกี่ยวข้องกับกิจการของโลกเพิ่มมากขึ้น คณะกรรมมาธิการกิจการต่างประเทศสภาผู้แทนราษฎรจะติดตามความเคลื่อนไหวของเหตุการณ์ระหว่างประเทศโดยวิธีการต่อไปนี้ คือ (1) โดยส่งสมาชิกของตนไปศึกษาเหตุการณ์ในต่างประเทศ (2) โดยเรียกให้อนุกรรมการมาชี้แจง (3) โดยการเข้าร่วมประชุมทั้งในระดับนานาชาติและในระดับชาติ และ (4) โดยส่งผู้แทนของคณะกรรมาธิการ ฯ ไปร่วมในคณะผู้แทนของสหรัฐ ฯ ที่ประจำอยู่ในสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ถึงแม้ว่าในอดีตคณะกรรมาธิการวิเทศสัมพันธ์วุฒิสภาจะมีบาทโดดเด่นในด้านนโยบายต่างประเทศ แต่คณะกรรมาธิการกิจการต่างประเทศสภาผู้แทนราษฎรก็ได้มีบทบาทในด้านนี้เพิ่มขึ้นตามอำนาจของสภาผู้แทนราษฎรที่รัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้
Congress : Joint Resolution
สภาคองเกรส : มติร่วม
ข้อกำหนดของฝ่ายนิติบัญญัติที่มีลักษณะคล้ายกับรัฐบัญญัติทั่วไป มติร่วมมีลักษณะเหมือนกับร่างรัฐบัญญัติทั่วไป คือ จะต้องผ่านทั้งสองสภาของสภาคองเกรสด้วยคะแนนเสียงข้างมากปกติ และมีการลงนามโดยประธานาธิบดีจึงจะเป็นกฎหมายได้ เมื่อเครื่องมือคือมติร่วมนี้สภาคองเกรสนำไปใช้เพื่อเสนอขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็ไม่จำเป็นต้องได้รับการลงนามโดยประธานาธิบดี มติร่วมนี้จะติดข้อความไว้ว่า "เอชเจ เรส" และ "เอสเจ เรส" เพื่อให้แตกต่างจากร่างรัฐบัญญัติทั่วไป
ความสำคัญ มติร่วมจะนำมาใช้ในเรื่องที่เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศ (1) เพื่อประกาศหรือเพื่อยุติสถานะสงคราม (2) เพื่อให้ความเห็นชอบในการกระทำของประธานาธิบดี หรือ (3) เพื่อพยายามริเริ่มนโยบายต่างประเทศ แต่ในบางครั้งนั้นมติร่วมโดยสองสภานี้ อาจจะนำมาใช้แทนสนธิสัญญาโดยวุฒิสภาก็ได้ ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ก็จะใช้วิธีลงคะแนนเสียงข้างมากปกติในสองสภา แทนการใช้การลงคะแนนเสียงสองในสามตามที่กำหนดไว้ในวุฒิสภา การผนวกมลรัฐเท็กซัสและมลรัฐฮาวายได้กำหนดโดยวิธีใช้มติร่วมนี้เมื่อปี ค.ศ.1964 ได้มีการผ่านมติร่วมอ่าวตังเกี๋ยเพื่อให้ประธานาธิบดีมีอิสระอย่างเต็มที่ในเวียดนาม แต่พอถึงปี ค.ศ. 1970 สภาคองเกรสได้ยกเลิกมติร่วมนี้ เพื่อเป็นการแสดงความไม่เห็นชอบกับปฏิบัติการสงครามของประธานาธิบดี
ข้อกำหนดของฝ่ายนิติบัญญัติที่มีลักษณะคล้ายกับรัฐบัญญัติทั่วไป มติร่วมมีลักษณะเหมือนกับร่างรัฐบัญญัติทั่วไป คือ จะต้องผ่านทั้งสองสภาของสภาคองเกรสด้วยคะแนนเสียงข้างมากปกติ และมีการลงนามโดยประธานาธิบดีจึงจะเป็นกฎหมายได้ เมื่อเครื่องมือคือมติร่วมนี้สภาคองเกรสนำไปใช้เพื่อเสนอขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็ไม่จำเป็นต้องได้รับการลงนามโดยประธานาธิบดี มติร่วมนี้จะติดข้อความไว้ว่า "เอชเจ เรส" และ "เอสเจ เรส" เพื่อให้แตกต่างจากร่างรัฐบัญญัติทั่วไป
ความสำคัญ มติร่วมจะนำมาใช้ในเรื่องที่เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศ (1) เพื่อประกาศหรือเพื่อยุติสถานะสงคราม (2) เพื่อให้ความเห็นชอบในการกระทำของประธานาธิบดี หรือ (3) เพื่อพยายามริเริ่มนโยบายต่างประเทศ แต่ในบางครั้งนั้นมติร่วมโดยสองสภานี้ อาจจะนำมาใช้แทนสนธิสัญญาโดยวุฒิสภาก็ได้ ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ก็จะใช้วิธีลงคะแนนเสียงข้างมากปกติในสองสภา แทนการใช้การลงคะแนนเสียงสองในสามตามที่กำหนดไว้ในวุฒิสภา การผนวกมลรัฐเท็กซัสและมลรัฐฮาวายได้กำหนดโดยวิธีใช้มติร่วมนี้เมื่อปี ค.ศ.1964 ได้มีการผ่านมติร่วมอ่าวตังเกี๋ยเพื่อให้ประธานาธิบดีมีอิสระอย่างเต็มที่ในเวียดนาม แต่พอถึงปี ค.ศ. 1970 สภาคองเกรสได้ยกเลิกมติร่วมนี้ เพื่อเป็นการแสดงความไม่เห็นชอบกับปฏิบัติการสงครามของประธานาธิบดี
Congress : Legislative Powers
สภาคองเกรส : อำนาจนิติบัญญัติ
อำนาจในการออกกฎหมายของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในมาตรา 1 อนุมาตรา 1 ของรัฐธรรมนูญสหรัฐ ฯ บัญญัติไว้ว่า "อำนาจนิติบัญญัติทั้งปวงเท่าที่กำหนดให้ต่อไปนี้ ให้อยู่ที่รัฐสภาคองเกรสของสหรัฐ ฯ ซึ่งประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร" และอำนาจเหล่านี้ได้มีการแจกแจงไว้ในมาตรา 1 อนุมาตรา 8 โดยอาศัยอำนาจนิติบัญญัตินี้ รัฐสภาคองเกรสก็จะเป็นฝ่ายที่กำหนดถึงความจำเป็น ที่จะสร้าง ที่จะให้อำนาจ ที่จะลดและที่จะยุบเลิกหน่วยงานต่าง ๆ ของฝ่ายบริหาร ซึ่งประธานาธิบดีจะอาศัยใช้ดำเนินนโยบายต่างประเทศ ประธานาธิบดีมีอำนาจไม่มากในการดำเนินนโยบายต่างประเทศตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ จนกว่ารัฐสภาคองเกรสจะดำเนินการจัดหากลไกทางการปกครองและจัดสรรงบประมาณมาให้
ความสำคัญ ความสำคัญของอำนาจนิติบัญญัติของรัฐสภาคองเกรสในการดำเนินนโยบายต่างประเทศของสหรัฐนี้ ได้มาจากระบบการแบ่งแยกอำนาจการปกครองที่กำหนดให้ต้องมีการร่วมมือกันของสองฝ่ายเป็นอย่างน้อย จึงจะทำให้รัฐบาลแห่งชาติสามารถทำงานอย่างมีประสิทธิผลได้ เพราะฉะนั้นก็จึงให้เรื่องของกิจการระหว่างประเทศนี้อยู่ในความรับผิดของของรัฐสภาคองเกรส เนื่องจากว่านโยบายต่างประเทศของสหรัฐ ฯ ต้องอิงอาศัยบทบัญญัติของกฎหมายช่วยสนับสนุนจึงจะดำเนินไปได้
อำนาจในการออกกฎหมายของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในมาตรา 1 อนุมาตรา 1 ของรัฐธรรมนูญสหรัฐ ฯ บัญญัติไว้ว่า "อำนาจนิติบัญญัติทั้งปวงเท่าที่กำหนดให้ต่อไปนี้ ให้อยู่ที่รัฐสภาคองเกรสของสหรัฐ ฯ ซึ่งประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร" และอำนาจเหล่านี้ได้มีการแจกแจงไว้ในมาตรา 1 อนุมาตรา 8 โดยอาศัยอำนาจนิติบัญญัตินี้ รัฐสภาคองเกรสก็จะเป็นฝ่ายที่กำหนดถึงความจำเป็น ที่จะสร้าง ที่จะให้อำนาจ ที่จะลดและที่จะยุบเลิกหน่วยงานต่าง ๆ ของฝ่ายบริหาร ซึ่งประธานาธิบดีจะอาศัยใช้ดำเนินนโยบายต่างประเทศ ประธานาธิบดีมีอำนาจไม่มากในการดำเนินนโยบายต่างประเทศตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ จนกว่ารัฐสภาคองเกรสจะดำเนินการจัดหากลไกทางการปกครองและจัดสรรงบประมาณมาให้
ความสำคัญ ความสำคัญของอำนาจนิติบัญญัติของรัฐสภาคองเกรสในการดำเนินนโยบายต่างประเทศของสหรัฐนี้ ได้มาจากระบบการแบ่งแยกอำนาจการปกครองที่กำหนดให้ต้องมีการร่วมมือกันของสองฝ่ายเป็นอย่างน้อย จึงจะทำให้รัฐบาลแห่งชาติสามารถทำงานอย่างมีประสิทธิผลได้ เพราะฉะนั้นก็จึงให้เรื่องของกิจการระหว่างประเทศนี้อยู่ในความรับผิดของของรัฐสภาคองเกรส เนื่องจากว่านโยบายต่างประเทศของสหรัฐ ฯ ต้องอิงอาศัยบทบัญญัติของกฎหมายช่วยสนับสนุนจึงจะดำเนินไปได้
Congress : Power of Purse
สภาคองเกรส : อำนาจการควบคุมการเงิน
อำนาจของสภาคองเกรสในการควบคุมการเงินของรัฐบาลทั้งทางด้านรายรับและรายจ่าย อำนาจการควบคุมการเงินของสภาคองเกรสนี้รวมไปถึง "อำนาจที่จะกำหนดและเก็บภาษี อากร ภาษีศุลกากร และอากรสรรพสามิต อำนาจในการชำระหนี้และจัดหาเงินเพื่อป้องกันร่วมกันและเพื่อสวัสดิการทั่วไปของสหรัฐอเมริกา..." (มาตรา 1 อนุมาตรา 8) และข้อจำกัดที่ว่า "จะเบิกจ่ายเงินจากระทรวงการคลังได้ ก็แต่กรณีที่เป็นผลจากการจัดสรรโดยกฎหมายเท่านั้น ..." (มาตรา 1 อนุมาตรา 9) ก่อนที่โครงการอย่างใดอย่างหนึ่งจะดำเนินการได้นั้น ก็จะต้องผ่านการพิจารณาของสองสภาของสภาคองเกรสสองครั้ง คือ ครั้งแรกเป็นขั้นตอนกำหนดนโยบายให้อำนาจจัดโครงการนั้นได้ และครั้งที่สองเป็นขั้นตอนการจัดสรรงบประมาณที่จะนำไปใช้ในโครงการนั้น ภายใต้ขั้นตอนในครั้งแรกนั้น ร่างรัฐบัญญัติจะได้รับการพิจารณาโดยคณะกรรมธิการกิจการต่างประเทศสภาผู้แทนราษฎร และคณะกรรมการวิเทศสัมพันธ์วุฒิสภา ส่วนในครั้งที่สองนั้นจะเป็นการพิจารณาโดยคณะกรรมาธิการจัดสรรงบประมาณของทั้งสองสภา เมื่อได้ดำเนินการจัดสรรงบประมาณไปให้แล้ว การใช้จ่ายเงินของโครงการโดยฝ่ายบริหารจะถูกตรวจสอบโดยสำนักงานตรวจสอบการใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดิน (จีเอโอ) ซึ่งสภาคองเกรสจัดตั้งขึ้นมาเพื่อควบคุมการใช้จ่ายเงินงบประมาณดังกล่าวให้อยู่ในขอบเขตวงเงินจัดสรรของสภาคองเกรส
ความสำคัญ อำนาจการควบคุมการเงิน คือ เครื่องมือสำคัญที่สภาคองเกรสนำมาใช้ควบคุมกระบวนการนโยบายต่างประเทศ เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เลยสำหรับประธานาธิบดีที่จะดำเนินนโยบายต่างประเทศโดยไม่มีงบประมาณมาสนับสนุน การที่สภาคองเกรสจะใช้อำนาจการควบคุมการเงินนี้เพื่อสร้างอิทธิพลต่อนโยบายต่างประเทศได้มากน้อยเพียงใดนั้น จะขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างบุคคลที่อยู่ในทำเนียบขาวกับผู้นำในสภาคองเกรส (แคปิตอลฮิลล์) แต่เมื่อประธานาธิบดีได้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งไปแล้ว อำนาจของสภาคองเกรสที่จะไม่จัดสรรเงินงบประมาณแผ่นดินสนับสนุนจะลดน้อยลง ทั้งนี้เพราะเกรงไปว่าผลประโยชน์ของชาติจะเสียหายได้
อำนาจของสภาคองเกรสในการควบคุมการเงินของรัฐบาลทั้งทางด้านรายรับและรายจ่าย อำนาจการควบคุมการเงินของสภาคองเกรสนี้รวมไปถึง "อำนาจที่จะกำหนดและเก็บภาษี อากร ภาษีศุลกากร และอากรสรรพสามิต อำนาจในการชำระหนี้และจัดหาเงินเพื่อป้องกันร่วมกันและเพื่อสวัสดิการทั่วไปของสหรัฐอเมริกา..." (มาตรา 1 อนุมาตรา 8) และข้อจำกัดที่ว่า "จะเบิกจ่ายเงินจากระทรวงการคลังได้ ก็แต่กรณีที่เป็นผลจากการจัดสรรโดยกฎหมายเท่านั้น ..." (มาตรา 1 อนุมาตรา 9) ก่อนที่โครงการอย่างใดอย่างหนึ่งจะดำเนินการได้นั้น ก็จะต้องผ่านการพิจารณาของสองสภาของสภาคองเกรสสองครั้ง คือ ครั้งแรกเป็นขั้นตอนกำหนดนโยบายให้อำนาจจัดโครงการนั้นได้ และครั้งที่สองเป็นขั้นตอนการจัดสรรงบประมาณที่จะนำไปใช้ในโครงการนั้น ภายใต้ขั้นตอนในครั้งแรกนั้น ร่างรัฐบัญญัติจะได้รับการพิจารณาโดยคณะกรรมธิการกิจการต่างประเทศสภาผู้แทนราษฎร และคณะกรรมการวิเทศสัมพันธ์วุฒิสภา ส่วนในครั้งที่สองนั้นจะเป็นการพิจารณาโดยคณะกรรมาธิการจัดสรรงบประมาณของทั้งสองสภา เมื่อได้ดำเนินการจัดสรรงบประมาณไปให้แล้ว การใช้จ่ายเงินของโครงการโดยฝ่ายบริหารจะถูกตรวจสอบโดยสำนักงานตรวจสอบการใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดิน (จีเอโอ) ซึ่งสภาคองเกรสจัดตั้งขึ้นมาเพื่อควบคุมการใช้จ่ายเงินงบประมาณดังกล่าวให้อยู่ในขอบเขตวงเงินจัดสรรของสภาคองเกรส
ความสำคัญ อำนาจการควบคุมการเงิน คือ เครื่องมือสำคัญที่สภาคองเกรสนำมาใช้ควบคุมกระบวนการนโยบายต่างประเทศ เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เลยสำหรับประธานาธิบดีที่จะดำเนินนโยบายต่างประเทศโดยไม่มีงบประมาณมาสนับสนุน การที่สภาคองเกรสจะใช้อำนาจการควบคุมการเงินนี้เพื่อสร้างอิทธิพลต่อนโยบายต่างประเทศได้มากน้อยเพียงใดนั้น จะขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างบุคคลที่อยู่ในทำเนียบขาวกับผู้นำในสภาคองเกรส (แคปิตอลฮิลล์) แต่เมื่อประธานาธิบดีได้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งไปแล้ว อำนาจของสภาคองเกรสที่จะไม่จัดสรรเงินงบประมาณแผ่นดินสนับสนุนจะลดน้อยลง ทั้งนี้เพราะเกรงไปว่าผลประโยชน์ของชาติจะเสียหายได้
Congress : Senate Foreign Relations Committee
สภาคองเกรส : คณะกรรมาธิการวิเทศสัมพันธ์วุฒิสภา
คณะกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภาที่ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักของวุฒิสภาในด้านนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา คณะกรรมาธิการวิเทศสัมพันธ์ส่วนแล้วจะทำงานโดยผ่านทางคณะอนุกรรมการประจำที่ดำนินงานและประสานความร่วมมือกัน หน่วยงานต่าง ๆ ของกระทรวงการต่างประเทศที่รับผิดชอบทางพื้นที่ทางภูมิศาสตร์และในเรื่องต่าง ๆ อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการวิเทศสัมพันธ์มาจากอำนาจนิติบัญญัติทั่วไปและอำนาจสอบสวนของวุฒิสภา ซึ่งมีลักษณะคล้ายอำนาจเหล่านี้ของสภาผู้แทนราษฎร อย่างไรก็ตามเพราะผลของระบบคานอำนาจวุฒิ ทำให้วุฒิสภามีอำนาจชนิดที่สภาผู้แทนราษฎรไม่มี อาทิ ในการมีส่วนร่วมในอำนาจทำสนธิสัญญาและอำนาจในการแต่งตั้งบุคคลต่าง ๆ ของฝ่ายบริหาร มาตรา 2 อนุมาตรา 2 ของรัฐธรรมนูญสหรัฐ ฯ ได้ให้อำนาจแก่ประธานาธิบดี "โดยคำแนะนำและด้วยความยินยอมของวุฒิสภา ในอันที่จะทำสนธิสัญญา ทั้งนี้โดยมีเงื่อนไขว่าต้องมีวุฒิสมาชิกจำนวนสองในสามเข้าร่วมประชุมด้วย และเขา (ประธานธิบดี) จะเป็นผู้กำหนดตัวบุคคล กับจะแต่งตั้งเอกอัครราชทูตและกงสุลอื่น ๆ โดยคำแนะนำและด้วยความเห็นชอบของวุฒิสภา ..." ตามปกตินั้นวุฒิสภาจะยอมรับคำเสนอแนะของคณะกรรมาธิการวิเทศสัมพันธ์ของวุฒิสภาในเรื่องเหล่านี้และในเรื่องทางนโยบายต่างประเทศอื่น ๆ
ความสำคัญ บทบาทของคณะกรรมาธิการวิเทศสัมพันธ์วุฒิสภาจะขยายตัวเพิ่มขึ้นพร้อม ๆ กับบทบาทของสหรัฐอเมริกาในกิจการของโลก การติดต่อสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดของคณะกรรมาธิการวิเทศสัมพันธ์วุฒิสภากับกระทรวงการต่างประเทศ ในการพัฒนานโยบายต่างประเทศนั้น จะเห็นได้จากการเจรจาเกี่ยวกับกฎบัตรสหประชาชาติ และสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ ตามปกติแล้วประธานาธิบดีจะปรึกษาหารือกับประธานคณะกรรมาธิการวิเทศสัมพันธ์วุฒิสภา ผู้นำเสียงข้างน้อย และสมาชิกผู้ทรงอิทธิพลอื่น ๆ ตัวอย่างที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงอำนาจของคณะกรรมธิการวิเทศสัมพันธ์ วุฒิสภาในการคอยตรวจสอบฝ่ายบริหาร ก็คือบทบาทของคณะกรรมาธิการ ฯ ในการปฏิเสธสนธิสัญญาแวร์ซายส์และสันนิบาตชาติโดยวุฒิสภา
คณะกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภาที่ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักของวุฒิสภาในด้านนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา คณะกรรมาธิการวิเทศสัมพันธ์ส่วนแล้วจะทำงานโดยผ่านทางคณะอนุกรรมการประจำที่ดำนินงานและประสานความร่วมมือกัน หน่วยงานต่าง ๆ ของกระทรวงการต่างประเทศที่รับผิดชอบทางพื้นที่ทางภูมิศาสตร์และในเรื่องต่าง ๆ อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการวิเทศสัมพันธ์มาจากอำนาจนิติบัญญัติทั่วไปและอำนาจสอบสวนของวุฒิสภา ซึ่งมีลักษณะคล้ายอำนาจเหล่านี้ของสภาผู้แทนราษฎร อย่างไรก็ตามเพราะผลของระบบคานอำนาจวุฒิ ทำให้วุฒิสภามีอำนาจชนิดที่สภาผู้แทนราษฎรไม่มี อาทิ ในการมีส่วนร่วมในอำนาจทำสนธิสัญญาและอำนาจในการแต่งตั้งบุคคลต่าง ๆ ของฝ่ายบริหาร มาตรา 2 อนุมาตรา 2 ของรัฐธรรมนูญสหรัฐ ฯ ได้ให้อำนาจแก่ประธานาธิบดี "โดยคำแนะนำและด้วยความยินยอมของวุฒิสภา ในอันที่จะทำสนธิสัญญา ทั้งนี้โดยมีเงื่อนไขว่าต้องมีวุฒิสมาชิกจำนวนสองในสามเข้าร่วมประชุมด้วย และเขา (ประธานธิบดี) จะเป็นผู้กำหนดตัวบุคคล กับจะแต่งตั้งเอกอัครราชทูตและกงสุลอื่น ๆ โดยคำแนะนำและด้วยความเห็นชอบของวุฒิสภา ..." ตามปกตินั้นวุฒิสภาจะยอมรับคำเสนอแนะของคณะกรรมาธิการวิเทศสัมพันธ์ของวุฒิสภาในเรื่องเหล่านี้และในเรื่องทางนโยบายต่างประเทศอื่น ๆ
ความสำคัญ บทบาทของคณะกรรมาธิการวิเทศสัมพันธ์วุฒิสภาจะขยายตัวเพิ่มขึ้นพร้อม ๆ กับบทบาทของสหรัฐอเมริกาในกิจการของโลก การติดต่อสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดของคณะกรรมาธิการวิเทศสัมพันธ์วุฒิสภากับกระทรวงการต่างประเทศ ในการพัฒนานโยบายต่างประเทศนั้น จะเห็นได้จากการเจรจาเกี่ยวกับกฎบัตรสหประชาชาติ และสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ ตามปกติแล้วประธานาธิบดีจะปรึกษาหารือกับประธานคณะกรรมาธิการวิเทศสัมพันธ์วุฒิสภา ผู้นำเสียงข้างน้อย และสมาชิกผู้ทรงอิทธิพลอื่น ๆ ตัวอย่างที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงอำนาจของคณะกรรมธิการวิเทศสัมพันธ์ วุฒิสภาในการคอยตรวจสอบฝ่ายบริหาร ก็คือบทบาทของคณะกรรมาธิการ ฯ ในการปฏิเสธสนธิสัญญาแวร์ซายส์และสันนิบาตชาติโดยวุฒิสภา
Congress : Treaty Power
สภาคองเกรส : อำนาจเกี่ยวกับสนธิสัญญา
อำนาจในการมีส่วนร่วมของวุฒิสภาในปฏิบัติการทำสนธิสัญญาของฝ่ายบริหาร ประธานาธิบดีจะทำการเจรจาเกี่ยวกับสนธิสัญญาก่อน แต่ทว่าภายใต้ระบบรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้มีการคานอำนาจกันนั้น ประธานาธิบดีจะไม่สามารถให้สัตยาบันสนธิสัญญาได้ จนกว่าวุฒิสภาซึ่งประกอบด้วยวุฒิสมาชิกส่วนใหญ่สองในสามเข้าประชุมและลงคะแนนเสียงให้ความยินยอมแล้ว ภายใต้อำนาจเกี่ยวกับสนธิสัญญาของสภาคองเกรสนี้ วุฒิสภาอาจจะ (1) ให้ความยินยอมในการให้สัตยาบัน (2) ปฏิเสธที่จะให้ความยินยอม (3) ให้ความยินยอมหลังจากที่ให้แก้ไขบางสิ่งบางอย่างแล้ว และ (4) ให้ความยินยอมในการให้สัตยาบันโดยมีข้อสงวนสิทธิ์บางอย่าง อย่างไรก็ตามในทางกฎหมายก็มิได้บังคับให้ประธานาธิบดีต้องให้สัตยาบันหลังจากได้รับความยินยอมจากวุฒิสภาแล้ว ถึงแมัว่าคณะกรรมาธิการวิเทศสัมพันธ์วุฒิสภาจะเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจเกี่ยวกับสนธิสัญญาในสภาคองเกรสก็จริง แต่ก็ยังมีคณะกรรมาธิการคณะอื่นในวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับเนื้อหาสาระของสนธิสัญญาฉบับนั้น ๆ ยกตัวอย่างเช่น สภาผู้แทนราษฎรถึงแม้ว่าจะไม่มีอำนาจเกี่ยวกับสนธิสัญญาโดยลำพัง แต่ก็มีบทบาทสำคัญผ่านทางคณะกรรมาธิการจัดสรรงบประมาณ ที่จะให้มีการทบทวนบทบัญญัติของสนธิสัญญาก่อนที่จะได้เสนอแนะให้จัดสรรงบประมาณที่จำเป็นต้องนำไปใช้เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามสนธิสัญญานั้น ๆ
ความสำคัญ บทบาทของวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร ในกระบวนการทำสนธิสัญญาบ่งบอกให้เราได้ทราบว่า ขั้นตอนให้สัตยาบันมีความสำคัญพอ ๆ กับขั้นตอนเริ่มเจรจาในการทำสนธิสัญญา จากการที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้สภาคองเกรสมีอำนาจเกี่ยวกับสนธิสัญญานี้เอง ที่ทำให้วุฒิสมาชิกกลุ่มเล็ก ๆ ซึ่งเป็นตัวแทนของรัฐต่าง ๆ ที่มีชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่ สามารถปฏิเสธความต้องการของสมาชิกส่วนใหญ่ได้ กระบวนการทางสนธิสัญญาในสภาคองเกรสจะมีลักษณะอุ้ยอ้ายเชื่องช้า ทำให้ฝ่ายบริหารต้องเสียเวลาและเสียอารมณ์มากจาก (1) การให้มาชี้แจงซำ้ ๆ ซาก ๆ (2) การให้มีการแก้ไขและการสงวนสิทธิ์ และ (3) ความสามารถขั้นสุดท้ายของวุฒิสภาที่จะสร้างความวุ่นวายใจให้แก่ฝ่ายบริหาร จริงอยู่ประธานาธิบดีอาจจะไม่ถูกตรวจสอบโดยวุฒิสภาโดยอัตโนมัติ แต่ก็ไม่อาจวางใจในข้อเท็จจริงที่ว่าตนอาจถูกตรวจสอบได้ ถึงแม้ว่าสนธิสัญญาส่วนใหญ่ที่ประธานาธิบดีทำเสนอต่อวุฒิสภาจะได้รับความเห็นชอบ แต่ก็มีบางฉบับที่ถูกลงคะแนนเสียงคัดค้าน และก็มีบางฉบับที่ถูกทำลายโดยการ “ดองเรื่อง” ของวุฒิสภา สนธิสัญญาสำคัญ ๆ ที่ไม่ได้รับความยินยอมจากสภาคองเกรส มีตัวอย่างเช่น กติกาสันนิบาติชาติ (ค.ศ. 1919) กฎบัตรองค์การระหว่างประเทศ (ค.ศ. 1948) และอนุสัญญาฆ่าล้างชาติ (ระหว่าง ค.ศ. 1948-1986)
อำนาจในการมีส่วนร่วมของวุฒิสภาในปฏิบัติการทำสนธิสัญญาของฝ่ายบริหาร ประธานาธิบดีจะทำการเจรจาเกี่ยวกับสนธิสัญญาก่อน แต่ทว่าภายใต้ระบบรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้มีการคานอำนาจกันนั้น ประธานาธิบดีจะไม่สามารถให้สัตยาบันสนธิสัญญาได้ จนกว่าวุฒิสภาซึ่งประกอบด้วยวุฒิสมาชิกส่วนใหญ่สองในสามเข้าประชุมและลงคะแนนเสียงให้ความยินยอมแล้ว ภายใต้อำนาจเกี่ยวกับสนธิสัญญาของสภาคองเกรสนี้ วุฒิสภาอาจจะ (1) ให้ความยินยอมในการให้สัตยาบัน (2) ปฏิเสธที่จะให้ความยินยอม (3) ให้ความยินยอมหลังจากที่ให้แก้ไขบางสิ่งบางอย่างแล้ว และ (4) ให้ความยินยอมในการให้สัตยาบันโดยมีข้อสงวนสิทธิ์บางอย่าง อย่างไรก็ตามในทางกฎหมายก็มิได้บังคับให้ประธานาธิบดีต้องให้สัตยาบันหลังจากได้รับความยินยอมจากวุฒิสภาแล้ว ถึงแมัว่าคณะกรรมาธิการวิเทศสัมพันธ์วุฒิสภาจะเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจเกี่ยวกับสนธิสัญญาในสภาคองเกรสก็จริง แต่ก็ยังมีคณะกรรมาธิการคณะอื่นในวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับเนื้อหาสาระของสนธิสัญญาฉบับนั้น ๆ ยกตัวอย่างเช่น สภาผู้แทนราษฎรถึงแม้ว่าจะไม่มีอำนาจเกี่ยวกับสนธิสัญญาโดยลำพัง แต่ก็มีบทบาทสำคัญผ่านทางคณะกรรมาธิการจัดสรรงบประมาณ ที่จะให้มีการทบทวนบทบัญญัติของสนธิสัญญาก่อนที่จะได้เสนอแนะให้จัดสรรงบประมาณที่จำเป็นต้องนำไปใช้เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามสนธิสัญญานั้น ๆ
ความสำคัญ บทบาทของวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร ในกระบวนการทำสนธิสัญญาบ่งบอกให้เราได้ทราบว่า ขั้นตอนให้สัตยาบันมีความสำคัญพอ ๆ กับขั้นตอนเริ่มเจรจาในการทำสนธิสัญญา จากการที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้สภาคองเกรสมีอำนาจเกี่ยวกับสนธิสัญญานี้เอง ที่ทำให้วุฒิสมาชิกกลุ่มเล็ก ๆ ซึ่งเป็นตัวแทนของรัฐต่าง ๆ ที่มีชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่ สามารถปฏิเสธความต้องการของสมาชิกส่วนใหญ่ได้ กระบวนการทางสนธิสัญญาในสภาคองเกรสจะมีลักษณะอุ้ยอ้ายเชื่องช้า ทำให้ฝ่ายบริหารต้องเสียเวลาและเสียอารมณ์มากจาก (1) การให้มาชี้แจงซำ้ ๆ ซาก ๆ (2) การให้มีการแก้ไขและการสงวนสิทธิ์ และ (3) ความสามารถขั้นสุดท้ายของวุฒิสภาที่จะสร้างความวุ่นวายใจให้แก่ฝ่ายบริหาร จริงอยู่ประธานาธิบดีอาจจะไม่ถูกตรวจสอบโดยวุฒิสภาโดยอัตโนมัติ แต่ก็ไม่อาจวางใจในข้อเท็จจริงที่ว่าตนอาจถูกตรวจสอบได้ ถึงแม้ว่าสนธิสัญญาส่วนใหญ่ที่ประธานาธิบดีทำเสนอต่อวุฒิสภาจะได้รับความเห็นชอบ แต่ก็มีบางฉบับที่ถูกลงคะแนนเสียงคัดค้าน และก็มีบางฉบับที่ถูกทำลายโดยการ “ดองเรื่อง” ของวุฒิสภา สนธิสัญญาสำคัญ ๆ ที่ไม่ได้รับความยินยอมจากสภาคองเกรส มีตัวอย่างเช่น กติกาสันนิบาติชาติ (ค.ศ. 1919) กฎบัตรองค์การระหว่างประเทศ (ค.ศ. 1948) และอนุสัญญาฆ่าล้างชาติ (ระหว่าง ค.ศ. 1948-1986)
Containment
การจำกัดการขยายตัวของลัทธิไม่พึงปรารถนา
นโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาในสงครามเย็น และข้อสมมติฐานทางทฤษฎีของนโยบายนี้ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะยุติการขยายตัวของสหภาพโซเวียต ทฤษฎีการจำกัดการขยายตัวของลัทธิที่ไม่พึงปรารถนานี้ เริ่มต้นด้วยข้อสมมติฐานว่า นโยบายต่างประเทศของสหภาพโซเวียต ส่วนใหญ่แล้วได้รับแรงกระตุ้นจากความจำเป็นทางด้านเผด็จการที่ได้รับการปรุงแต่งโดยลัทธิคอมมิวนิสต์และประวัติศาสตร์ของรัสเซีย ผู้ที่ตั้งสมมติฐานนี้ขึ้นมาก็คือ นายจอร์จ เอฟ.เคนนัน หัวหน้าคณะผู้วางแผนนโยบายของกระทรวงต่างประเทศเมื่อปี ค.ศ. 1947 ทฤษฎีการจำกัดการขยายตัวของลัทธิที่ไม่พึงปรารถนานี้ได้รับการปฏิบัติให้เป็นจริงขึ้นมาโดยใช้นโยบาย 2 ขั้นตอน ซึ่งได้เริ่มต้นมาตั้งแต่เมื่อมีโครงการให้ความช่วยเหลือแก่กรีกและตุรกีในปี ค.ศ. 1947 ขั้นตอนที่ 1 ของนโยบายนี้มีปรากฎอยู่ใน "ลัทธิทรูแมน" ซึ่งได้เรียกร้องให้มีการหยุดยั้งการรุกคืบหน้าในทางภูมิศาสตร์ของสหภาพโซเวียต ในระยะที่ 1 นี้ ได้มีการขีดเส้น "แซตเตอร์ โซน" จากนอร์เวย์ผ่านไปทางยุโรปตอนกลางและยุโรปตอนตะวันออกเฉียงใต้ และจากตะวันออกกลางไปทางเอเชียใต้และเอเชียตะวันออก เมื่อได้ทำการขีดเส้นจำกัดการขยายตัวของสหภาพโซเวียตนี้แล้ว ในระยะที่ 2 ของนโยบาย ได้กำหนดให้มีการสร้าง "สถานการณ์แห่งพลัง" ขึ้นมาโดยให้สหรัฐอเมริกาทำหน้าที่เป็นพลังต้านทานอำนาจของสหภาพโซเวียตตามเส้นรอบวงหรือตามปริมณฑลที่ได้ลากเส้นไว้แล้วนั้น นอกจากนี้แล้วก็ยังได้กำหนดให้สหรัฐอเมริกาโต้ตอบตามกาละและเทศะ และวิธีการตามแต่จะเห็นสมควร เพื่อสกัดกั้นการแหกวงล้อมออกมาของสหภาพโซเวียต นโยบายการปิดล้อมสหภาพโซเวียตนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทำลายจุดประสงค์ของนโยบายต่างประเทศและนโยบายภายในของสหภาพโซเวียตและเพื่อไปกระตุ้นให้เกิดแรงกดดันภายในและความไม่พึงพอใจของประชาชนชาวโซเวียตที่ซ่อนเร้นอยู่ในระบบเผด็จการของสหภาพโซเวียตบรรดาผู้นำของสหภาพโซเวียตได้รับการเตือนให้เกิดความตระหนักว่า ในขณะที่ผลประโยชน์ทั้งหลายของสหภาพโซเวียตไม่อาจบรรลุถึงได้ด้วยการใช้ความรุนแรง การก่อความไม่สงบ และการบ่อนทำลาย แต่ผลประโยชน์บางอย่างอาจจะสำเร็จโดยวิธีการประนีประนอมผ่านทางการทูตแบบสันติได้
ความสำคัญ นโยบายการปิดล้อมนี้เป็นปฏิบัติการที่อิงนโยบายต่างประเทศแบบสัจนิยมในระยะยาวที่ผ่านการพัฒนามาเป็นอย่างดี มิได้อิงหลักการแบบอุดมคตินิยมที่เป็นนามธรรมซึ่งในประวัติศาสตร์เคยพัฒนามาเป็นแนวชี้นำนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกามาก่อน การปิดล้อมดังที่เคนนันได้ตั้งไว้เป็นข้อสมมติฐานนั้น ได้กำหนดให้ผู้ดำเนินนโยบายมีอารมณ์เยือกเย็น ปฏิบัติการให้ทันเวลาและมีความสุขุมรอบคอบ จะต้องไม่กดดันให้ชาวโซเวียตจนมุมจนถึงกับหันกลับมาต่อสู้ดุจสุนัขจนตรอก และจะต้องยอมให้มีที่หนีและสามารถรักษาหน้าของตัวเองได้ วัตถุประสงค์ขั้นสุดท้ายของการปิดล้อมนี้มิใช่เพื่อให้เกิดสงคราม แต่เพื่อให้เกิดการผ่อนปรน การปิดล้อมนี้ได้ก่อให้เกิดการ "ยันกัน" ทางทหารที่ตามด้วยการผ่อนคลายความตึงเครียดและการหามาตรการการผ่อนปรน หลักการปิดล้อมก็ยังได้ขยายไปถึงการสกัดกั้นการขยายตัวของจีนในเอเชียด้วย ผู้เขียนนโยบายการปิดล้อม คือ จอร์จ เอฟ. เคนนัน ได้วิพากษ์วิจารณ์ปรัชญาขั้นพื้นฐานและข้อพิจารณาทางยุทธศาสตร์ที่มีอยู่ในนโยบายนี้
นโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาในสงครามเย็น และข้อสมมติฐานทางทฤษฎีของนโยบายนี้ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะยุติการขยายตัวของสหภาพโซเวียต ทฤษฎีการจำกัดการขยายตัวของลัทธิที่ไม่พึงปรารถนานี้ เริ่มต้นด้วยข้อสมมติฐานว่า นโยบายต่างประเทศของสหภาพโซเวียต ส่วนใหญ่แล้วได้รับแรงกระตุ้นจากความจำเป็นทางด้านเผด็จการที่ได้รับการปรุงแต่งโดยลัทธิคอมมิวนิสต์และประวัติศาสตร์ของรัสเซีย ผู้ที่ตั้งสมมติฐานนี้ขึ้นมาก็คือ นายจอร์จ เอฟ.เคนนัน หัวหน้าคณะผู้วางแผนนโยบายของกระทรวงต่างประเทศเมื่อปี ค.ศ. 1947 ทฤษฎีการจำกัดการขยายตัวของลัทธิที่ไม่พึงปรารถนานี้ได้รับการปฏิบัติให้เป็นจริงขึ้นมาโดยใช้นโยบาย 2 ขั้นตอน ซึ่งได้เริ่มต้นมาตั้งแต่เมื่อมีโครงการให้ความช่วยเหลือแก่กรีกและตุรกีในปี ค.ศ. 1947 ขั้นตอนที่ 1 ของนโยบายนี้มีปรากฎอยู่ใน "ลัทธิทรูแมน" ซึ่งได้เรียกร้องให้มีการหยุดยั้งการรุกคืบหน้าในทางภูมิศาสตร์ของสหภาพโซเวียต ในระยะที่ 1 นี้ ได้มีการขีดเส้น "แซตเตอร์ โซน" จากนอร์เวย์ผ่านไปทางยุโรปตอนกลางและยุโรปตอนตะวันออกเฉียงใต้ และจากตะวันออกกลางไปทางเอเชียใต้และเอเชียตะวันออก เมื่อได้ทำการขีดเส้นจำกัดการขยายตัวของสหภาพโซเวียตนี้แล้ว ในระยะที่ 2 ของนโยบาย ได้กำหนดให้มีการสร้าง "สถานการณ์แห่งพลัง" ขึ้นมาโดยให้สหรัฐอเมริกาทำหน้าที่เป็นพลังต้านทานอำนาจของสหภาพโซเวียตตามเส้นรอบวงหรือตามปริมณฑลที่ได้ลากเส้นไว้แล้วนั้น นอกจากนี้แล้วก็ยังได้กำหนดให้สหรัฐอเมริกาโต้ตอบตามกาละและเทศะ และวิธีการตามแต่จะเห็นสมควร เพื่อสกัดกั้นการแหกวงล้อมออกมาของสหภาพโซเวียต นโยบายการปิดล้อมสหภาพโซเวียตนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทำลายจุดประสงค์ของนโยบายต่างประเทศและนโยบายภายในของสหภาพโซเวียตและเพื่อไปกระตุ้นให้เกิดแรงกดดันภายในและความไม่พึงพอใจของประชาชนชาวโซเวียตที่ซ่อนเร้นอยู่ในระบบเผด็จการของสหภาพโซเวียตบรรดาผู้นำของสหภาพโซเวียตได้รับการเตือนให้เกิดความตระหนักว่า ในขณะที่ผลประโยชน์ทั้งหลายของสหภาพโซเวียตไม่อาจบรรลุถึงได้ด้วยการใช้ความรุนแรง การก่อความไม่สงบ และการบ่อนทำลาย แต่ผลประโยชน์บางอย่างอาจจะสำเร็จโดยวิธีการประนีประนอมผ่านทางการทูตแบบสันติได้
ความสำคัญ นโยบายการปิดล้อมนี้เป็นปฏิบัติการที่อิงนโยบายต่างประเทศแบบสัจนิยมในระยะยาวที่ผ่านการพัฒนามาเป็นอย่างดี มิได้อิงหลักการแบบอุดมคตินิยมที่เป็นนามธรรมซึ่งในประวัติศาสตร์เคยพัฒนามาเป็นแนวชี้นำนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกามาก่อน การปิดล้อมดังที่เคนนันได้ตั้งไว้เป็นข้อสมมติฐานนั้น ได้กำหนดให้ผู้ดำเนินนโยบายมีอารมณ์เยือกเย็น ปฏิบัติการให้ทันเวลาและมีความสุขุมรอบคอบ จะต้องไม่กดดันให้ชาวโซเวียตจนมุมจนถึงกับหันกลับมาต่อสู้ดุจสุนัขจนตรอก และจะต้องยอมให้มีที่หนีและสามารถรักษาหน้าของตัวเองได้ วัตถุประสงค์ขั้นสุดท้ายของการปิดล้อมนี้มิใช่เพื่อให้เกิดสงคราม แต่เพื่อให้เกิดการผ่อนปรน การปิดล้อมนี้ได้ก่อให้เกิดการ "ยันกัน" ทางทหารที่ตามด้วยการผ่อนคลายความตึงเครียดและการหามาตรการการผ่อนปรน หลักการปิดล้อมก็ยังได้ขยายไปถึงการสกัดกั้นการขยายตัวของจีนในเอเชียด้วย ผู้เขียนนโยบายการปิดล้อม คือ จอร์จ เอฟ. เคนนัน ได้วิพากษ์วิจารณ์ปรัชญาขั้นพื้นฐานและข้อพิจารณาทางยุทธศาสตร์ที่มีอยู่ในนโยบายนี้
Contra Rebels
กลุ่มกบฏคอนทรา
กลุ่มกองโจรต่อต้านการปฏิวัติที่ทำการต่อต้านรัฐบาลแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติซานดานิสตาในประเทศนิการากัว สหรัฐอเมริกาเคยได้ให้การสนับสนุนจอมเผด็จการ อนาตาซิโอ โซโมซา ซึ่งในที่สุดได้ถูกขับออกจากอำนาจเมื่อปี ค.ศ. 1979 จากนั้นได้มีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่เข้าบริหารประเทศ โดยกลุ่มแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติซานดานิสตาที่นิยมมาร์กซิสต์ (เอฟเอสแอลเอ็น) กลุ่มกบฏคอนทราผสม อันประกอบด้วยบุคคลที่ภักดีต่อจอมเผด็จการโซโมซา ทหาร และพวกซานดานิสตาทีี่แยกพวกออกมา ก็ได้เข้าไปตั้งฐานปฏิบัติการอยู่ในประเทศคอสตาลิกาและฮอนดูรัสซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้าน แล้วหาทางใช้วิธีการทางทหารและการเมืองโค่นล้มระบอบการปกครองของซานดานิสตา ในสหรัฐอเมริกา รัฐบาลสหรัฐ ฯ ภายใต้การบริหารของประธานาธิบดีเรแกนเห็นว่าพวกซานดานิสตาเป็นเครื่องมือของลัทธิคอมมิวนิสต์คิวบาและลัทธิคอมมิวนิสต์โซเวียต ประธานาธิบดีมีความเห็นคล้ายกันนี้ว่า รัฐบาลของประเทศเกรนาดาซึ่งเป็นเกาะเล็ก ๆ ในทะเลคาริบเบียนเป็นเครื่องมือของคอมมิวนิสต์คิวบาและคอมมิวนิสต์โซเวียต ก่อนที่ยกกำลังทางทะเลและทางอากาศเข้ารุกรานเกรนาดา เพื่อขับรัฐบาลเกรนาดาออกจากอำนาจเมื่อปี ค.ศ. 1983
ความสำคัญ การให้ความช่วยเหลือของสหรัฐแก่กองกำลังกบฎคอนทราได้กลายเป็นประเด็นของความขัดแย้งทางการเมืองเกี่ยวกับนโยบายของสหรัฐ ฯ ในอเมริกากลาง พวกที่มีความเห็นสุดโต่งข้างหนึ่ง คือ พวกถือ "ทฤษฎีโดมิโน" ได้เตือนว่าถ้าหากปล่อยให้คอมมิวนิสต์มีชัยชนะในนิการากัวแล้วประเทศต่าง ๆ ก็จะตกเป็นคอมมิวนิสต์ไปเรื่อย ๆ จนถึงพรมแดนมลรัฐเท็กซัส เหมือนตัวโดมิโนเมื่อตัวหนึ่งล้มตัวอื่น ๆ ก็จะล้มตามไปด้วย ส่วนอีกพวกหนึ่งก็มีความเห็นสุดโต่งอีกข้างหนึ่ง โดยได้เตือนว่าเหตุการณ์ในนิการากัวจะไปเหมือนกับเหตุการณ์ในเวียตนามคือจะทำให้สหรัฐ ฯ ต้องไปติดปลักถอนตัวไม่ขึ้น ข้างฝ่ายสหภาพโซเวียตและคิวบาได้ให้การสนับสนุนแก่พวกซานดานิสตา รวมทั้งอุปกรณ์ทางด้านการทหารเป็นจำนวนมากมาย ข้างฝ่ายกบฎคอนทราก็ได้รับความช่วยเหลือลับ ๆ ผ่านทางซีไอเอ ซึ่งซีไอเอก็ยังช่วยไปวางทุนระเบิดไว้ตามท่าเรือต่าง ๆ ของนิการากัว ในการเรียกร้องสหรัฐให้การสนับสนุนแก่พวกกบฎคอนทรานั้น ประธานาธิบดีสหรัฐ ฯ อ้างว่าพวกกบฎคอนทราเป็น "นักต่อสู้เพื่อเสรีภาพ" ข้างฝ่ายสภาคองเกรสก็ทำท่าผลุบ ๆ โผล่ ๆ คือ บางทีก็ให้ความช่วยเหลือแบบเปิดเผย แต่บางทีก็ให้ความช่วยเหลือเป็นการลับแก่พวกกบฎคอนทรา ได้เกิดเป็นกรณีอื้อฉาวขึ้นมาว่าเป็นการสมควรและเป็นการถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ที่เจ้าหน้าที่ในคณะที่ปรึกษาสภาความมั่นคงแห่งชาติของประธานาธิบดีทำการผันเงินที่เป็นผลกำไรจากการขายอาวุธเป็นการลับให้แก่อิหร่านไปช่วยเหลือแก่พวกกบฎคอนทรา (ซึ่งเรียกว่า อิหร่านเกต) จากการเปิดเผยเรื่องอื้อฉาวนี้ ทำให้มีการตั้งอัยการพิเศษขึ้นมาและทำการสอบสวนโดยสภาคองเกรส ในขณะเดียวกันพวกกบฎคอนทรา(ในตอนนั้น)ก็ยังไม่มีท่าทีว่าใกล้จะมีชัยชนะเหนือพวกซานดานิสตามากไปกว่าเมื่อตอนที่พวกเขาเริ่มการโจมตีเมื่อปี ค.ศ. 1981
กลุ่มกองโจรต่อต้านการปฏิวัติที่ทำการต่อต้านรัฐบาลแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติซานดานิสตาในประเทศนิการากัว สหรัฐอเมริกาเคยได้ให้การสนับสนุนจอมเผด็จการ อนาตาซิโอ โซโมซา ซึ่งในที่สุดได้ถูกขับออกจากอำนาจเมื่อปี ค.ศ. 1979 จากนั้นได้มีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่เข้าบริหารประเทศ โดยกลุ่มแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติซานดานิสตาที่นิยมมาร์กซิสต์ (เอฟเอสแอลเอ็น) กลุ่มกบฏคอนทราผสม อันประกอบด้วยบุคคลที่ภักดีต่อจอมเผด็จการโซโมซา ทหาร และพวกซานดานิสตาทีี่แยกพวกออกมา ก็ได้เข้าไปตั้งฐานปฏิบัติการอยู่ในประเทศคอสตาลิกาและฮอนดูรัสซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้าน แล้วหาทางใช้วิธีการทางทหารและการเมืองโค่นล้มระบอบการปกครองของซานดานิสตา ในสหรัฐอเมริกา รัฐบาลสหรัฐ ฯ ภายใต้การบริหารของประธานาธิบดีเรแกนเห็นว่าพวกซานดานิสตาเป็นเครื่องมือของลัทธิคอมมิวนิสต์คิวบาและลัทธิคอมมิวนิสต์โซเวียต ประธานาธิบดีมีความเห็นคล้ายกันนี้ว่า รัฐบาลของประเทศเกรนาดาซึ่งเป็นเกาะเล็ก ๆ ในทะเลคาริบเบียนเป็นเครื่องมือของคอมมิวนิสต์คิวบาและคอมมิวนิสต์โซเวียต ก่อนที่ยกกำลังทางทะเลและทางอากาศเข้ารุกรานเกรนาดา เพื่อขับรัฐบาลเกรนาดาออกจากอำนาจเมื่อปี ค.ศ. 1983
ความสำคัญ การให้ความช่วยเหลือของสหรัฐแก่กองกำลังกบฎคอนทราได้กลายเป็นประเด็นของความขัดแย้งทางการเมืองเกี่ยวกับนโยบายของสหรัฐ ฯ ในอเมริกากลาง พวกที่มีความเห็นสุดโต่งข้างหนึ่ง คือ พวกถือ "ทฤษฎีโดมิโน" ได้เตือนว่าถ้าหากปล่อยให้คอมมิวนิสต์มีชัยชนะในนิการากัวแล้วประเทศต่าง ๆ ก็จะตกเป็นคอมมิวนิสต์ไปเรื่อย ๆ จนถึงพรมแดนมลรัฐเท็กซัส เหมือนตัวโดมิโนเมื่อตัวหนึ่งล้มตัวอื่น ๆ ก็จะล้มตามไปด้วย ส่วนอีกพวกหนึ่งก็มีความเห็นสุดโต่งอีกข้างหนึ่ง โดยได้เตือนว่าเหตุการณ์ในนิการากัวจะไปเหมือนกับเหตุการณ์ในเวียตนามคือจะทำให้สหรัฐ ฯ ต้องไปติดปลักถอนตัวไม่ขึ้น ข้างฝ่ายสหภาพโซเวียตและคิวบาได้ให้การสนับสนุนแก่พวกซานดานิสตา รวมทั้งอุปกรณ์ทางด้านการทหารเป็นจำนวนมากมาย ข้างฝ่ายกบฎคอนทราก็ได้รับความช่วยเหลือลับ ๆ ผ่านทางซีไอเอ ซึ่งซีไอเอก็ยังช่วยไปวางทุนระเบิดไว้ตามท่าเรือต่าง ๆ ของนิการากัว ในการเรียกร้องสหรัฐให้การสนับสนุนแก่พวกกบฎคอนทรานั้น ประธานาธิบดีสหรัฐ ฯ อ้างว่าพวกกบฎคอนทราเป็น "นักต่อสู้เพื่อเสรีภาพ" ข้างฝ่ายสภาคองเกรสก็ทำท่าผลุบ ๆ โผล่ ๆ คือ บางทีก็ให้ความช่วยเหลือแบบเปิดเผย แต่บางทีก็ให้ความช่วยเหลือเป็นการลับแก่พวกกบฎคอนทรา ได้เกิดเป็นกรณีอื้อฉาวขึ้นมาว่าเป็นการสมควรและเป็นการถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ที่เจ้าหน้าที่ในคณะที่ปรึกษาสภาความมั่นคงแห่งชาติของประธานาธิบดีทำการผันเงินที่เป็นผลกำไรจากการขายอาวุธเป็นการลับให้แก่อิหร่านไปช่วยเหลือแก่พวกกบฎคอนทรา (ซึ่งเรียกว่า อิหร่านเกต) จากการเปิดเผยเรื่องอื้อฉาวนี้ ทำให้มีการตั้งอัยการพิเศษขึ้นมาและทำการสอบสวนโดยสภาคองเกรส ในขณะเดียวกันพวกกบฎคอนทรา(ในตอนนั้น)ก็ยังไม่มีท่าทีว่าใกล้จะมีชัยชนะเหนือพวกซานดานิสตามากไปกว่าเมื่อตอนที่พวกเขาเริ่มการโจมตีเมื่อปี ค.ศ. 1981
Cultural Exchange
การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม
โครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความเข้าใจและปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนของสหรัฐอเมริกากับประชาชนของประเทศอื่น ๆ ถึงแม้ว่าจะมีการจัดตั้งฝ่ายสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมในกระทรวงการต่างประเทศในปี ค.ศ. 1938 แล้ว แต่การมีรัฐบัญญัติฟูลไบรท์ปี ค.ศ. 1946 ถือได้ว่าเป็นการเริ่มต้นของโครงการสัมพันธ์อย่างจริงจัง ซึ่งโครงการเหล่านี้ปัจจุบันบริหารโดยสำนักกิจการการศึกษาและวัฒนธรรม รัฐบัญญัติฟูลไบรท์อนุญาตให้ใช้เงินตราต่างประเทศและสินเชื่อ (ที่ได้มาจากการขายทรัพย์สินของสหรัฐ ฯ ในต่างประเทศ) เพื่อให้เป็นทุนการศึกษาแก่คนอเมริกันศึกษาในมหาวิทยาลัยต่างประเทศ และเพื่อช่วยเหลือนักศึกษาต่างประเทศเข้าไปศึกษาในมหาวิทยาลัยของสหรัฐอเมริกา นอกจากจะมีการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและแลกเปลี่ยนบุคคลในสาขาอาชีพต่าง ๆ ภายใต้โครงการฟูลไบรท์นี้แล้ว รัฐบัญญัติสมิธ - มุนดท์แอ็คท์ปี ค.ศ. 1948 และโครงการต่าง ๆ ในระยะต่อมาก็ได้อำนวยให้มีการแลกเปลี่ยนนักวิทยาศาสตร์ นักธุรกิจ ผู้นำภาครัฐบาลและผู้นำอาชีพต่าง ๆ
ความสำคัญ โครงการฟูลไบรท์และโครงการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมได้รับความนิยมทั้งจากผู้นำของฝ่ายบริหารและจากฝ่ายของสภาคองเกรส ยิ่งกว่าโครงการอื่นใดในการนำมาใช้เพื่อสร้างอิทธิพลต่อท่าทีของชาวต่างประเทศที่มีต่อสหรัฐอเมริกา ผู้ให้การสนับสนุนการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมเห็นว่านักศึกษาและครูอาจารย์เป็นบุคลากรชั้นยอดทางการเมืองที่สำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่กำลังพัฒนา พวกเขามีความเชื่อว่าเมื่อนักศึกษาและครูอาจารย์เหล่านี้มีพื้นฐานทางด้านการศึกษาแบบเดียวกันแล้ว ก็จะอำนวยประโยชน์ให้มีความสัมพันธ์อันดีในอนาคตกับสหรัฐอเมริกาได้ โดยอาศัยเส้นทางการสื่อสารที่กว้างไกลพ้นเส้นพรมแดนทางวัฒนธรรมของแต่ละชาติที่จัดตั้งขึ้นมา นอกจากนั้นแล้วโครงการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมนี้ก็ยังช่วยสะท้อนให้เห็นความเชื่อของคนอเมริกาที่เห็นว่าการติดต่อระหว่างบุคคลจะช่วยส่งเสริมให้ชาวต่างประเทศรับแนวความคิดของคนอเมริกันเกี่ยวกับธรรมชาติของประชาคมระหว่างประเทศในระยะยาวได้ด้วย
โครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความเข้าใจและปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนของสหรัฐอเมริกากับประชาชนของประเทศอื่น ๆ ถึงแม้ว่าจะมีการจัดตั้งฝ่ายสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมในกระทรวงการต่างประเทศในปี ค.ศ. 1938 แล้ว แต่การมีรัฐบัญญัติฟูลไบรท์ปี ค.ศ. 1946 ถือได้ว่าเป็นการเริ่มต้นของโครงการสัมพันธ์อย่างจริงจัง ซึ่งโครงการเหล่านี้ปัจจุบันบริหารโดยสำนักกิจการการศึกษาและวัฒนธรรม รัฐบัญญัติฟูลไบรท์อนุญาตให้ใช้เงินตราต่างประเทศและสินเชื่อ (ที่ได้มาจากการขายทรัพย์สินของสหรัฐ ฯ ในต่างประเทศ) เพื่อให้เป็นทุนการศึกษาแก่คนอเมริกันศึกษาในมหาวิทยาลัยต่างประเทศ และเพื่อช่วยเหลือนักศึกษาต่างประเทศเข้าไปศึกษาในมหาวิทยาลัยของสหรัฐอเมริกา นอกจากจะมีการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและแลกเปลี่ยนบุคคลในสาขาอาชีพต่าง ๆ ภายใต้โครงการฟูลไบรท์นี้แล้ว รัฐบัญญัติสมิธ - มุนดท์แอ็คท์ปี ค.ศ. 1948 และโครงการต่าง ๆ ในระยะต่อมาก็ได้อำนวยให้มีการแลกเปลี่ยนนักวิทยาศาสตร์ นักธุรกิจ ผู้นำภาครัฐบาลและผู้นำอาชีพต่าง ๆ
ความสำคัญ โครงการฟูลไบรท์และโครงการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมได้รับความนิยมทั้งจากผู้นำของฝ่ายบริหารและจากฝ่ายของสภาคองเกรส ยิ่งกว่าโครงการอื่นใดในการนำมาใช้เพื่อสร้างอิทธิพลต่อท่าทีของชาวต่างประเทศที่มีต่อสหรัฐอเมริกา ผู้ให้การสนับสนุนการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมเห็นว่านักศึกษาและครูอาจารย์เป็นบุคลากรชั้นยอดทางการเมืองที่สำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่กำลังพัฒนา พวกเขามีความเชื่อว่าเมื่อนักศึกษาและครูอาจารย์เหล่านี้มีพื้นฐานทางด้านการศึกษาแบบเดียวกันแล้ว ก็จะอำนวยประโยชน์ให้มีความสัมพันธ์อันดีในอนาคตกับสหรัฐอเมริกาได้ โดยอาศัยเส้นทางการสื่อสารที่กว้างไกลพ้นเส้นพรมแดนทางวัฒนธรรมของแต่ละชาติที่จัดตั้งขึ้นมา นอกจากนั้นแล้วโครงการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมนี้ก็ยังช่วยสะท้อนให้เห็นความเชื่อของคนอเมริกาที่เห็นว่าการติดต่อระหว่างบุคคลจะช่วยส่งเสริมให้ชาวต่างประเทศรับแนวความคิดของคนอเมริกันเกี่ยวกับธรรมชาติของประชาคมระหว่างประเทศในระยะยาวได้ด้วย
Defense, Department of
กระทรวงกลาโหม
กระทรวงของฝ่ายบริหารที่รับผิดชอบด้านความมั่นคงทางการทหารของสหรัฐอเมริกา กระทรวงกลาโหมซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1947 ทำหน้าที่อำนวยการควบคุมและประสานความร่วมมือระหว่างทบวงกองทัพบก ทบวงกองทัพเรือ และทบวงกองทัพอากาศ ทบวงทางการทหารทั้ง 3 เหล่านี้ ซึ่งอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของรัฐมนตรีทบวงที่เป็นพลเรือน จะขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเพียงผู้เดียวเท่านั้น ซึ่งรัฐมนตรีผู้นี้เป็นสมาชิกในคณะรัฐบาลของประธานาธิบดี เสนาธิการทหารของแต่ละเหล่าทัพจะให้คำแนะนำแก่รัฐมนตรีทบวงของตนและเสนาธิการของแต่ละเหล่าทัพพร้อมกับเสนาธิการทหารที่ให้คำแนะนำแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จะรวมกันเป็นคณะเสนาธิการร่วม ซึ่งถือว่าเป็นหน่วยงานที่ปรึกษาทางทหารสูงสุดในชาติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมยังได้รับคำแนะนำจากสภานโยบายกองทัพซึ่งประกอบด้วย รัฐมนตรีของแต่ละทบวง เสนาธิการร่วม และผู้อำนวยการวิจัยและวิศวกรรมกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและประธานเสนาธิการร่วม จะทำหน้าที่เป็นคณะที่ปรึกษาระดับสูงสุดของประธานาธิบดี ทางด้านนโยบายทางการทหารและการกลาโหม และเป็นสมาชิกของสภาความมั่นคงแห่งชาติอีกด้วย
ความสำคัญ กระทรวงกลาโหมรับผิดชอบทางด้าน (1) นโยบายทางการทหารแห่งชาติ(2) การป้องกันพลเรือน (3) การทำนุบำรุงและการปฏิบัติการของกองทัพ (4) การประสานความร่วมมือในโครงการทางทหารกับประเทศต่าง ๆ กว่า 40 ประเทศ (5) การธำรงฐานทัพภาคโพ้นทะเล (6) การวิจัย และ (7) การพัฒนา กระทรวงกลาโหมมีเจ้าหน้าที่ประจำอยู่กว่าหนึ่งล้านคน เป็นกระทรวงที่มีบุคลากรฝ่ายพลเรือนเป็นจำนวนเกือบครึ่งหนึ่งของเจ้าหน้าที่พลเรือนของรัฐบาลกลาง และเป็นกระทรวงที่ได้รับงบประมาณแผ่นดินกว่าครึ่งหนึ่งของงบประมาณแผ่นดินทั้งประเทศ ด้วยเหตุที่ความมั่นคงแห่งชาติเป็นเป้าหมายหลักของนโยบายต่างประเทศ ดังนั้นจึงเป็นการยากที่จะบอกถึงข้อแตกต่างระหว่างนโยบายต่างประเทศกับนโยบายทางทหารได้ ถึงแม้ว่าการสร้างเอกภาพทางการป้องกันประเทศจะเป็นวัตถุประสงค์หลักในการก่อตั้งกระทรวงกลาโหม แต่การแข่งขันระหว่างเหล่าทัพก็ยังคงมีอยู่ต่อไป ซึ่งมักจะเป็นการแข่งขันที่ได้รับการสนับสนุนจากสภาคองเกรสเสียด้วยซ้ำไป ยกตัวอย่างเช่น รัฐบัญญัติการปรับปรุงด้านกลาโหมปี ค.ศ. 1958 อำนวยให้ (1) แต่ละเหล่าทัพสามารถติดต่อกับสภาคองเกรสได้ (2) ไม่ให้ทำการเปลี่ยนแปลงในส่วนที่เกี่ยวกับกองกำลังหน่วยนาวิกโยธินหรือหน่วยป้องกันแห่งชาติเว้นเสียแต่จะได้รับความยินยอมจากสภาคองเกรส และ(3) ไม่ยอมให้ประธานาธิบดีมีอำนาจในการรวมกำลัง 3 เหล่าทัพหรือจัดตั้งระบบเสนาธิการทหารทั่วไป แต่ละเหล่าทัพ (1) ยังคงมีอิสระ (2) สามารถรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีของตน (3) สามารถแข่งขันเพื่อได้รับส่วนแบ่งในงบประมาณแผ่นดินทางด้านการทหาร และ (4) สามารถหาช่องทางควบคุมระบบอาวุธชนิดใหม่
กระทรวงของฝ่ายบริหารที่รับผิดชอบด้านความมั่นคงทางการทหารของสหรัฐอเมริกา กระทรวงกลาโหมซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1947 ทำหน้าที่อำนวยการควบคุมและประสานความร่วมมือระหว่างทบวงกองทัพบก ทบวงกองทัพเรือ และทบวงกองทัพอากาศ ทบวงทางการทหารทั้ง 3 เหล่านี้ ซึ่งอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของรัฐมนตรีทบวงที่เป็นพลเรือน จะขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเพียงผู้เดียวเท่านั้น ซึ่งรัฐมนตรีผู้นี้เป็นสมาชิกในคณะรัฐบาลของประธานาธิบดี เสนาธิการทหารของแต่ละเหล่าทัพจะให้คำแนะนำแก่รัฐมนตรีทบวงของตนและเสนาธิการของแต่ละเหล่าทัพพร้อมกับเสนาธิการทหารที่ให้คำแนะนำแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จะรวมกันเป็นคณะเสนาธิการร่วม ซึ่งถือว่าเป็นหน่วยงานที่ปรึกษาทางทหารสูงสุดในชาติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมยังได้รับคำแนะนำจากสภานโยบายกองทัพซึ่งประกอบด้วย รัฐมนตรีของแต่ละทบวง เสนาธิการร่วม และผู้อำนวยการวิจัยและวิศวกรรมกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและประธานเสนาธิการร่วม จะทำหน้าที่เป็นคณะที่ปรึกษาระดับสูงสุดของประธานาธิบดี ทางด้านนโยบายทางการทหารและการกลาโหม และเป็นสมาชิกของสภาความมั่นคงแห่งชาติอีกด้วย
ความสำคัญ กระทรวงกลาโหมรับผิดชอบทางด้าน (1) นโยบายทางการทหารแห่งชาติ(2) การป้องกันพลเรือน (3) การทำนุบำรุงและการปฏิบัติการของกองทัพ (4) การประสานความร่วมมือในโครงการทางทหารกับประเทศต่าง ๆ กว่า 40 ประเทศ (5) การธำรงฐานทัพภาคโพ้นทะเล (6) การวิจัย และ (7) การพัฒนา กระทรวงกลาโหมมีเจ้าหน้าที่ประจำอยู่กว่าหนึ่งล้านคน เป็นกระทรวงที่มีบุคลากรฝ่ายพลเรือนเป็นจำนวนเกือบครึ่งหนึ่งของเจ้าหน้าที่พลเรือนของรัฐบาลกลาง และเป็นกระทรวงที่ได้รับงบประมาณแผ่นดินกว่าครึ่งหนึ่งของงบประมาณแผ่นดินทั้งประเทศ ด้วยเหตุที่ความมั่นคงแห่งชาติเป็นเป้าหมายหลักของนโยบายต่างประเทศ ดังนั้นจึงเป็นการยากที่จะบอกถึงข้อแตกต่างระหว่างนโยบายต่างประเทศกับนโยบายทางทหารได้ ถึงแม้ว่าการสร้างเอกภาพทางการป้องกันประเทศจะเป็นวัตถุประสงค์หลักในการก่อตั้งกระทรวงกลาโหม แต่การแข่งขันระหว่างเหล่าทัพก็ยังคงมีอยู่ต่อไป ซึ่งมักจะเป็นการแข่งขันที่ได้รับการสนับสนุนจากสภาคองเกรสเสียด้วยซ้ำไป ยกตัวอย่างเช่น รัฐบัญญัติการปรับปรุงด้านกลาโหมปี ค.ศ. 1958 อำนวยให้ (1) แต่ละเหล่าทัพสามารถติดต่อกับสภาคองเกรสได้ (2) ไม่ให้ทำการเปลี่ยนแปลงในส่วนที่เกี่ยวกับกองกำลังหน่วยนาวิกโยธินหรือหน่วยป้องกันแห่งชาติเว้นเสียแต่จะได้รับความยินยอมจากสภาคองเกรส และ(3) ไม่ยอมให้ประธานาธิบดีมีอำนาจในการรวมกำลัง 3 เหล่าทัพหรือจัดตั้งระบบเสนาธิการทหารทั่วไป แต่ละเหล่าทัพ (1) ยังคงมีอิสระ (2) สามารถรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีของตน (3) สามารถแข่งขันเพื่อได้รับส่วนแบ่งในงบประมาณแผ่นดินทางด้านการทหาร และ (4) สามารถหาช่องทางควบคุมระบบอาวุธชนิดใหม่
Dollar Diplomacy
การทูตดอลลาร์
การใช้อำนาจของรัฐต่อประเทศอื่น เพื่อส่งเสริมผลประโยชน์ในการลงทุนที่ต่างประเทศของภาคเอกชนให้แก่พลเมืองของตน การทูตดอลลาร์เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับนโยบายต่างประเทศของสหรัฐ ฯ ในประเทศแถบละตินอเมริกา ในระหว่างการบริหารเป็นประธานาธิบดีของนายธีออดอร์ รูสเวสท์ นายวิเลียม โฮเวิร์ด ทัฟท์ และนายวูดโรว์ วิลสัน นโยบายการทูตดอลลาร์นี้ตั้งอยู่บนฐานของความคิดเห็นที่ว่า การลงทุนของคนอเมริกันในต่างประเทศจะเป็นประโยชน์ต่อภูมิภาคนั้น ๆ และแก่ผู้ลงทุนเอง และแนวความคิดที่ว่า การลงทุนในทางสร้างสรรจะเป็นไปได้ก็ต้องให้เกิดเสถียรภาพเสียก่อน นโยบายการทูตดอลลาร์จึงได้เรียกร้องให้สหรัฐอเมริกาเข้าแทรกแซงทางด้านการทหาร เมื่อเห็นว่าเป็นความจำเป็น เพื่อให้เกิดเสถียรภาพและเพื่อป้องกันการแทรกแซงจากต่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ใกล้เคียงกับคลองปานามา
ความสำคัญ การทูตดอลลาร์จะเกี่ยวข้องกับการเข้าแทรกแซงหลากหลายรูปแบบ อาทิ การใช้กำลังทหารและจัดตั้งดินแดนอารักขาทางการเงินในคิวบา สาธารณรัฐโดมินิกัน ไฮติ และนิการากัว นโยบายการทูตดอลลาร์นี้นำไปสู่การกล่าวหาว่าเป็น "ลัทธิจักรวรรดินิยมแยงกี้" และลัทธิจักรวรรดินิยมทางเศรษฐกิจ กับเป็นการสร้างความหวาดระแวงและความประสงค์ร้ายที่ประทับตรึงตราอยู่ยั่งยืนต่อ "ยักษ์ใหญ่ทางภาคเหนือ" (หมายถึงสหรัฐอเมริกา) ความเป็นศัตรูกันทีี่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ครั้งนั้นก็ยังมีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกากับละตินอเมริกา แม้ว่าจะมีความพยายามใช้นโยบายเพื่อนบ้านที่ดีเริ่มตั้งแต่สมัยที่ฮูเวอร์เป็นประธานาธิบดีเรื่อยมาจนกระทั่งถึงประธานาธิบดีคนต่อ ๆ มาทุกคนนับตั้งแต่ประธานาธิบดีแฟรงกลิน รูสเวลท์ก็ไม่ทำให้สถานการณ์ดีขึ้น ความพยายามที่จะสร้างความร่วมมือระดับพหุภาคีผ่านทางองค์การต่าง ๆ เช่น องค์การนานารัฐอเมริกา (โอเอเอส) และพันธมิตรเพื่อความก้าวหน้า เป็นต้น ก็มิได้ช่วยให้ยุติความกังวลเกี่ยวกับการแทรกแซงที่แสดงออกมาโดยหมู่รัฐต่าง ๆ ในละตินอเมริกา ดังเช่น วิกฤติการณ์ในกัวเตมาลา (ค.ศ. 1954) ความพยายามรุกรานเบย์ออฟพิกส์(อ่าวหมู)ของคิวบา (ค.ศ. 1961) การแทรกแซงฝ่ายเดียวของสหรัฐอเมริกาในวิกฤติการณ์โดมินิกัน (ค.ศ. 1965) และการรุกรานเกรนาดา (ค.ศ.1983)
การใช้อำนาจของรัฐต่อประเทศอื่น เพื่อส่งเสริมผลประโยชน์ในการลงทุนที่ต่างประเทศของภาคเอกชนให้แก่พลเมืองของตน การทูตดอลลาร์เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับนโยบายต่างประเทศของสหรัฐ ฯ ในประเทศแถบละตินอเมริกา ในระหว่างการบริหารเป็นประธานาธิบดีของนายธีออดอร์ รูสเวสท์ นายวิเลียม โฮเวิร์ด ทัฟท์ และนายวูดโรว์ วิลสัน นโยบายการทูตดอลลาร์นี้ตั้งอยู่บนฐานของความคิดเห็นที่ว่า การลงทุนของคนอเมริกันในต่างประเทศจะเป็นประโยชน์ต่อภูมิภาคนั้น ๆ และแก่ผู้ลงทุนเอง และแนวความคิดที่ว่า การลงทุนในทางสร้างสรรจะเป็นไปได้ก็ต้องให้เกิดเสถียรภาพเสียก่อน นโยบายการทูตดอลลาร์จึงได้เรียกร้องให้สหรัฐอเมริกาเข้าแทรกแซงทางด้านการทหาร เมื่อเห็นว่าเป็นความจำเป็น เพื่อให้เกิดเสถียรภาพและเพื่อป้องกันการแทรกแซงจากต่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ใกล้เคียงกับคลองปานามา
ความสำคัญ การทูตดอลลาร์จะเกี่ยวข้องกับการเข้าแทรกแซงหลากหลายรูปแบบ อาทิ การใช้กำลังทหารและจัดตั้งดินแดนอารักขาทางการเงินในคิวบา สาธารณรัฐโดมินิกัน ไฮติ และนิการากัว นโยบายการทูตดอลลาร์นี้นำไปสู่การกล่าวหาว่าเป็น "ลัทธิจักรวรรดินิยมแยงกี้" และลัทธิจักรวรรดินิยมทางเศรษฐกิจ กับเป็นการสร้างความหวาดระแวงและความประสงค์ร้ายที่ประทับตรึงตราอยู่ยั่งยืนต่อ "ยักษ์ใหญ่ทางภาคเหนือ" (หมายถึงสหรัฐอเมริกา) ความเป็นศัตรูกันทีี่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ครั้งนั้นก็ยังมีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกากับละตินอเมริกา แม้ว่าจะมีความพยายามใช้นโยบายเพื่อนบ้านที่ดีเริ่มตั้งแต่สมัยที่ฮูเวอร์เป็นประธานาธิบดีเรื่อยมาจนกระทั่งถึงประธานาธิบดีคนต่อ ๆ มาทุกคนนับตั้งแต่ประธานาธิบดีแฟรงกลิน รูสเวลท์ก็ไม่ทำให้สถานการณ์ดีขึ้น ความพยายามที่จะสร้างความร่วมมือระดับพหุภาคีผ่านทางองค์การต่าง ๆ เช่น องค์การนานารัฐอเมริกา (โอเอเอส) และพันธมิตรเพื่อความก้าวหน้า เป็นต้น ก็มิได้ช่วยให้ยุติความกังวลเกี่ยวกับการแทรกแซงที่แสดงออกมาโดยหมู่รัฐต่าง ๆ ในละตินอเมริกา ดังเช่น วิกฤติการณ์ในกัวเตมาลา (ค.ศ. 1954) ความพยายามรุกรานเบย์ออฟพิกส์(อ่าวหมู)ของคิวบา (ค.ศ. 1961) การแทรกแซงฝ่ายเดียวของสหรัฐอเมริกาในวิกฤติการณ์โดมินิกัน (ค.ศ. 1965) และการรุกรานเกรนาดา (ค.ศ.1983)
Executive Agreement
ข้อตกลงฝ่ายบริหาร
ข้อตกลงระหว่างประเทศที่บรรลุระหว่างประมุขรัฐ ในสหรัฐอเมริกาข้อตกลงฝ่ายบริหารไม่ต้องใช้กระบวนการของสนธิสัญญาแบบที่เป็นทางการ ซึ่งจะต้องให้วุฒิสภาให้ความยินยอมในสัตยบันที่ให้โดยประธานาธิบดีเสียก่อน ข้อตกลงฝ่ายบริหารมีหลายประเภทดังนี้ (1) ข้อตกลงที่ถูกออกแบบเพื่อให้ดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกำหนดของสนธิสัญญาที่ได้รับความเห็นชอบแล้ว ยกตัวอย่างเช่น ได้มีการออกข้อตกลงนับร้อยฉบับเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต้) ซึ่งเป็นแก่นของนโยบายของสหรัฐอเมริกาในยุโรปในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง (2) ข้อตกลงที่กระทำโดยประธานาธิบดีโดยที่สภาคองเกรสมอบอำนาจให้ ภายใต้รัฐบัญญัติการค้าต่างตอบแทนปี ค.ศ. 1934 และรัฐบัญญัติการขยายการค้าปี ค.ศ. 1962ประธานาธิบดีได้รับมอบอำนาจให้ทำการเจรจาการลดภาษีศุลกากรต่างตอบแทนกับรัฐบาลต่างประเทศได้ ข้อตกลงเลนด์ - ลีส ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองก็มีลักษณะเดียวกันนี้เหมือนกัน (3) ข้อตกลงที่กระทำโดยความเห็นชอบของสภาคองเกรสในภายหลัง ในปี ค.ศ. 1940 ก่อนที่สหรัฐอเมริกาจะเข้าสงครามโลกครั้งที่สองนั้นประธานาธิบดีแฟรงกิน รูสเวลท์ ได้นำเรือพิฆาตอายุกว่า 50 ปี ยกให้แก่นายกรัฐมนตรีวินสตัน เชอร์ชิลล์แห่งอังกฤษ โดยแลกกับการเช่าดินแดนของอังกฤษเพื่อสร้างฐานทัพอากาศหลายแห่งตามแนวโค้งจากเกาะนิวฟาวด์แลนด์ถึงทวีปอเมริกาใต้ สภาคองเกรสสามารถโต้แย้งข้อตกลงดังกล่าวได้ แต่กลับให้ความเห็นชอบโดยปริยายเมื่อได้จัดสรรงบประมาณให้สำหรับสร้างฐานทัพอากาศดังกล่าว(4)ข้อตกลงที่กระทำโดยประธานาธิบดี โดยอาศัยอำนาจของประธานาธิบดีในฐานะที่เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดและในฐานะผู้มีอำนาจทั่วไปเกี่ยวกับการวิเทศสัมพันธ์แห่งชาติ ตัวอย่างของข้อตกลงเหล่านี้ ได้เแก่ ข้อตกลงรัช - บาก็อตปี ค.ศ. 1817 ที่กำหนดให้อังกฤษและสหรัฐอเมริกาจำกัดกำลังทางเรือในเกรตเล็กส์ ข้อตกลงยัลตา และข้อตกลงปอตสดัมปี ค.ศ.1945 ว่าด้วยเงื่อนไขในการยุติสงครามโลกครั้งที่สอง ข้อแตกต่างทางกฎหมายที่สำคัญระหว่างสนธิสัญญากับข้อตกลงฝ่ายบริหาร ก็คือ ข้อตกลงฝ่ายบริหารไม่สามารถเปลี่ยนแปลงกฎหมายภายในที่มีอยู่เดิมได้ แต่จะต้องดำเนินการภายใต้กฎหมายที่มีอยู่เดิมนั้น ส่วนสนธิสัญญามีนัยตรงกันข้าม คือ เป็นกฎหมายสูงสุดแห่งดินแดนภายใต้บทบัญญัติของมาตรา 6 แห่งรัฐธรรมนูญสหรัฐฯ และสนธิสัญญาสามารถเข้าแทนที่กฎหมายหรือสนธิสัญญาเดิมได้ ถึงแม้ว่ารัฐธรรมนูญจะไม่ได้ระบุถึงข้อตกลงฝ่ายบริหารแต่ได้มีการใช้ข้อตกลงฝ่ายบริหารเหล่านี้มานานแล้ว นับตั้งแต่ข้อตกลงฝ่ายบริหารฉบับแรกที่บรรลุกันซึ่งมีสาระว่าด้วยเรื่องการส่งไปรษณีย์ต่างตอบแทนกันในปี ค.ศ. 1792 ในช่วงการบริหารของประธานาธิบดียอร์จ วอชิงตันเป็นต้นมา เมื่อไม่กี่ปีมานี้ข้อตกลงฝ่ายบริหารมีจำนวนมากกว่าจำนวนสนธิสัญญาเสียอีก อย่างไรก็ตามในสนธิสัญญาหรือกฎหมายการค้าหนึ่งฉบับ อาจจะต้องมีการเจรจาทำข้อตกลงจำนวนหนึ่ง เพื่อใช้ดำเนินการสนธิสัญญาหรือกฎหมายการค้านั้น ๆ เพราะฉะนั้นจึงเป็นการสมควรเป็นอย่างยิ่งที่จะนำความถี่ของข้อตกลงของฝ่ายบริหารมาเปรียบเทียบกับความถี่ของสนธิสัญญา ทั้งนี้โดยไม่ต้องวิเคราะห์ถึงเนื้อสาระของแต่ละอย่าง
ความสำคัญ สาธารณชนได้พากันวิพากษ์วิจารณ์ข้อตกลงฝ่ายบริหาร โดยอ้างถึงข้อสมมติฐานว่าประธานาธิบดีต้องการจำกัดอำนาจของวุฒิสภาในการคอยตรวจสอบประธานาธิบดีในการดำเนินกิจการต่างประเทศ ข้อกล่าวหานี้อาจจะจริงหรือเท็จเมื่อพิจารณาจากข้อตกลงเพียงไม่กี่ฉบับที่ประธานาธิบดีทำโดยที่ไม่มีสภาคองเกรสเข้ามามีส่วนร่วมด้วย แต่ก็ต้องไม่ลืมว่าในกรณีที่เกิดกรณีฉุกเฉินระหว่างประเทศที่มีความเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของชาตินั้น หากเป็นช่วงที่สาธารณชนไม่ได้ให้ความสนใจในกิจการสาธารณะและอาจจะก่อให้เกิดวิกฤติการณ์ขึ้นมาได้นั้น การมีข้อตกลงที่ทำด้วยอำนาจหน้าที่ของประธานาธิบดีจะมีข้อดี คือ สามารถทำได้โดยรวดเร็ว และสามารถรักษาความลับไว้ได้ การมีข้อตกลงฝ่ายบริหารไว้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งนอกเหนือจากกระบวนการทางสนธิสัญญาสำหรับใช้ตกลงระหว่างประเทศนั้น ก็ยังมีคุณูปการช่วยให้วุฒิสภายอมรับสนธิสัญญาบางฉบับได้ รัฐบัญญติเคสแอ็คท์ปี ค.ศ.1972 กำหนดให้ประธานาธิบดีต้องรายงานเกี่ยวกับข้องตกลงทั้งปวงให้สภาคองเกรสได้ทราบภายใน 60 วัน
ข้อตกลงระหว่างประเทศที่บรรลุระหว่างประมุขรัฐ ในสหรัฐอเมริกาข้อตกลงฝ่ายบริหารไม่ต้องใช้กระบวนการของสนธิสัญญาแบบที่เป็นทางการ ซึ่งจะต้องให้วุฒิสภาให้ความยินยอมในสัตยบันที่ให้โดยประธานาธิบดีเสียก่อน ข้อตกลงฝ่ายบริหารมีหลายประเภทดังนี้ (1) ข้อตกลงที่ถูกออกแบบเพื่อให้ดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกำหนดของสนธิสัญญาที่ได้รับความเห็นชอบแล้ว ยกตัวอย่างเช่น ได้มีการออกข้อตกลงนับร้อยฉบับเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต้) ซึ่งเป็นแก่นของนโยบายของสหรัฐอเมริกาในยุโรปในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง (2) ข้อตกลงที่กระทำโดยประธานาธิบดีโดยที่สภาคองเกรสมอบอำนาจให้ ภายใต้รัฐบัญญัติการค้าต่างตอบแทนปี ค.ศ. 1934 และรัฐบัญญัติการขยายการค้าปี ค.ศ. 1962ประธานาธิบดีได้รับมอบอำนาจให้ทำการเจรจาการลดภาษีศุลกากรต่างตอบแทนกับรัฐบาลต่างประเทศได้ ข้อตกลงเลนด์ - ลีส ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองก็มีลักษณะเดียวกันนี้เหมือนกัน (3) ข้อตกลงที่กระทำโดยความเห็นชอบของสภาคองเกรสในภายหลัง ในปี ค.ศ. 1940 ก่อนที่สหรัฐอเมริกาจะเข้าสงครามโลกครั้งที่สองนั้นประธานาธิบดีแฟรงกิน รูสเวลท์ ได้นำเรือพิฆาตอายุกว่า 50 ปี ยกให้แก่นายกรัฐมนตรีวินสตัน เชอร์ชิลล์แห่งอังกฤษ โดยแลกกับการเช่าดินแดนของอังกฤษเพื่อสร้างฐานทัพอากาศหลายแห่งตามแนวโค้งจากเกาะนิวฟาวด์แลนด์ถึงทวีปอเมริกาใต้ สภาคองเกรสสามารถโต้แย้งข้อตกลงดังกล่าวได้ แต่กลับให้ความเห็นชอบโดยปริยายเมื่อได้จัดสรรงบประมาณให้สำหรับสร้างฐานทัพอากาศดังกล่าว(4)ข้อตกลงที่กระทำโดยประธานาธิบดี โดยอาศัยอำนาจของประธานาธิบดีในฐานะที่เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดและในฐานะผู้มีอำนาจทั่วไปเกี่ยวกับการวิเทศสัมพันธ์แห่งชาติ ตัวอย่างของข้อตกลงเหล่านี้ ได้เแก่ ข้อตกลงรัช - บาก็อตปี ค.ศ. 1817 ที่กำหนดให้อังกฤษและสหรัฐอเมริกาจำกัดกำลังทางเรือในเกรตเล็กส์ ข้อตกลงยัลตา และข้อตกลงปอตสดัมปี ค.ศ.1945 ว่าด้วยเงื่อนไขในการยุติสงครามโลกครั้งที่สอง ข้อแตกต่างทางกฎหมายที่สำคัญระหว่างสนธิสัญญากับข้อตกลงฝ่ายบริหาร ก็คือ ข้อตกลงฝ่ายบริหารไม่สามารถเปลี่ยนแปลงกฎหมายภายในที่มีอยู่เดิมได้ แต่จะต้องดำเนินการภายใต้กฎหมายที่มีอยู่เดิมนั้น ส่วนสนธิสัญญามีนัยตรงกันข้าม คือ เป็นกฎหมายสูงสุดแห่งดินแดนภายใต้บทบัญญัติของมาตรา 6 แห่งรัฐธรรมนูญสหรัฐฯ และสนธิสัญญาสามารถเข้าแทนที่กฎหมายหรือสนธิสัญญาเดิมได้ ถึงแม้ว่ารัฐธรรมนูญจะไม่ได้ระบุถึงข้อตกลงฝ่ายบริหารแต่ได้มีการใช้ข้อตกลงฝ่ายบริหารเหล่านี้มานานแล้ว นับตั้งแต่ข้อตกลงฝ่ายบริหารฉบับแรกที่บรรลุกันซึ่งมีสาระว่าด้วยเรื่องการส่งไปรษณีย์ต่างตอบแทนกันในปี ค.ศ. 1792 ในช่วงการบริหารของประธานาธิบดียอร์จ วอชิงตันเป็นต้นมา เมื่อไม่กี่ปีมานี้ข้อตกลงฝ่ายบริหารมีจำนวนมากกว่าจำนวนสนธิสัญญาเสียอีก อย่างไรก็ตามในสนธิสัญญาหรือกฎหมายการค้าหนึ่งฉบับ อาจจะต้องมีการเจรจาทำข้อตกลงจำนวนหนึ่ง เพื่อใช้ดำเนินการสนธิสัญญาหรือกฎหมายการค้านั้น ๆ เพราะฉะนั้นจึงเป็นการสมควรเป็นอย่างยิ่งที่จะนำความถี่ของข้อตกลงของฝ่ายบริหารมาเปรียบเทียบกับความถี่ของสนธิสัญญา ทั้งนี้โดยไม่ต้องวิเคราะห์ถึงเนื้อสาระของแต่ละอย่าง
ความสำคัญ สาธารณชนได้พากันวิพากษ์วิจารณ์ข้อตกลงฝ่ายบริหาร โดยอ้างถึงข้อสมมติฐานว่าประธานาธิบดีต้องการจำกัดอำนาจของวุฒิสภาในการคอยตรวจสอบประธานาธิบดีในการดำเนินกิจการต่างประเทศ ข้อกล่าวหานี้อาจจะจริงหรือเท็จเมื่อพิจารณาจากข้อตกลงเพียงไม่กี่ฉบับที่ประธานาธิบดีทำโดยที่ไม่มีสภาคองเกรสเข้ามามีส่วนร่วมด้วย แต่ก็ต้องไม่ลืมว่าในกรณีที่เกิดกรณีฉุกเฉินระหว่างประเทศที่มีความเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของชาตินั้น หากเป็นช่วงที่สาธารณชนไม่ได้ให้ความสนใจในกิจการสาธารณะและอาจจะก่อให้เกิดวิกฤติการณ์ขึ้นมาได้นั้น การมีข้อตกลงที่ทำด้วยอำนาจหน้าที่ของประธานาธิบดีจะมีข้อดี คือ สามารถทำได้โดยรวดเร็ว และสามารถรักษาความลับไว้ได้ การมีข้อตกลงฝ่ายบริหารไว้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งนอกเหนือจากกระบวนการทางสนธิสัญญาสำหรับใช้ตกลงระหว่างประเทศนั้น ก็ยังมีคุณูปการช่วยให้วุฒิสภายอมรับสนธิสัญญาบางฉบับได้ รัฐบัญญติเคสแอ็คท์ปี ค.ศ.1972 กำหนดให้ประธานาธิบดีต้องรายงานเกี่ยวกับข้องตกลงทั้งปวงให้สภาคองเกรสได้ทราบภายใน 60 วัน
Executive Office of the President
สำนักฝ่ายบริหารของประธานาธิบดี
คณะหน่วยงานที่ปรึกษาที่รับผิดชอบโดยตรงต่อประธานาธิบดี ซึ่งก่อตั้งขึ้นมาเพื่อให้คำแนะนำและช่วยเหลือประธานาธิบดี ในการดำเนินงานในหน้าที่ฝ่ายบริหารที่มีขอบข่ายกว้างขวางมาก หน่วยงานภายในสำนักบริหารของประธานาธิบดีมีอยู่หลากหลายนับตั้งแต่ที่ได้จัดตั้งที่ทำการ ฯ โดยคำสั่งฝ่ายบริหารภายใต้รัฐบัญญัติการจัดหน่วยงานรัฐบาลใหม่ปี ค.ศ. 1939 หน่วยงานและปีที่จัดตั้งมีดังนี้ (1) สำนักทำเนียบขาว (1939) (2) สำนักการจัดการและงบประมาณ (โอเอ็มบี) (1921) (3) สำนักพัฒนานโยบาย (1970) (4) สภาความมั่นคงแห่งชาติ (เอ็นเอสซี) (1947) (5) สภาที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจ (ซีอีเอ) (1946) (6) สำนักนโยบายทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (1959) (7) สภาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (1969) (8) สำนักบริหาร (1979) และ(9) สำนักผู้แทนการค้าสหรัฐ ฯ (1974)
ความสำคัญ สำนักฝ่ายบริหารของประธานาธิบดีแต่แรกก่อตั้งขึ้นมาเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ประธานาธิบดีในด้านกิจการภายใน แต่ในปัจจุบันสำนักฝ่ายบริหารฯนี้เป็นเครื่องสะท้อนให้เห็นหน้าที่ของประธานาธิบดีว่าเกี่ยวข้องกับนโยบายต่างประเทศและเรื่องที่เกี่ยวข้องที่เท่าหรือมากกว่าฝ่ายอื่นๆอย่างไรบ้าง ก่อนที่จะได้ก่อตั้งสำนักฝ่ายบริหารนี้ขึ้นมา ประธานาธิบดีได้อาศัยหน่วยงานเชิงปฏิบัติการที่สำคัญต่างๆให้มาทำหน้าที่ (1) เสนอรายงาน (2) ให้คำแนะนำวางแผน และ (3) ให้ความช่วยเหลือภารกิจประจำวัน ปัจจุบันสำนักฝ่ายบริหารของประธานาธิบดีเป็นสถาบันถาวรสำหรับตำแหน่งประธานาธิบดี คณะ "ทีมงาน" ของประธานาธิบดีจากสำนักฝ่ายบริหารประธานาธิบดีนี้มีกำลังพลประมาณ 2,000 คน บุคคลเหล่านี้จะให้ความช่วยเหลือประธานาธิบดีในการกำหนดและดำเนินนโยบายกว้าง ๆ ในทุก ๆ เรื่องที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของฝ่ายบริหาร
คณะหน่วยงานที่ปรึกษาที่รับผิดชอบโดยตรงต่อประธานาธิบดี ซึ่งก่อตั้งขึ้นมาเพื่อให้คำแนะนำและช่วยเหลือประธานาธิบดี ในการดำเนินงานในหน้าที่ฝ่ายบริหารที่มีขอบข่ายกว้างขวางมาก หน่วยงานภายในสำนักบริหารของประธานาธิบดีมีอยู่หลากหลายนับตั้งแต่ที่ได้จัดตั้งที่ทำการ ฯ โดยคำสั่งฝ่ายบริหารภายใต้รัฐบัญญัติการจัดหน่วยงานรัฐบาลใหม่ปี ค.ศ. 1939 หน่วยงานและปีที่จัดตั้งมีดังนี้ (1) สำนักทำเนียบขาว (1939) (2) สำนักการจัดการและงบประมาณ (โอเอ็มบี) (1921) (3) สำนักพัฒนานโยบาย (1970) (4) สภาความมั่นคงแห่งชาติ (เอ็นเอสซี) (1947) (5) สภาที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจ (ซีอีเอ) (1946) (6) สำนักนโยบายทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (1959) (7) สภาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (1969) (8) สำนักบริหาร (1979) และ(9) สำนักผู้แทนการค้าสหรัฐ ฯ (1974)
ความสำคัญ สำนักฝ่ายบริหารของประธานาธิบดีแต่แรกก่อตั้งขึ้นมาเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ประธานาธิบดีในด้านกิจการภายใน แต่ในปัจจุบันสำนักฝ่ายบริหารฯนี้เป็นเครื่องสะท้อนให้เห็นหน้าที่ของประธานาธิบดีว่าเกี่ยวข้องกับนโยบายต่างประเทศและเรื่องที่เกี่ยวข้องที่เท่าหรือมากกว่าฝ่ายอื่นๆอย่างไรบ้าง ก่อนที่จะได้ก่อตั้งสำนักฝ่ายบริหารนี้ขึ้นมา ประธานาธิบดีได้อาศัยหน่วยงานเชิงปฏิบัติการที่สำคัญต่างๆให้มาทำหน้าที่ (1) เสนอรายงาน (2) ให้คำแนะนำวางแผน และ (3) ให้ความช่วยเหลือภารกิจประจำวัน ปัจจุบันสำนักฝ่ายบริหารของประธานาธิบดีเป็นสถาบันถาวรสำหรับตำแหน่งประธานาธิบดี คณะ "ทีมงาน" ของประธานาธิบดีจากสำนักฝ่ายบริหารประธานาธิบดีนี้มีกำลังพลประมาณ 2,000 คน บุคคลเหล่านี้จะให้ความช่วยเหลือประธานาธิบดีในการกำหนดและดำเนินนโยบายกว้าง ๆ ในทุก ๆ เรื่องที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของฝ่ายบริหาร
Food for Peace Program
โครงการอาหารเพื่อสันติภาพ
การแจกจ่ายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของสหรัฐ ฯ เพื่อปรับปรุงความสัมพันธ์ต่างประเทศของสหรัฐ ฯ และเพื่อส่งเสริมการอุปโภคและบริโภคโภคภัณฑ์ทางการเกษตรในต่างประเทศ โครงการอาหารเพื่อสันติภาพ (หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อาหารเพื่อเสรีภาพ) ได้รับการจัดตั้งขึ้นมาโดยข้อกำหนดของกฎหมายพับลิกลอว์ 480 เมื่อปี ค.ศ. 1954
ความสำคัญ โครงการอาหารเพื่อสันติภาพได้ให้การรับรองว่า มีประชากรอยู่ล้นโลก อาหารจึงมีความสำคัญในการเมืองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น ภายใต้โครงการอาหารเพื่อสันติภาพนี้ ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรซึ่งมีอยู่ล้นในตลาดปกตินั้นจะถูกนำไปขายเป็นสินค้าผ่อนส่งที่ผ่อนจ่ายเป็นเงินสกุลดอลลาร์หรือเงินสกุลท้องถิ่น ซึ่งสามารถนำเงินที่ขายได้นี้มาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในท้องถิ่นนั้น ๆ เพื่อเป็นการส่งเสริมนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ นอกจากนี้แล้วรัฐบัญญัติดังกล่าวยังได้ให้อำนาจแก่ประธานาธิบดีให้สามารถให้ความช่วยเหลือฉุกเฉินแก่ประชาชนในดินแดนที่เกิดทุพภิกขภัยและให้ความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาทุกข์พิเศษอื่น ๆ ได้ การช่วยเหลือดังกล่าวอาจเป็นการมอบให้แก่ชาติที่เป็นมิตรกับสหรัฐอเมริกาโดยตรง หรืออาจจะเป็นการมอบให้แก่ประชาชนที่เป็นมิตรกับสหรัฐอเมริกาโดยไม่คำนึงถึงว่ารัฐบาลของประชาชนเหล่านั้นจะเป็นมิตรกับสหรัฐอเมริกาหรือไม่ก็ได้
การแจกจ่ายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของสหรัฐ ฯ เพื่อปรับปรุงความสัมพันธ์ต่างประเทศของสหรัฐ ฯ และเพื่อส่งเสริมการอุปโภคและบริโภคโภคภัณฑ์ทางการเกษตรในต่างประเทศ โครงการอาหารเพื่อสันติภาพ (หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อาหารเพื่อเสรีภาพ) ได้รับการจัดตั้งขึ้นมาโดยข้อกำหนดของกฎหมายพับลิกลอว์ 480 เมื่อปี ค.ศ. 1954
ความสำคัญ โครงการอาหารเพื่อสันติภาพได้ให้การรับรองว่า มีประชากรอยู่ล้นโลก อาหารจึงมีความสำคัญในการเมืองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น ภายใต้โครงการอาหารเพื่อสันติภาพนี้ ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรซึ่งมีอยู่ล้นในตลาดปกตินั้นจะถูกนำไปขายเป็นสินค้าผ่อนส่งที่ผ่อนจ่ายเป็นเงินสกุลดอลลาร์หรือเงินสกุลท้องถิ่น ซึ่งสามารถนำเงินที่ขายได้นี้มาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในท้องถิ่นนั้น ๆ เพื่อเป็นการส่งเสริมนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ นอกจากนี้แล้วรัฐบัญญัติดังกล่าวยังได้ให้อำนาจแก่ประธานาธิบดีให้สามารถให้ความช่วยเหลือฉุกเฉินแก่ประชาชนในดินแดนที่เกิดทุพภิกขภัยและให้ความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาทุกข์พิเศษอื่น ๆ ได้ การช่วยเหลือดังกล่าวอาจเป็นการมอบให้แก่ชาติที่เป็นมิตรกับสหรัฐอเมริกาโดยตรง หรืออาจจะเป็นการมอบให้แก่ประชาชนที่เป็นมิตรกับสหรัฐอเมริกาโดยไม่คำนึงถึงว่ารัฐบาลของประชาชนเหล่านั้นจะเป็นมิตรกับสหรัฐอเมริกาหรือไม่ก็ได้
Foreign Aid
การช่วยเหลือต่างประเทศ
ความช่วยเหลือทางด้านการทหาร ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคมที่สหรัฐอเมริกามอบให้แก่ต่างประเทศ ชื่ือของโครงการช่วยเหลิือต่างประเทศและพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่ได้รับความช่วยเหลือนั้น จะมีการผันแปรเรื่อยไปนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับปัญหาที่เกี่ยวข้องและลักษณะของผลประโยชน์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกาเป็นสำคัญ ระหว่างปี ค.ศ. 1948 -1952 การช่วยเหลือต่างประเทศมุ่งไปที่ให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจแก่ยุโรปตะวันตกเป็นการใหญ่ในแผนมาร์แชลล์ ระหว่างปี ค.ศ. 1952 - 1959 เน้นการช่วยเหลือต่างประเทศโดยมุ่งไปทางการทหารเป็นหลัก เนื่องจากการเกิดสงครามเกาหลีและสหรัฐฯมีนโยบายสกัดกั้นลัทธิการขยายตัวของสหภาพโซเวียตและของจีน นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1959 เป็นต้นมา การช่วยเหลือต่างประเทศเป็นแบบผสมระหว่างเศรษฐกิจกับการทหาร ซึ่งกำหนดโดยผลประโยชน์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา และปัญหาท้องถิ่นตามภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก การเน้นโครงการการช่วยเหลือต่างประเทศ อันเป็นผลเนื่องมาจากถูกวิพากษ์วิจารณ์ทั้งจากสารธารณชนและจากสภาคองเกรส ก็ได้ถูกปรับเปลี่ยนไปจากเดิม คือจากที่เคยให้ความช่วยเหลือแบบให้เปล่าก็เปลี่ยนเป็นการให้เงินกู้ระยะยาวโดยมีดอกเบี้ยต่ำแทน นอกจากนี้แล้วก็ได้มีการพัฒนาบรรทัดฐานการให้ความช่วยเหลือต่างประเทศให้เป็นระบบมากยิ่งขึ้น ก็จึงได้มีการเลือกเฟ้นในเรื่องการให้การช่วยเหลือต่างประเทศของสหรัฐอเมริกามากยิ่งขึ้น
ความสำคัญ อำนาจทางเศรษฐกิจอันกว้างใหญ่ไพศาลของสหรัฐอเมริกา ก็คือ ข้อเท็จจริงทางการเมืองแห่งชีวิตระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา และโครงการช่วยเลือต่างประเทศอันเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งของนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา ก็ได้เป็นพาหะอย่างหนึ่งถูกนำมาใช้เพื่อแสดงออกซึ่งอำนาจนั้น การช่วยเหลือต่างประเทศสามารถนำไปใช้ด้วยเหตุผลที่หลากหลาย คือ (1) เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว (2) เพื่อผลประโยชน์ทางด้านมนุษยธรรม (3) เพื่อผลประโยชน์ระยะสั้น และ(4) เพื่อฉกฉวยโอกาสเพื่อผลในระยะยาวที่มีลักษณะแสดงถึงความมีวิสัยทัศน์ แต่การช่วยเหลือต่างประเทศ ของสหรัฐมีวัตถุประสงค์หลักแต่แรก ก็คือ (1) เพื่อเป็นการซื้อเวลาไม่ให้ฝ่ายคอมมิวนิสต์ใช้ความรุนแรงทำการเปลี่ยนแปลงโลก และ (2) เพื่อจัดระเบียบโลกเสียใหม่ให้เป็นโลกที่อิงอาศัยกระบวนการระหว่างประเทศที่ยึดหลักสันติวิธี หลังจากที่ดำเนินโครงการช่วยเหลือต่างประเทศมาหลายปี การสนับสนุนของฝ่ายบริหาร ของฝ่ายนิติบัญญัติ และของฝ่ายสาธารณชนที่ให้ต่อการช่วยเหลือนี้ได้จางหายไปเรื่อย ๆ ถึงแม้ว่าช่องว่างของรายได้รายหัวระหว่างประชาชนของประเทศร่ำรวยกับของประเทศยากจนจะถ่างกว้างมากยิ่งขึ้นนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1949 และการช่วยเหลือต่างประเทศนี้จะช่วยลดช่องว่างนี้ได้ แต่ปรากฎว่าสัดส่วนของงบประมาณแผ่นดินของสหรัฐอเมริกาที่จัดสรรให้แก่โครงการช่วยเหลือต่างประเทศกลับหดเล็กลง
ความช่วยเหลือทางด้านการทหาร ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคมที่สหรัฐอเมริกามอบให้แก่ต่างประเทศ ชื่ือของโครงการช่วยเหลิือต่างประเทศและพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่ได้รับความช่วยเหลือนั้น จะมีการผันแปรเรื่อยไปนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับปัญหาที่เกี่ยวข้องและลักษณะของผลประโยชน์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกาเป็นสำคัญ ระหว่างปี ค.ศ. 1948 -1952 การช่วยเหลือต่างประเทศมุ่งไปที่ให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจแก่ยุโรปตะวันตกเป็นการใหญ่ในแผนมาร์แชลล์ ระหว่างปี ค.ศ. 1952 - 1959 เน้นการช่วยเหลือต่างประเทศโดยมุ่งไปทางการทหารเป็นหลัก เนื่องจากการเกิดสงครามเกาหลีและสหรัฐฯมีนโยบายสกัดกั้นลัทธิการขยายตัวของสหภาพโซเวียตและของจีน นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1959 เป็นต้นมา การช่วยเหลือต่างประเทศเป็นแบบผสมระหว่างเศรษฐกิจกับการทหาร ซึ่งกำหนดโดยผลประโยชน์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา และปัญหาท้องถิ่นตามภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก การเน้นโครงการการช่วยเหลือต่างประเทศ อันเป็นผลเนื่องมาจากถูกวิพากษ์วิจารณ์ทั้งจากสารธารณชนและจากสภาคองเกรส ก็ได้ถูกปรับเปลี่ยนไปจากเดิม คือจากที่เคยให้ความช่วยเหลือแบบให้เปล่าก็เปลี่ยนเป็นการให้เงินกู้ระยะยาวโดยมีดอกเบี้ยต่ำแทน นอกจากนี้แล้วก็ได้มีการพัฒนาบรรทัดฐานการให้ความช่วยเหลือต่างประเทศให้เป็นระบบมากยิ่งขึ้น ก็จึงได้มีการเลือกเฟ้นในเรื่องการให้การช่วยเหลือต่างประเทศของสหรัฐอเมริกามากยิ่งขึ้น
ความสำคัญ อำนาจทางเศรษฐกิจอันกว้างใหญ่ไพศาลของสหรัฐอเมริกา ก็คือ ข้อเท็จจริงทางการเมืองแห่งชีวิตระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา และโครงการช่วยเลือต่างประเทศอันเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งของนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา ก็ได้เป็นพาหะอย่างหนึ่งถูกนำมาใช้เพื่อแสดงออกซึ่งอำนาจนั้น การช่วยเหลือต่างประเทศสามารถนำไปใช้ด้วยเหตุผลที่หลากหลาย คือ (1) เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว (2) เพื่อผลประโยชน์ทางด้านมนุษยธรรม (3) เพื่อผลประโยชน์ระยะสั้น และ(4) เพื่อฉกฉวยโอกาสเพื่อผลในระยะยาวที่มีลักษณะแสดงถึงความมีวิสัยทัศน์ แต่การช่วยเหลือต่างประเทศ ของสหรัฐมีวัตถุประสงค์หลักแต่แรก ก็คือ (1) เพื่อเป็นการซื้อเวลาไม่ให้ฝ่ายคอมมิวนิสต์ใช้ความรุนแรงทำการเปลี่ยนแปลงโลก และ (2) เพื่อจัดระเบียบโลกเสียใหม่ให้เป็นโลกที่อิงอาศัยกระบวนการระหว่างประเทศที่ยึดหลักสันติวิธี หลังจากที่ดำเนินโครงการช่วยเหลือต่างประเทศมาหลายปี การสนับสนุนของฝ่ายบริหาร ของฝ่ายนิติบัญญัติ และของฝ่ายสาธารณชนที่ให้ต่อการช่วยเหลือนี้ได้จางหายไปเรื่อย ๆ ถึงแม้ว่าช่องว่างของรายได้รายหัวระหว่างประชาชนของประเทศร่ำรวยกับของประเทศยากจนจะถ่างกว้างมากยิ่งขึ้นนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1949 และการช่วยเหลือต่างประเทศนี้จะช่วยลดช่องว่างนี้ได้ แต่ปรากฎว่าสัดส่วนของงบประมาณแผ่นดินของสหรัฐอเมริกาที่จัดสรรให้แก่โครงการช่วยเหลือต่างประเทศกลับหดเล็กลง
Foreign Service
รัฐการต่างประเทศ
สถาบันทางการทูตและทางการกงสุลของสหรัฐอเมริกา รัฐการต่างประเทศนี้ได้ก่อตั้งขึ้นมาโดย รัฐบัญญัติโรเจอร์สแอ็คส์ปี ค.ศ. 1924 และได้รับการสนับสนุนจากรัฐบัญญัติเกี่ยวกับกิจการต่างประเทศอีกหลายฉบับ ผู้ที่จะเข้ามามีอาชีพเป็นข้ารัฐการต่างประเทศนี้ได้ต่างต้องผ่านการสอบแข่งขันที่เปิดรับสมัครคนทั่วทั้งประเทศ และความก้าวหน้าในอาชีพนี้อิงระบบคุณธรรมเป็นหลัก บุคลากรของรัฐการต่างประเทศแบ่งออกเป็น 5 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้ (1) ชิฟออฟมิชชั่น (ซีเอ็ม) อาจเป็นข้ารัฐการประจำอาวุโส หรือข้ารัฐการฝ่ายการเมือง ซึ่งทำหน้าที่เป็นเอกอัครราชทูตหรือหัวหน้าคณะทูตพิเศษประจำประเทศหรือประจำองค์การต่าง ๆ เช่น สหประชาชาติ เป็นต้น (2) ฟอเรน เซอร์วิส ออฟฟิสเซอร์ (เอฟเอสโอ) คือ เจ้าหน้าที่ทางการทูตหรือทางการกงสุลระดับต่าง ๆ (3) ฟอเรน เซอร์วิส รีเสิร์ฟ ออฟฟิสเซอร์ (เอฟเอสอาร์) คือ ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ชำนาญการทางเทคนิค เช่น ผู้ช่วยทูตฝ่ายพาณิชย์ เป็นต้น ซึ่งจะมาทำหน้าที่เป็นระยะเวลาไม่มีกำหนดจนถึง 5 ปี ตามแต่รัฐมนตรีว่าการต่างประเทศจะเห็นสมควร (4) ฟอเรน เซอร์วิส สตาฟฟ์ (เอฟเอสเอส) ได้แก่ ผู้เดินสารทางการทูต เลขานุการ และคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารสถานทูตฝ่ายต่าง ๆ อาทิ เจ้าหน้าที่ฝ่ายจ่ายเอกสาร เจ้าหน้าที่ฝ่ายงบประมาณ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดเก็บเอกสารการสื่อสาร (5) ฟอเรน เซอร์วิส โลคัล เอ็มพลอยยี (เอฟเอสแอล) ได้แก่ บุคคลที่ไม่ได้เป็นพลเมืองของสหรัฐหลายพันคนที่จ้างไว้ทำงานในตำแหน่งของข้ารัฐการต่างประเทศทั่วโลกให้ทำหน้าที่ต่าง ๆ นับตั้งแต่ผู้แปลเอกสารจนกระทั่งถึงเป็นยามรักษาการณ์
ความสำคัญ รัฐการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการต่างประเทศนั้น มีหน้าที่รับผิดชอบด้านการดำเนินความสัมพันธ์ประจำวัน ระหว่างสหรัฐอเมริกากับประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก หน้าที่ของรัฐการต่างประเทศมีดังนี้ (1) ทำให้นโยบายต่างประเทศของสหรัฐ ฯ บรรลุถึงวัตถุประสงค์ (2) คุ้มครองพลเมืองและผลประโยชน์ของสหรัฐ ฯ ในต่างประเทศ (3) รวบรวมและตีค่าข่าวสารสารสนเทศ(4) เจรจา และ(5) จัดคณะผู้แทนไปประจำตามองค์การระดับพหุภาคีและองค์การระดับภูมิภาค เช่น สหประชาชาติ และองค์การนานารัฐในทวีปอเมริกา (โอเอเอส)
สถาบันทางการทูตและทางการกงสุลของสหรัฐอเมริกา รัฐการต่างประเทศนี้ได้ก่อตั้งขึ้นมาโดย รัฐบัญญัติโรเจอร์สแอ็คส์ปี ค.ศ. 1924 และได้รับการสนับสนุนจากรัฐบัญญัติเกี่ยวกับกิจการต่างประเทศอีกหลายฉบับ ผู้ที่จะเข้ามามีอาชีพเป็นข้ารัฐการต่างประเทศนี้ได้ต่างต้องผ่านการสอบแข่งขันที่เปิดรับสมัครคนทั่วทั้งประเทศ และความก้าวหน้าในอาชีพนี้อิงระบบคุณธรรมเป็นหลัก บุคลากรของรัฐการต่างประเทศแบ่งออกเป็น 5 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้ (1) ชิฟออฟมิชชั่น (ซีเอ็ม) อาจเป็นข้ารัฐการประจำอาวุโส หรือข้ารัฐการฝ่ายการเมือง ซึ่งทำหน้าที่เป็นเอกอัครราชทูตหรือหัวหน้าคณะทูตพิเศษประจำประเทศหรือประจำองค์การต่าง ๆ เช่น สหประชาชาติ เป็นต้น (2) ฟอเรน เซอร์วิส ออฟฟิสเซอร์ (เอฟเอสโอ) คือ เจ้าหน้าที่ทางการทูตหรือทางการกงสุลระดับต่าง ๆ (3) ฟอเรน เซอร์วิส รีเสิร์ฟ ออฟฟิสเซอร์ (เอฟเอสอาร์) คือ ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ชำนาญการทางเทคนิค เช่น ผู้ช่วยทูตฝ่ายพาณิชย์ เป็นต้น ซึ่งจะมาทำหน้าที่เป็นระยะเวลาไม่มีกำหนดจนถึง 5 ปี ตามแต่รัฐมนตรีว่าการต่างประเทศจะเห็นสมควร (4) ฟอเรน เซอร์วิส สตาฟฟ์ (เอฟเอสเอส) ได้แก่ ผู้เดินสารทางการทูต เลขานุการ และคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารสถานทูตฝ่ายต่าง ๆ อาทิ เจ้าหน้าที่ฝ่ายจ่ายเอกสาร เจ้าหน้าที่ฝ่ายงบประมาณ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดเก็บเอกสารการสื่อสาร (5) ฟอเรน เซอร์วิส โลคัล เอ็มพลอยยี (เอฟเอสแอล) ได้แก่ บุคคลที่ไม่ได้เป็นพลเมืองของสหรัฐหลายพันคนที่จ้างไว้ทำงานในตำแหน่งของข้ารัฐการต่างประเทศทั่วโลกให้ทำหน้าที่ต่าง ๆ นับตั้งแต่ผู้แปลเอกสารจนกระทั่งถึงเป็นยามรักษาการณ์
ความสำคัญ รัฐการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการต่างประเทศนั้น มีหน้าที่รับผิดชอบด้านการดำเนินความสัมพันธ์ประจำวัน ระหว่างสหรัฐอเมริกากับประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก หน้าที่ของรัฐการต่างประเทศมีดังนี้ (1) ทำให้นโยบายต่างประเทศของสหรัฐ ฯ บรรลุถึงวัตถุประสงค์ (2) คุ้มครองพลเมืองและผลประโยชน์ของสหรัฐ ฯ ในต่างประเทศ (3) รวบรวมและตีค่าข่าวสารสารสนเทศ(4) เจรจา และ(5) จัดคณะผู้แทนไปประจำตามองค์การระดับพหุภาคีและองค์การระดับภูมิภาค เช่น สหประชาชาติ และองค์การนานารัฐในทวีปอเมริกา (โอเอเอส)
Foreign Service Examination
การสอบแข่งขันข้ารัฐการต่างประเทศ
การสอบข้อเขียน สอบปากเปล่า และสอบพลศึกษา ที่ใช้เป็นรากฐานสำหรับการแต่งตั้งเป็นข้ารัฐการฝ่ายต่างประเทศ คณะกรรมการสอบแข่งขันเป็นคณะรัฐการต่างประเทศจะเป็นผู้กำหนดเกี่ยวกับลักษณะ ขอบข่ายและวันที่ทำการสอบข้อเขียน และเป็นผู้เลือกคณะเจ้าหน้าที่ซึ่งจะมาทำการสอบปากเปล่าแก่บุคคลที่ผ่านการสอบข้อเขียนได้แล้ว ส่วนการสอบพลศึกษานั้นก็จะใช้คุณสมบัติอย่างเดียวกับบุคคลที่เข้ารับรัฐการทหาร เมื่อสามารถสอบผ่าน 3 ขั้นตอน เบืิ้องต้นเหล่านั้นแล้ว อาจจะยังไม่มีการสอบเรื่องภาษา และอาจได้รับการแต่งตั้งให้เป็นข้ารัฐการฝ่ายต่างประเทศเป็นการชั่วคราวก่อนก็ได้
ความสำคัญ การบรรจุแต่งตั้งบุคคลเป็นข้ารัฐการฝ่ายต่างประเทศ โดยใช้วิธีการคัดเลือกด้วยการให้สอบแข่งขันกันทั่วประเทศนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้สมัครมีการเตรียมตัวและเตรียมการต่าง ๆ ให้มาก การนำเอาการสอบแข่งขันกันในระดับชาติมาใช้กับการบรรจุแต่งตั้งบุคคลที่จะมาเป็นข้ารัฐการฝ่ายต่างประเทศนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ชาติได้ผู้แทนทางการทูตที่มีคุณภาพสูงสมกับฐานะที่เป็นมหาอำนาจ ถึงแม้ว่าจะมีผู้สมัครที่มีความสามารถนับพันเข้าสอบแข่งขันเป็นข้ารัฐการฝ่ายต่างประเทศในแต่ละปี แต่ก็จะมีกลุ่มคนที่อยู่ในระดับหัวกะทิจำนวนไม่มากนักที่ผ่านกระบวนการเลือกเฟ้นที่กวดขันนี้ไปได้
การสอบข้อเขียน สอบปากเปล่า และสอบพลศึกษา ที่ใช้เป็นรากฐานสำหรับการแต่งตั้งเป็นข้ารัฐการฝ่ายต่างประเทศ คณะกรรมการสอบแข่งขันเป็นคณะรัฐการต่างประเทศจะเป็นผู้กำหนดเกี่ยวกับลักษณะ ขอบข่ายและวันที่ทำการสอบข้อเขียน และเป็นผู้เลือกคณะเจ้าหน้าที่ซึ่งจะมาทำการสอบปากเปล่าแก่บุคคลที่ผ่านการสอบข้อเขียนได้แล้ว ส่วนการสอบพลศึกษานั้นก็จะใช้คุณสมบัติอย่างเดียวกับบุคคลที่เข้ารับรัฐการทหาร เมื่อสามารถสอบผ่าน 3 ขั้นตอน เบืิ้องต้นเหล่านั้นแล้ว อาจจะยังไม่มีการสอบเรื่องภาษา และอาจได้รับการแต่งตั้งให้เป็นข้ารัฐการฝ่ายต่างประเทศเป็นการชั่วคราวก่อนก็ได้
ความสำคัญ การบรรจุแต่งตั้งบุคคลเป็นข้ารัฐการฝ่ายต่างประเทศ โดยใช้วิธีการคัดเลือกด้วยการให้สอบแข่งขันกันทั่วประเทศนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้สมัครมีการเตรียมตัวและเตรียมการต่าง ๆ ให้มาก การนำเอาการสอบแข่งขันกันในระดับชาติมาใช้กับการบรรจุแต่งตั้งบุคคลที่จะมาเป็นข้ารัฐการฝ่ายต่างประเทศนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ชาติได้ผู้แทนทางการทูตที่มีคุณภาพสูงสมกับฐานะที่เป็นมหาอำนาจ ถึงแม้ว่าจะมีผู้สมัครที่มีความสามารถนับพันเข้าสอบแข่งขันเป็นข้ารัฐการฝ่ายต่างประเทศในแต่ละปี แต่ก็จะมีกลุ่มคนที่อยู่ในระดับหัวกะทิจำนวนไม่มากนักที่ผ่านกระบวนการเลือกเฟ้นที่กวดขันนี้ไปได้
Foreign Service Institute
สถาบันฝึกอบรมข้ารัฐการฝ่ายต่างประเทศ
สถาบันที่ขึ้นกับกระทรวงการต่างประเทศที่ทำหน้าฝึกอบรมบุคลากรของฝ่ายรัฐการต่างประเทศ และของกระทรวงการต่างประเทศ ในด้านต่าง ๆ คือ (1) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (2) ด้านการปกครอง (3) ด้านการจัดการ (4) ด้านการกำกับดูแล และ(5) ด้านภาษาต่างประเทศ
ความสำคัญ สถาบันฝึกอบรมข้ารัฐการฝ่ายต่างประเทศ จะให้การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐการต่างประเทศและบุคลากรของรัฐบาลกลางอื่น ๆ เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่าง ๆ ในต่างประเทศ ก่อนที่พวกเขาจะได้รับการแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ในต่างประเทศ มีผู้ตั้งข้อสังเกตบางคน เรียกร้องให้ขยายสถาบันฝึกอบรมแห่งนี้เป็น "ฟอเรน เซอร์วิส อะคาเดมี" มีหลักสูตรการศึกษาเป็น 4 ปี เพื่อฝึกอบรมนักการทูตแบบเดียวกับที่รัฐการฝ่ายทหารเตรียมนายทหารโดยให้ศึกษาในโรงเรียนเหล่า คือ โรงเรียนนายร้อย โรงเรียนนายเรือ และโรงเรียนนายเรืออากาศ
สถาบันที่ขึ้นกับกระทรวงการต่างประเทศที่ทำหน้าฝึกอบรมบุคลากรของฝ่ายรัฐการต่างประเทศ และของกระทรวงการต่างประเทศ ในด้านต่าง ๆ คือ (1) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (2) ด้านการปกครอง (3) ด้านการจัดการ (4) ด้านการกำกับดูแล และ(5) ด้านภาษาต่างประเทศ
ความสำคัญ สถาบันฝึกอบรมข้ารัฐการฝ่ายต่างประเทศ จะให้การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐการต่างประเทศและบุคลากรของรัฐบาลกลางอื่น ๆ เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่าง ๆ ในต่างประเทศ ก่อนที่พวกเขาจะได้รับการแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ในต่างประเทศ มีผู้ตั้งข้อสังเกตบางคน เรียกร้องให้ขยายสถาบันฝึกอบรมแห่งนี้เป็น "ฟอเรน เซอร์วิส อะคาเดมี" มีหลักสูตรการศึกษาเป็น 4 ปี เพื่อฝึกอบรมนักการทูตแบบเดียวกับที่รัฐการฝ่ายทหารเตรียมนายทหารโดยให้ศึกษาในโรงเรียนเหล่า คือ โรงเรียนนายร้อย โรงเรียนนายเรือ และโรงเรียนนายเรืออากาศ
Foreign Service Officers (FSO)
ข้ารัฐการฝ่ายต่างประเทศ (เอฟเอสโอ)
ข้ารัฐการฝ่ายการทูตประจำของสหรัฐอเมริกา ข้ารัฐการฝ่ายต่างประเทศนี้จะไต่เต้าขึ้นไปจนถึงระดับ 6 ซึ่งการเลื่อนระดับจะใช้ระบบคุณธรรมตั้งแต่ระดับ 1 ขึ้นไปเรื่อย ๆ จากระดับ 6 สามารถก้าวหน้าต่อไปโดยการสมัครและได้รับการยอมรับให้เป็นข้ารัฐการฝ่ายต่างประเทศอาวุโส ซึ่งจากระดับนี้เอง ก็จะมีบางคนได้รับการคัดเลือกให้ไปเป็นเอกอัครราชทูต และก็มีอีกจำนวนหนึ่งซึ่งไม่มากนักจะได้รับการเลื่อนเป็น "คะเรียร์มินิสเตอร์" หรือได้รับตำแหน่งกิตติมศักดิ์สูงสุดเป็น "คะเรียร์แอมบาสเดอร์"
ความสำคัญ ข้ารัฐการฝ่ายต่างประเทศเป็นข้ารัฐการระดับมืออาชีพมีทักษะมาก และถือว่าเป็นกระดูกสันหลังของรัฐการฝ่ายต่างประเทศเลยทีเดียว ในระหว่างเป็นข้ารัฐการฝ่ายต่างประเทศอยู่นี้ ทั้งเพศหญิงและเพศชายต้องสามารถเดินทางไปรับตำแหน่งได้ทั่วทุกหนแห่งทั่วโลก ต้องรู้ภาษาต่างประเทศสองภาษา มีความเชี่ยวชาญในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ 1 พื้นที่ และจะทำหน้าที่หลากหลาย กล่าวคือ ด้านการเมือง ด้านเศรษฐกิจ ด้านข่าวกรอง ด้านการพาณิชย์ ด้านสารสนเทศ และด้านการกงสุล บุคลากรของฝ่ายต่างประเทศเหล่านี้จะต้องทำงานประกบอยู่กับบุคลากรที่เชี่ยยวชาญทางการทูตในกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อให้คนหนึ่งอยู่ในประเทศและอีกคนหนึ่งไปรับตำแหน่งในต่างประเทศ
ข้ารัฐการฝ่ายการทูตประจำของสหรัฐอเมริกา ข้ารัฐการฝ่ายต่างประเทศนี้จะไต่เต้าขึ้นไปจนถึงระดับ 6 ซึ่งการเลื่อนระดับจะใช้ระบบคุณธรรมตั้งแต่ระดับ 1 ขึ้นไปเรื่อย ๆ จากระดับ 6 สามารถก้าวหน้าต่อไปโดยการสมัครและได้รับการยอมรับให้เป็นข้ารัฐการฝ่ายต่างประเทศอาวุโส ซึ่งจากระดับนี้เอง ก็จะมีบางคนได้รับการคัดเลือกให้ไปเป็นเอกอัครราชทูต และก็มีอีกจำนวนหนึ่งซึ่งไม่มากนักจะได้รับการเลื่อนเป็น "คะเรียร์มินิสเตอร์" หรือได้รับตำแหน่งกิตติมศักดิ์สูงสุดเป็น "คะเรียร์แอมบาสเดอร์"
ความสำคัญ ข้ารัฐการฝ่ายต่างประเทศเป็นข้ารัฐการระดับมืออาชีพมีทักษะมาก และถือว่าเป็นกระดูกสันหลังของรัฐการฝ่ายต่างประเทศเลยทีเดียว ในระหว่างเป็นข้ารัฐการฝ่ายต่างประเทศอยู่นี้ ทั้งเพศหญิงและเพศชายต้องสามารถเดินทางไปรับตำแหน่งได้ทั่วทุกหนแห่งทั่วโลก ต้องรู้ภาษาต่างประเทศสองภาษา มีความเชี่ยวชาญในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ 1 พื้นที่ และจะทำหน้าที่หลากหลาย กล่าวคือ ด้านการเมือง ด้านเศรษฐกิจ ด้านข่าวกรอง ด้านการพาณิชย์ ด้านสารสนเทศ และด้านการกงสุล บุคลากรของฝ่ายต่างประเทศเหล่านี้จะต้องทำงานประกบอยู่กับบุคลากรที่เชี่ยยวชาญทางการทูตในกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อให้คนหนึ่งอยู่ในประเทศและอีกคนหนึ่งไปรับตำแหน่งในต่างประเทศ
Good Neighbor Policy
นโยบายเป็นเพื่อนบ้านที่ดี
นโยบายของสหรัฐ ฯ ต่อละตินอเมริกา ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อขจัดความกลัวและความหวาดระแวงที่แสดงออกมาจากคำพูดต่าง ๆ อาทิ "แยงกี้ อิมพีเรียลิสม์" (ลัทธิจักรวรรดินิยมแยงกี้) และ "คอลอสซัส ออฟ เดอะ นอร์ธ" (ยักษ์ใหญ่ของภาคเหนือ" ในคำปราศรัยในพิธีเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อปี ค.ศ. 1933 ประธานาธิบดีแฟรงกลิน รูสเวลท์ได้กล่าวถึง "เพื่อนบ้านที่ดีซึ่งให้ความเคารพตัวเองอย่างเต็มที่และด้วยเหตุที่เคารพตัวเองนี้เองเขาจึงให้ความเคารพสิทธิของผู้อื่น" ในช่วงสามสิบปีแรกของคริสตศตวรรษที่ 19 นโยบายต่างประเทศของสหรัฐ มีลักษณะต่าง ๆ ดังนี้ (1) นโยบายทางการทูตดอลลาร์ (2) นโยบายเข้าแทรกแซงทางทหาร (3) นโยบายลัทธิเอาแต่ประโยชน์ส่วนตนฝ่ายเดียว (4) นโยบายที่มีท่าทีว่าฝ่ายตนเป็นเหมือนพ่อคนอื่นเป็นลูก ซึี่งนโยบายต่าง ๆ เหล่านี้ได้สร้างความไม่พอใจในละตินอเมริกา ส่วนนโยบายเป็นเพื่อนบ้านที่ดีต้องอาศัยแนวความคิดที่ว่าความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกากับละตินอเมริกา จะต้องดำเนินการโดยอิงพื้นฐานของความเสมอภาคทางด้านอธิปไตยและความร่วมมือซึ่งกันและกัน
ความสำคัญ ภายใต้นโยบายเพื่อนบ้านที่ดีนี้ ได้มีการลงนามในสนธิสัญญาไม่แทรกแซงที่กรุงมอนเตวิเดโอ ประเทศอุรุกวัยเมื่อปี ค.ศ. 1933 พอถึงปี ค.ศ. 1934 ก็ได้มีการยกเลิก "เพลตต์ อะเมนด์เม้นท์" ที่จำกัดอำนาจอธิปไตยของคิวบา และได้มีการถอนทหารออกจากประเทศไฮติ ความสัมพันธ์อันดีที่มีต่อกันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ได้ส่งผลให้เกิดสนธิสัญญาความมั่นคงร่วมกันในปี ค.ศ.1945 และปี ค.ศ.1947 นอกจากนี้ก็ได้มีโครงการความร่วมมือหลายอย่างภายใต้ร่มธงขององค์การนานารัฐในทวีปอเมริกา (โอเอเอส) อย่างไรก็ตามก็ต้องไม่ลืมด้วยว่า จากการที่สหรัฐอเมริกาซึ่งมีอำนาจอย่างเหลือล้น (1) ได้ให้การสนับสนุนระบอบการปกครองที่ประชาชนไม่ชอบ (2) ได้ดำเนินการฝ่ายเดียว เช่น ในกรณีเบย์ออฟพิกส์ (อ่าวหมู) ของคิวบาเมื่อปี ค.ศ. 1961 (3) ได้เข้าแทรกแซงทางทหารในสาธารณรัฐโดมินิกัน เมื่อ ปี ค.ศ. 1965 และในเกรนาดา เมื่อปี ค.ศ. 1983 เหตุการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนทำให้ชาวละตินอเมริกันจำนวนมากไม่ค่อยจะเชื่อถือ นโยบายเพื่อนบ้านที่ดีของสหรัฐ ฯ มากนัก
นโยบายของสหรัฐ ฯ ต่อละตินอเมริกา ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อขจัดความกลัวและความหวาดระแวงที่แสดงออกมาจากคำพูดต่าง ๆ อาทิ "แยงกี้ อิมพีเรียลิสม์" (ลัทธิจักรวรรดินิยมแยงกี้) และ "คอลอสซัส ออฟ เดอะ นอร์ธ" (ยักษ์ใหญ่ของภาคเหนือ" ในคำปราศรัยในพิธีเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อปี ค.ศ. 1933 ประธานาธิบดีแฟรงกลิน รูสเวลท์ได้กล่าวถึง "เพื่อนบ้านที่ดีซึ่งให้ความเคารพตัวเองอย่างเต็มที่และด้วยเหตุที่เคารพตัวเองนี้เองเขาจึงให้ความเคารพสิทธิของผู้อื่น" ในช่วงสามสิบปีแรกของคริสตศตวรรษที่ 19 นโยบายต่างประเทศของสหรัฐ มีลักษณะต่าง ๆ ดังนี้ (1) นโยบายทางการทูตดอลลาร์ (2) นโยบายเข้าแทรกแซงทางทหาร (3) นโยบายลัทธิเอาแต่ประโยชน์ส่วนตนฝ่ายเดียว (4) นโยบายที่มีท่าทีว่าฝ่ายตนเป็นเหมือนพ่อคนอื่นเป็นลูก ซึี่งนโยบายต่าง ๆ เหล่านี้ได้สร้างความไม่พอใจในละตินอเมริกา ส่วนนโยบายเป็นเพื่อนบ้านที่ดีต้องอาศัยแนวความคิดที่ว่าความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกากับละตินอเมริกา จะต้องดำเนินการโดยอิงพื้นฐานของความเสมอภาคทางด้านอธิปไตยและความร่วมมือซึ่งกันและกัน
ความสำคัญ ภายใต้นโยบายเพื่อนบ้านที่ดีนี้ ได้มีการลงนามในสนธิสัญญาไม่แทรกแซงที่กรุงมอนเตวิเดโอ ประเทศอุรุกวัยเมื่อปี ค.ศ. 1933 พอถึงปี ค.ศ. 1934 ก็ได้มีการยกเลิก "เพลตต์ อะเมนด์เม้นท์" ที่จำกัดอำนาจอธิปไตยของคิวบา และได้มีการถอนทหารออกจากประเทศไฮติ ความสัมพันธ์อันดีที่มีต่อกันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ได้ส่งผลให้เกิดสนธิสัญญาความมั่นคงร่วมกันในปี ค.ศ.1945 และปี ค.ศ.1947 นอกจากนี้ก็ได้มีโครงการความร่วมมือหลายอย่างภายใต้ร่มธงขององค์การนานารัฐในทวีปอเมริกา (โอเอเอส) อย่างไรก็ตามก็ต้องไม่ลืมด้วยว่า จากการที่สหรัฐอเมริกาซึ่งมีอำนาจอย่างเหลือล้น (1) ได้ให้การสนับสนุนระบอบการปกครองที่ประชาชนไม่ชอบ (2) ได้ดำเนินการฝ่ายเดียว เช่น ในกรณีเบย์ออฟพิกส์ (อ่าวหมู) ของคิวบาเมื่อปี ค.ศ. 1961 (3) ได้เข้าแทรกแซงทางทหารในสาธารณรัฐโดมินิกัน เมื่อ ปี ค.ศ. 1965 และในเกรนาดา เมื่อปี ค.ศ. 1983 เหตุการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนทำให้ชาวละตินอเมริกันจำนวนมากไม่ค่อยจะเชื่อถือ นโยบายเพื่อนบ้านที่ดีของสหรัฐ ฯ มากนัก
Implied Power
อำนาจโดยปริยาย
อำนาจของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาที่ตีความจากรัฐธรรมนูญว่าเป็นอำนาจที่มอบให้รัฐบาล ฯ เป็นผู้ใช้ ดังนั้น อำนาจในการจัดตั้งกองทัพอากาศ รัฐบาลจึงใช้อย่างเหมาะสม โดยอ้างความในรัฐธรรมนูญถึงอำนาจในการจัดตั้งและธำรงกองทัพบกและกองทัพเรือถึงแม้ว่าในสมัยที่เขียนรัฐธรรมนูญนั้นจะยังไม่มีเครื่องบินที่บังคับด้วยคนและขีปนาวุธข้ามทวีปก็ตาม แนวความคิดเรื่องอำนาจโดยปริยายนี้ได้ถูกกำหนดไว้ให้เป็นบรรทัดฐานโดยศาลสูงสุดสหรัฐ ฯ ในคดีแมคคัลล็อคกับแมรีแลนด์
ความสำคัญ หลักแห่งอำนาจโดยปริยายนี้ ได้ช่วยให้สหรัฐอเมริกาทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิผล ทั้งในด้านนโยบายต่างประเทศและนโยบายภายใน โดยที่ไม่ต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญมากมายอะไรเลย รัฐบาลแห่งชาติจะเข้มแข็งไม่ได้หากมีอำนาจถูกจำกัด โดยข้อกำหนดตามที่ระบุอยู่ในรัฐธรรมนูญโดยประการทั้งปวง แต่การมีรัฐธรรมนูญที่มีลักษณะยืดหยุ่น โดยอิงข้อความในมาตรา 1 อนุมาตรา 8 ที่ระบุถึง "ความจำเป็นและความเหมาะสม" ก็ได้ช่วยให้รัฐบาลสหรัฐปรับตัวเข้ากับเงื่อนไขในแต่ละยุคสมัยได้
อำนาจของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาที่ตีความจากรัฐธรรมนูญว่าเป็นอำนาจที่มอบให้รัฐบาล ฯ เป็นผู้ใช้ ดังนั้น อำนาจในการจัดตั้งกองทัพอากาศ รัฐบาลจึงใช้อย่างเหมาะสม โดยอ้างความในรัฐธรรมนูญถึงอำนาจในการจัดตั้งและธำรงกองทัพบกและกองทัพเรือถึงแม้ว่าในสมัยที่เขียนรัฐธรรมนูญนั้นจะยังไม่มีเครื่องบินที่บังคับด้วยคนและขีปนาวุธข้ามทวีปก็ตาม แนวความคิดเรื่องอำนาจโดยปริยายนี้ได้ถูกกำหนดไว้ให้เป็นบรรทัดฐานโดยศาลสูงสุดสหรัฐ ฯ ในคดีแมคคัลล็อคกับแมรีแลนด์
ความสำคัญ หลักแห่งอำนาจโดยปริยายนี้ ได้ช่วยให้สหรัฐอเมริกาทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิผล ทั้งในด้านนโยบายต่างประเทศและนโยบายภายใน โดยที่ไม่ต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญมากมายอะไรเลย รัฐบาลแห่งชาติจะเข้มแข็งไม่ได้หากมีอำนาจถูกจำกัด โดยข้อกำหนดตามที่ระบุอยู่ในรัฐธรรมนูญโดยประการทั้งปวง แต่การมีรัฐธรรมนูญที่มีลักษณะยืดหยุ่น โดยอิงข้อความในมาตรา 1 อนุมาตรา 8 ที่ระบุถึง "ความจำเป็นและความเหมาะสม" ก็ได้ช่วยให้รัฐบาลสหรัฐปรับตัวเข้ากับเงื่อนไขในแต่ละยุคสมัยได้
Inherent Powers
อำนาจในตัว
อำนาจของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาที่มิได้มีการระบุไว้หรือตีความจากรัฐธรรมนูญ อำนาจในตัวนี้ได้จากธรรมชาติของสหรัฐอเมริกาที่เป็นรัฐที่มีอธิปไตยและโดยอาศัยคำนิยามว่าด้วยอำนาจอธิปไตยจึงมีความเท่าเทียมกับรัฐที่มีลักษณะเดียวกันอื่น ๆ ในประชาคมระหว่างประเทศ ภายใต้หลักแห่งอำนาจในตัวนี้เอง รัฐบาลสหรัฐอเมริกาจึงสามารถทำสิ่งต่าง ๆ ที่รัฐบาลแห่งชาติใด ๆ ทำได้ เช่น ทำสนธิสัญญา และได้ดินแดน
ความสำคัญ หลักการแห่งอำนาจในตัวนี้ ได้ช่วยให้สหรัฐอเมริกาซึ่งทำงานอยู่ภายใต้ข้อจำกัดของระบบรัฐธรรมนูญสามารถมีความยืดหยุ่นต่อสิ่งท้าทายที่เกิดขึ้นจากการมีปฏิสัมพันธ์กับรัฐอื่น ๆ กว่า 180 กว่ารัฐในขณะนี้ได้ ในด้านกิจการภายในนั้น ศาลสูงสหรัฐ ฯ ได้ตัดสินคดี ยังสทาวน์ ชีท แอนด์ ทิวบ์ คอมพานี กับ ซอว์เยอร์ (343 ยู.เอส. 579 (1952) มีความว่า อำนาจของรัฐบาลแห่งชาติจะต้องสืบสาวจากอำนาจที่ได้รับมอบมาหรือจากการตีความอย่างมีเหตุผล ในกิจการต่างประเทศนั้นศาลสูงก็มีความเห็นว่า หลักการแห่งความเสมอภาคทางด้านอธิปไตยของรัฐได้วางข้อกำหนดเกี่ยวกับความจำเป็นและเกี่ยวกับอำนาจที่รัฐสามารถดำเนินการได้แม้ว่ารัฐธรรมนูญจะมิได้กล่าวถึงก็ตาม ถึงแม้ว่ารัฐบาลแห่งชาติจะไม่สามารถทำสิ่งที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญได้ แต่ก็ไม่มีข้อความใดในรัฐธรรมนูญระบุไว้เป็นการแน่นอนว่ารัฐบาลมีข้อจำกัดในการใช้อำนาจในตัวนี้เพียงใด
อำนาจของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาที่มิได้มีการระบุไว้หรือตีความจากรัฐธรรมนูญ อำนาจในตัวนี้ได้จากธรรมชาติของสหรัฐอเมริกาที่เป็นรัฐที่มีอธิปไตยและโดยอาศัยคำนิยามว่าด้วยอำนาจอธิปไตยจึงมีความเท่าเทียมกับรัฐที่มีลักษณะเดียวกันอื่น ๆ ในประชาคมระหว่างประเทศ ภายใต้หลักแห่งอำนาจในตัวนี้เอง รัฐบาลสหรัฐอเมริกาจึงสามารถทำสิ่งต่าง ๆ ที่รัฐบาลแห่งชาติใด ๆ ทำได้ เช่น ทำสนธิสัญญา และได้ดินแดน
ความสำคัญ หลักการแห่งอำนาจในตัวนี้ ได้ช่วยให้สหรัฐอเมริกาซึ่งทำงานอยู่ภายใต้ข้อจำกัดของระบบรัฐธรรมนูญสามารถมีความยืดหยุ่นต่อสิ่งท้าทายที่เกิดขึ้นจากการมีปฏิสัมพันธ์กับรัฐอื่น ๆ กว่า 180 กว่ารัฐในขณะนี้ได้ ในด้านกิจการภายในนั้น ศาลสูงสหรัฐ ฯ ได้ตัดสินคดี ยังสทาวน์ ชีท แอนด์ ทิวบ์ คอมพานี กับ ซอว์เยอร์ (343 ยู.เอส. 579 (1952) มีความว่า อำนาจของรัฐบาลแห่งชาติจะต้องสืบสาวจากอำนาจที่ได้รับมอบมาหรือจากการตีความอย่างมีเหตุผล ในกิจการต่างประเทศนั้นศาลสูงก็มีความเห็นว่า หลักการแห่งความเสมอภาคทางด้านอธิปไตยของรัฐได้วางข้อกำหนดเกี่ยวกับความจำเป็นและเกี่ยวกับอำนาจที่รัฐสามารถดำเนินการได้แม้ว่ารัฐธรรมนูญจะมิได้กล่าวถึงก็ตาม ถึงแม้ว่ารัฐบาลแห่งชาติจะไม่สามารถทำสิ่งที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญได้ แต่ก็ไม่มีข้อความใดในรัฐธรรมนูญระบุไว้เป็นการแน่นอนว่ารัฐบาลมีข้อจำกัดในการใช้อำนาจในตัวนี้เพียงใด
Interest Group
กลุ่มผลประโยชน์
การรวมกลุ่มของบุคคลซึ่งมีแนวคิดทางค่านิยมอย่างเดียวกัน และแสวงหาการสนับสนุนจากรัฐบาล เพื่อส่งเสริมหรือปกป้องค่านิยมเหล่านั้น กลุ่มผลประโยชน์จะดำเนินการโดยผ่านทางกิจกรรมทางวิ่งเต้นต่อหน่วยงานของภาครัฐบาลโดยการวิ่งเต้นจะดำเนินการโดยนักวิ่งเต้นระดับมืิออาชีพที่มีอาชีพทางรับจ้างวิ่งเต้นนี้โดยเฉพาะ นอกจากนั้นแล้วกลุ่มผลประโยชน์ก็ยังทำงานโดยใช้กิจกรรมโฆษณาชวนเชื่อมุ่งเป้าหมายไปที่สาธารณชนทั่วไป เพื่อสร้างพลังสนับสนุนจากประชาชนต่อค่านิยมอย่างใดอย่างหนึ่งของพวกตน กลุ่มผลประโยชน์นี้มีเป็นจำนวนมาก และมีวัตถุประสงค์หลากหลาย แต่กลุ่มผลประโยชน์ที่สำคัญได้แก่ (1) กลุ่มนักธุรกิจ กลุ่มผู้ใช้แรงงาน และกลุ่มเกษตรกร(2) กลุ่มชาติพันธ์ กลุ่มชาตินิยม กลุ่มรักชาติ กลุ่มศาสนา และกลุ่มทหารผ่านศึก และ(3) กลุ่มผู้บริโภคและกลุ่มพิทักษ์สิ่งแวดล้อม
ความสำคัญ กลุ่มผลประโยชน์จะไม่เหมือนกับพรรคการเมือง คือ จะไม่สนใจเข้าไปดำเนินการกับรัฐบาลทั้งหมด แต่กลุ่มผลประโยชน์เป็นคนกลุ่มน้อยที่พยายามจะใช้อิทธิพลหรือควบคุมเหนือนโยบายและบุคคลผู้ซึ่งทำหน้าที่กำหนดและดำเนินการนโยบายนั้น ๆ กลุ่มผลประโยชน์บางกลุ่ม อย่างเช่น กลุ่มหอการค้าของสหรัฐอเมริกา จะดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ส่วนกลุ่มผลประโยชน์อื่น ๆ เช่น สมาคมปืนไรเฟิลแห่งชาติ (เอ็นอาร์เอ) จะปฏิบัติงานแข็งขันมากในตอนที่ค่านิยมอย่างใดอย่างหนึ่งของพวกตนถูกคุกคาม ในสังคมแบบพหุนิยมสมัยใหม่นั้น กลุ่มผลประโยชน์ หรือกลุ่มกดดันนี้ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางการเมือง
การรวมกลุ่มของบุคคลซึ่งมีแนวคิดทางค่านิยมอย่างเดียวกัน และแสวงหาการสนับสนุนจากรัฐบาล เพื่อส่งเสริมหรือปกป้องค่านิยมเหล่านั้น กลุ่มผลประโยชน์จะดำเนินการโดยผ่านทางกิจกรรมทางวิ่งเต้นต่อหน่วยงานของภาครัฐบาลโดยการวิ่งเต้นจะดำเนินการโดยนักวิ่งเต้นระดับมืิออาชีพที่มีอาชีพทางรับจ้างวิ่งเต้นนี้โดยเฉพาะ นอกจากนั้นแล้วกลุ่มผลประโยชน์ก็ยังทำงานโดยใช้กิจกรรมโฆษณาชวนเชื่อมุ่งเป้าหมายไปที่สาธารณชนทั่วไป เพื่อสร้างพลังสนับสนุนจากประชาชนต่อค่านิยมอย่างใดอย่างหนึ่งของพวกตน กลุ่มผลประโยชน์นี้มีเป็นจำนวนมาก และมีวัตถุประสงค์หลากหลาย แต่กลุ่มผลประโยชน์ที่สำคัญได้แก่ (1) กลุ่มนักธุรกิจ กลุ่มผู้ใช้แรงงาน และกลุ่มเกษตรกร(2) กลุ่มชาติพันธ์ กลุ่มชาตินิยม กลุ่มรักชาติ กลุ่มศาสนา และกลุ่มทหารผ่านศึก และ(3) กลุ่มผู้บริโภคและกลุ่มพิทักษ์สิ่งแวดล้อม
ความสำคัญ กลุ่มผลประโยชน์จะไม่เหมือนกับพรรคการเมือง คือ จะไม่สนใจเข้าไปดำเนินการกับรัฐบาลทั้งหมด แต่กลุ่มผลประโยชน์เป็นคนกลุ่มน้อยที่พยายามจะใช้อิทธิพลหรือควบคุมเหนือนโยบายและบุคคลผู้ซึ่งทำหน้าที่กำหนดและดำเนินการนโยบายนั้น ๆ กลุ่มผลประโยชน์บางกลุ่ม อย่างเช่น กลุ่มหอการค้าของสหรัฐอเมริกา จะดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ส่วนกลุ่มผลประโยชน์อื่น ๆ เช่น สมาคมปืนไรเฟิลแห่งชาติ (เอ็นอาร์เอ) จะปฏิบัติงานแข็งขันมากในตอนที่ค่านิยมอย่างใดอย่างหนึ่งของพวกตนถูกคุกคาม ในสังคมแบบพหุนิยมสมัยใหม่นั้น กลุ่มผลประโยชน์ หรือกลุ่มกดดันนี้ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางการเมือง
Isolationism
ลัทธิแยกอยู่โดดเดี่ยว
หลักการที่เห็นว่า ผลประโยชน์ของสหรัฐอเมริกาจะรักษาไว้ได้โดยการถอนตัวจากการยุ่งเกี่ยวทางการเมืองของประชาคมระหว่างประเทศ ผู้ที่ให้การสนับสนุนลัทธิแยกอยู่โดดเดี่ยวนี้มีสมมติฐานที่อิงแนวความคิดว่า สหรัฐอเมริกามีลักษณะแยกจากที่อื่น ๆ โดยสภาพทางภูมิศาสตร์ โดยอุดมการณ์ และโดยวัฒนธรรม แนวความคิดดังกล่าวมีความดาษดื่นในสหรัฐอเมริกาในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่งกับสงครามโลกครั้งที่สอง
ความสำคัญ ในช่วงระหว่างคริสตศตวรรษที่ 19 ต่อกับต้นคริสตศตวรรษที่ 20 สหรัฐอเมริกาไม่ค่อยจะเข้ามายุ่งเกี่ยวในการเมืองระหว่างประเทศมากนัก แต่ก็ไม่ถึงกับแยกอยู่โดดเดี่ยวอย่างแท้จริง สหรัฐอเมริกาไม่เคยใช้หลักการไม่ยุ่งเกี่ยวในกิจการของแปซิฟิกหรือตะวันออกไกลเหมือนอย่างในยุโรป สหรัฐฯนำหลักการนี้ไปใช้ในกรณีของยุโรปจะเห็นได้จากการที่สหรัฐฯพยายามเป็นกลางในช่วงต้นของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่สอง จากการที่ได้เกิดการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีของกลางคริสตศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือเทคโนโลยีการแยกตัวของปรมาณู ทำให้เกิดคำถามขึ้นมาว่าหลักการลัทธิแยกอยู่โดดเดี่ยวนี้จะยังใช้ได้อยู่หรือไม่
หลักการที่เห็นว่า ผลประโยชน์ของสหรัฐอเมริกาจะรักษาไว้ได้โดยการถอนตัวจากการยุ่งเกี่ยวทางการเมืองของประชาคมระหว่างประเทศ ผู้ที่ให้การสนับสนุนลัทธิแยกอยู่โดดเดี่ยวนี้มีสมมติฐานที่อิงแนวความคิดว่า สหรัฐอเมริกามีลักษณะแยกจากที่อื่น ๆ โดยสภาพทางภูมิศาสตร์ โดยอุดมการณ์ และโดยวัฒนธรรม แนวความคิดดังกล่าวมีความดาษดื่นในสหรัฐอเมริกาในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่งกับสงครามโลกครั้งที่สอง
ความสำคัญ ในช่วงระหว่างคริสตศตวรรษที่ 19 ต่อกับต้นคริสตศตวรรษที่ 20 สหรัฐอเมริกาไม่ค่อยจะเข้ามายุ่งเกี่ยวในการเมืองระหว่างประเทศมากนัก แต่ก็ไม่ถึงกับแยกอยู่โดดเดี่ยวอย่างแท้จริง สหรัฐอเมริกาไม่เคยใช้หลักการไม่ยุ่งเกี่ยวในกิจการของแปซิฟิกหรือตะวันออกไกลเหมือนอย่างในยุโรป สหรัฐฯนำหลักการนี้ไปใช้ในกรณีของยุโรปจะเห็นได้จากการที่สหรัฐฯพยายามเป็นกลางในช่วงต้นของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่สอง จากการที่ได้เกิดการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีของกลางคริสตศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือเทคโนโลยีการแยกตัวของปรมาณู ทำให้เกิดคำถามขึ้นมาว่าหลักการลัทธิแยกอยู่โดดเดี่ยวนี้จะยังใช้ได้อยู่หรือไม่
Joint Chiefs Of Staff
คณะเสนาธิการร่วม
หน่วยงานที่ปรึกษาทางทหารระดับสูงสุดในกระทรวงกลาโหมที่รับผิดชอบในทุกเรื่องที่เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ทางทหาร คณะเสนาธิการร่วมซึ่งประกอบด้วย เสนาธิการทหารบก เสนาธิการทหารอากาศ ประธานฝ่ายยุทธการทหารเรือ ผู้บัญชาการกองกำลังนาวิกโยธิน และเสนาธิการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้รับการจัดตั้งขึ้นมาโดยรัฐบัญญัติความมั่นคงแห่งชาติปี ค.ศ. 1947 และ1949 หน่วยงานที่ปรึกษาหน่วยที่ 2 เรียกว่า สภานโยบายกองทัพ ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการทบวงทหารบก รัฐมนตรีว่าการทบวงทหารเรือ และรัฐมนตรีว่าการทบวงทหารอากาศ ทั้งฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหาร ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเกี่ยวกับปัญหานโยบายอย่างกว้าง ๆ
ความสำคัญ คณะเสนาธิการร่วมทำหน้าที่เป็นคณะที่ปรึกษาทางการทหารสูงสุดทั้งของประธานาธิบดีและของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม คณะเสนาธิการทหารร่วมนี้ ถึงแม้ว่าได้รับการคาดหวังว่าจะเสนอทัศนะทางการทหารเป็นเอกภาพแต่ก็จะสะท้อนให้เห็นทัศนะของแต่ละเหล่าทัพได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าจะจัดตั้งกระทรวงกลาโหมมาเพื่อสร้างเอกภาพให้เกิดขึ้นในกองทัพ แต่คณะเสนาธิการร่วมนี้จะให้คำเสนอแนะที่มีความแตกต่างกัน ไม่มีความเป็นบูรณาการของเหล่าทัพตามที่รัฐบัญญัติความมั่นคงแห่งชาติได้ตั้งเป้าหมายเอาไว้ เพราะฉะนั้นสถาบันคณะเสนาธิการร่วมนี้ จึงถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่ายังไม่สามารถสร้างความเอกภาพ ยังปล่อยให้มีการแข่งขันระหว่างเหล่าทัพ มีการแย่งชิงงบประมาณ และมีความคิดการแบ่งแยกงานกันทำระหว่างเหล่าทัพ ซึ่งทำให้ยากที่เกิดแนวทางทางยุทธศาสตร์ที่กระจ่างชัดได้
หน่วยงานที่ปรึกษาทางทหารระดับสูงสุดในกระทรวงกลาโหมที่รับผิดชอบในทุกเรื่องที่เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ทางทหาร คณะเสนาธิการร่วมซึ่งประกอบด้วย เสนาธิการทหารบก เสนาธิการทหารอากาศ ประธานฝ่ายยุทธการทหารเรือ ผู้บัญชาการกองกำลังนาวิกโยธิน และเสนาธิการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้รับการจัดตั้งขึ้นมาโดยรัฐบัญญัติความมั่นคงแห่งชาติปี ค.ศ. 1947 และ1949 หน่วยงานที่ปรึกษาหน่วยที่ 2 เรียกว่า สภานโยบายกองทัพ ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการทบวงทหารบก รัฐมนตรีว่าการทบวงทหารเรือ และรัฐมนตรีว่าการทบวงทหารอากาศ ทั้งฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหาร ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเกี่ยวกับปัญหานโยบายอย่างกว้าง ๆ
ความสำคัญ คณะเสนาธิการร่วมทำหน้าที่เป็นคณะที่ปรึกษาทางการทหารสูงสุดทั้งของประธานาธิบดีและของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม คณะเสนาธิการทหารร่วมนี้ ถึงแม้ว่าได้รับการคาดหวังว่าจะเสนอทัศนะทางการทหารเป็นเอกภาพแต่ก็จะสะท้อนให้เห็นทัศนะของแต่ละเหล่าทัพได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าจะจัดตั้งกระทรวงกลาโหมมาเพื่อสร้างเอกภาพให้เกิดขึ้นในกองทัพ แต่คณะเสนาธิการร่วมนี้จะให้คำเสนอแนะที่มีความแตกต่างกัน ไม่มีความเป็นบูรณาการของเหล่าทัพตามที่รัฐบัญญัติความมั่นคงแห่งชาติได้ตั้งเป้าหมายเอาไว้ เพราะฉะนั้นสถาบันคณะเสนาธิการร่วมนี้ จึงถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่ายังไม่สามารถสร้างความเอกภาพ ยังปล่อยให้มีการแข่งขันระหว่างเหล่าทัพ มีการแย่งชิงงบประมาณ และมีความคิดการแบ่งแยกงานกันทำระหว่างเหล่าทัพ ซึ่งทำให้ยากที่เกิดแนวทางทางยุทธศาสตร์ที่กระจ่างชัดได้
Marshall Plan
แผนมาร์แชลล์
โครงการระดมให้ความช่วยเหลือของสหรัฐ ฯ เพื่อบูรณะทางเศรษฐกิจของยุโรปที่ถูกทำลายในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง แผนมาร์แชลล์เสนอโดยนาย จอร์จ ซี. มาร์แชลล์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ ฯ เมื่อ ปี ค.ศ. 1947 และสภาคองเกรสได้ยอมรับแผนนี้ภายใต้ชื่อว่า โครงการบูรณะยุโรป ระหว่างปี ค.ศ. 1948 - 1953 สหรัฐอเมริกาได้จัดหาเงินมีมูลค่าหนึ่งหมื่นห้าพันล้านดอลลาร์ ทั้งรูปให้เปล่าและในรูปเงินกู้แก่ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปตะวันตก จำนวน 16 ประเทศ (หากรวมทั้งเยอรมนีตะวันตกเข้าไปด้วยก็เป็น 17 ประเทศ) ด้วยการสนับสนุนของสหรัฐอเมริกา ประเทศที่เข้าร่วมโครงการได้จัดตั้งองค์การเพื่อความร่วมมือเศรษฐกิจในยุโรป (โออีอีซี) เพื่อทำงานร่วมกันในการฟื้นฟูเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคยิ่งกว่าจะเป็นระดับชาติ สหภาพโซเวียตและประเทศคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออก แม้จะได้รับเชิญให้เข้าร่วมโครงการแต่ก็เลือกที่จะไม่มาร่วม
ความสำคัญ แผนมาร์แชลล์ได้ช่วยไปกระตุ้นให้ยุโรปใช้ประสบการณ์ และการทำงานของตนไปในทางที่จะฟื้นฟูยกภาวะเศรษฐกิจของทุกประเทศที่เข้าร่วมโครงการขึ้นสู่ระดับก่อนจะเกิดสงครามโลกครั้งที่สองให้ได้ภายในปี ค.ศ.1951 จากผลของแผนมาร์แชลล์นี้เอง ทำให้สหภาพโซเวียตไม่สามารถฉกฉวยโอกาสใช้ความตกต่ำทางเศรษฐกิจและความวุ่นวายทางสังคม - การเมืองในยุโรปไปในทางที่จะเป็นประโยชน์แก่ตนได้ ความสัมพันธ์ในรูปแบบของความร่วมมือกันในองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจยุโรป ได้กลายเป็นตัวอย่างที่เกื้อหนุนให้มีความพยายามในกาลต่อมาเพื่อสร้างบูรณาการทางเศรษฐกิจของยุโรป อันนำไปสู่การจัดตั้งประชาคมยุโรปโดยการสนับสนุนของสหรัฐ ฯ ในที่สุด
โครงการระดมให้ความช่วยเหลือของสหรัฐ ฯ เพื่อบูรณะทางเศรษฐกิจของยุโรปที่ถูกทำลายในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง แผนมาร์แชลล์เสนอโดยนาย จอร์จ ซี. มาร์แชลล์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ ฯ เมื่อ ปี ค.ศ. 1947 และสภาคองเกรสได้ยอมรับแผนนี้ภายใต้ชื่อว่า โครงการบูรณะยุโรป ระหว่างปี ค.ศ. 1948 - 1953 สหรัฐอเมริกาได้จัดหาเงินมีมูลค่าหนึ่งหมื่นห้าพันล้านดอลลาร์ ทั้งรูปให้เปล่าและในรูปเงินกู้แก่ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปตะวันตก จำนวน 16 ประเทศ (หากรวมทั้งเยอรมนีตะวันตกเข้าไปด้วยก็เป็น 17 ประเทศ) ด้วยการสนับสนุนของสหรัฐอเมริกา ประเทศที่เข้าร่วมโครงการได้จัดตั้งองค์การเพื่อความร่วมมือเศรษฐกิจในยุโรป (โออีอีซี) เพื่อทำงานร่วมกันในการฟื้นฟูเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคยิ่งกว่าจะเป็นระดับชาติ สหภาพโซเวียตและประเทศคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออก แม้จะได้รับเชิญให้เข้าร่วมโครงการแต่ก็เลือกที่จะไม่มาร่วม
ความสำคัญ แผนมาร์แชลล์ได้ช่วยไปกระตุ้นให้ยุโรปใช้ประสบการณ์ และการทำงานของตนไปในทางที่จะฟื้นฟูยกภาวะเศรษฐกิจของทุกประเทศที่เข้าร่วมโครงการขึ้นสู่ระดับก่อนจะเกิดสงครามโลกครั้งที่สองให้ได้ภายในปี ค.ศ.1951 จากผลของแผนมาร์แชลล์นี้เอง ทำให้สหภาพโซเวียตไม่สามารถฉกฉวยโอกาสใช้ความตกต่ำทางเศรษฐกิจและความวุ่นวายทางสังคม - การเมืองในยุโรปไปในทางที่จะเป็นประโยชน์แก่ตนได้ ความสัมพันธ์ในรูปแบบของความร่วมมือกันในองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจยุโรป ได้กลายเป็นตัวอย่างที่เกื้อหนุนให้มีความพยายามในกาลต่อมาเพื่อสร้างบูรณาการทางเศรษฐกิจของยุโรป อันนำไปสู่การจัดตั้งประชาคมยุโรปโดยการสนับสนุนของสหรัฐ ฯ ในที่สุด
Missouri V. Holland (252 U.S. 416 : 1920)
คดีระหว่างมิสซูรีกับฮอลแลนด์ (252 ยู.เอส. 416 : 1920)
คดีสำคัญคดีหนึ่ง ที่ศาลสูงสหรัฐฯตัดสินว่ารัฐบาลกลางที่ดำเนินการภายใต้อำนาจในการทำสนธิสัญญานั้น สามารถมีอำนาจในเรื่องที่สงวนไว้ให้แก่มลรัฐได้ ในคดีระหว่างมิสซูรีกับฮอลแลนด์นี้ ศาสลสูงได้ให้การสนับสนุนหลักการของรัฐธรรมนูญที่ให้รัฐบาลกลางดำเนินการออกกฎหมาย เพื่อให้เป็นไปตามสนธิสัญญาระหว่างสหรัฐ ฯ กับอังกฤษ เพื่อให้ทำการคุ้มครองและปกป้องนกที่อพยพไปมาระหว่างแคนาดากับสหรัฐ ฯ ได้ ก่อนหน้านี้มีหลักปฏิบัติว่า ในกรณีที่ไม่มีสนธิสัญญา การออกกฎหมายที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันนี้ ศาลชั้นต้นของรัฐบาลกลางเคยตัดสินว่าเป็นการใช้อำนาจของรัฐบาลกลางที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ
ความสำคัญ คำตัดสินในคดีมิสซูรีกับฮอลแลนด์ เป็นคำตัดสินที่ไม่ได้ทำลายหลักการของรัฐบาลกลางและได้ช่วยให้รัฐบาลกลางสามารถดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสนธิสัญญา ซึ่งอาจจะขัดต่อรัฐธรรมนูญหากเป็นการออกกฎหมายที่ไม่เกี่ยวกับสนธิสัญญาได้ ไม่มีสนธิสัญญาฉบับใดถูกประกาศว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ แต่สนธิสัญญาถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายสูงสุดของดินแดน ภายใต้มาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญสหรัฐฯ แต่ก็จะต้องเป็นสนธิสัญญาที่มีสาระกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเท่านั้น คดีมิสซูรีกับฮอลแลนด์นี้ก่อให้เกิดความกลัวในหมู่พวกที่คัดค้านอำนาจของรัฐบาลกลางว่า การทำสนธิสัญญาอาจจะถูกนำมาใช้ทำลายรัฐธรรมนูญได้ การคัดค้านนี้ส่งผลให้ความพยายามที่จะเสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ "บริกเกอร์ อะเมนด์เม้นท์" เมื่อทศวรรษปี 1950 ไม่ประสบผลสำเร็จ ซึี่งข้อเสนอนี้หากได้รับการยอมรับก็จะทำให้ประธานาธิบดีและวุฒิสภามีอำนาจในการทำสนธิสัญญาน้อยลง กล่าวกันว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้จะไปจำกัดอำนาจหน้าที่ของรัฐบาลกลาง โดยมีข้อกำหนดว่าสนธิสัญญาจะมีผลบังคับใช้ได้ก็โดยการออกกฎหมายรองรับที่มีผลโดยไม่ต้องมีสนธิสัญญา
คดีสำคัญคดีหนึ่ง ที่ศาลสูงสหรัฐฯตัดสินว่ารัฐบาลกลางที่ดำเนินการภายใต้อำนาจในการทำสนธิสัญญานั้น สามารถมีอำนาจในเรื่องที่สงวนไว้ให้แก่มลรัฐได้ ในคดีระหว่างมิสซูรีกับฮอลแลนด์นี้ ศาสลสูงได้ให้การสนับสนุนหลักการของรัฐธรรมนูญที่ให้รัฐบาลกลางดำเนินการออกกฎหมาย เพื่อให้เป็นไปตามสนธิสัญญาระหว่างสหรัฐ ฯ กับอังกฤษ เพื่อให้ทำการคุ้มครองและปกป้องนกที่อพยพไปมาระหว่างแคนาดากับสหรัฐ ฯ ได้ ก่อนหน้านี้มีหลักปฏิบัติว่า ในกรณีที่ไม่มีสนธิสัญญา การออกกฎหมายที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันนี้ ศาลชั้นต้นของรัฐบาลกลางเคยตัดสินว่าเป็นการใช้อำนาจของรัฐบาลกลางที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ
ความสำคัญ คำตัดสินในคดีมิสซูรีกับฮอลแลนด์ เป็นคำตัดสินที่ไม่ได้ทำลายหลักการของรัฐบาลกลางและได้ช่วยให้รัฐบาลกลางสามารถดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสนธิสัญญา ซึ่งอาจจะขัดต่อรัฐธรรมนูญหากเป็นการออกกฎหมายที่ไม่เกี่ยวกับสนธิสัญญาได้ ไม่มีสนธิสัญญาฉบับใดถูกประกาศว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ แต่สนธิสัญญาถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายสูงสุดของดินแดน ภายใต้มาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญสหรัฐฯ แต่ก็จะต้องเป็นสนธิสัญญาที่มีสาระกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเท่านั้น คดีมิสซูรีกับฮอลแลนด์นี้ก่อให้เกิดความกลัวในหมู่พวกที่คัดค้านอำนาจของรัฐบาลกลางว่า การทำสนธิสัญญาอาจจะถูกนำมาใช้ทำลายรัฐธรรมนูญได้ การคัดค้านนี้ส่งผลให้ความพยายามที่จะเสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ "บริกเกอร์ อะเมนด์เม้นท์" เมื่อทศวรรษปี 1950 ไม่ประสบผลสำเร็จ ซึี่งข้อเสนอนี้หากได้รับการยอมรับก็จะทำให้ประธานาธิบดีและวุฒิสภามีอำนาจในการทำสนธิสัญญาน้อยลง กล่าวกันว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้จะไปจำกัดอำนาจหน้าที่ของรัฐบาลกลาง โดยมีข้อกำหนดว่าสนธิสัญญาจะมีผลบังคับใช้ได้ก็โดยการออกกฎหมายรองรับที่มีผลโดยไม่ต้องมีสนธิสัญญา
Monroe Doctrine
ลัทธิมอนโร
หลักการขั้นพื้นฐานของนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา ที่คัดค้านต่างชาติเข้าแทรกแซงในซีกโลกตะวันตก ลัทธิมอนโรซึ่งเริ่มต้นจากคำแถลงนโยบายฝ่ายเดียวของประธานาธิบดี เจมส์ มอนโร ที่ปรากฎอยู่ในสาร "สเต็ต ออฟ ยูเนียน" ที่ส่งไปถึงสภาคองเกรสเมื่อปี ค.ศ. 1823 ได้กล่าวถึง เจตจำนงของสหรัฐอเมริกาด้วยว่า หากต่างประเทศไม่แทรกแซงในซีกโลกตะวันตก สหรัฐ ฯ ก็จะไม่เข้าแทรกแซงในกิจการภายในของยุโรปเป็นการตอบแทนเช่นเดียวกัน ที่สหรัฐอเมริกามีแถลงการณ์นี้ออกมาก็เพราะมีความวิตกกังวลว่า เมื่อสงครามนโปเลียนยุติลงแล้ว พันธมิตรศักดิ์สิทธิ์หรือโฮลีแอลไลแอนซ์ (ความตกลงระหว่างกษัตริย์ของรัสเซีย ปรัสเซีย และออสเตรีย เมื่อปี ค.ศ.1815) อาจจะเข้ามาช่วยเหลือในการสถาปนาจักรวรรดิอาณานิคมของสเปนขึ้นมาใหม่ โดยวิธียึดครองสาธารณรัฐต่างๆในละตินอเมริกาที่ได้เอกราชใหม่
ความสำคัญ ลัทธิมอนโรได้ถูกใช้เป็นเครื่องชี้แนวทางนโยบายต่างประเทศสหรัฐอเมริกาใน "ซีกโลกตะวันตก" มากว่าหนึ่งร้อยห้าสิบปี หลังการประชุม "คองเกรส ออฟ เวียนนา ปี ค.ศ.1815" อังกฤษซึ่งเป็นมหาอำนาจทางทะเลในขณะนั้น ได้สถาปนา "แพกซ์ บริแทนนิกา" ขึ้นมาในละตินอเมริกา เป็นการให้การสนับสนุนลัทธิมอนโรนี้โดยอ้อมเพราะเป็นการแสดงว่าอังกฤษให้ความสนใจใน "ซีกโลกตะวันตก" นี้เหมือนกับสหรัฐอเมริกา พอถึงปลายคริสตศตวรรษที่ 18 สหรัฐอเมริกามีอานุภาพทางทหารเพียงพอที่จะนำมาใช้สนับสนุนลัทธิมอนโรนี้ โดยได้ใช้กำลังทหารเข้าแทรกแซงบ้าง มีการปฏิบัติการฝ่ายเดียวบ้าง มีการออกแถลงการณ์ย้ำถึงลัทธิมอนโรนี้บ้าง ก็จึงทำให้เป็นที่ขัดเคืองใจของประเทศต่าง ๆ ในละตินอเมริกา แต่เมื่อได้มีการประกาศใช้นโยบายเพื่อนบ้านที่ดีเมื่อปี ค.ศ.1903 แล้ว หลักการของลัทธิมอนโรนี้ก็ได้ดำเนินผ่านทางกระบวนการในรูปแบบพหุภาคี กล่าวคือ ในการสร้างเอกภาพทางด้านการเมืองนั้น ก็ได้ดำเนินการผ่านทางองค์การนานารัฐในทวีปอเมริกา (โอเอเอส) ส่วนที่เกี่ยวกับนโยบายความมั่นคงเพื่อต่อต้านการแทรกแซงจากต่างประเทศนั้น ก็ออกมาในรูปของสนธิสัญญาริโอ กระนั้นก็ดีก็ยังไม่มีฉันทามติเกี่ยวกับปัญหาที่ว่าเป็นการสมควรหรือไม่หรือควรทำอย่างไร ถึงจะนำลัทธิมอนโรนี้มาประยุกต์ใช้กับปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในละตินอเมริกา อาทิ (1) การจัดตั้งรัฐบาลคอมมิวนิสต์ในคิวบา (2) กิจกรรมการบ่อนทำลายตามที่ต่าง ๆ ในละตินอเมริกา และ (3) สหรัฐ ฯเข้าแทรกแซงในปฏิวัติภายใน เช่น ที่กัวเตมาลา เอลซัลวาดอร์ และนิการากัว เป็นต้น
หลักการขั้นพื้นฐานของนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา ที่คัดค้านต่างชาติเข้าแทรกแซงในซีกโลกตะวันตก ลัทธิมอนโรซึ่งเริ่มต้นจากคำแถลงนโยบายฝ่ายเดียวของประธานาธิบดี เจมส์ มอนโร ที่ปรากฎอยู่ในสาร "สเต็ต ออฟ ยูเนียน" ที่ส่งไปถึงสภาคองเกรสเมื่อปี ค.ศ. 1823 ได้กล่าวถึง เจตจำนงของสหรัฐอเมริกาด้วยว่า หากต่างประเทศไม่แทรกแซงในซีกโลกตะวันตก สหรัฐ ฯ ก็จะไม่เข้าแทรกแซงในกิจการภายในของยุโรปเป็นการตอบแทนเช่นเดียวกัน ที่สหรัฐอเมริกามีแถลงการณ์นี้ออกมาก็เพราะมีความวิตกกังวลว่า เมื่อสงครามนโปเลียนยุติลงแล้ว พันธมิตรศักดิ์สิทธิ์หรือโฮลีแอลไลแอนซ์ (ความตกลงระหว่างกษัตริย์ของรัสเซีย ปรัสเซีย และออสเตรีย เมื่อปี ค.ศ.1815) อาจจะเข้ามาช่วยเหลือในการสถาปนาจักรวรรดิอาณานิคมของสเปนขึ้นมาใหม่ โดยวิธียึดครองสาธารณรัฐต่างๆในละตินอเมริกาที่ได้เอกราชใหม่
ความสำคัญ ลัทธิมอนโรได้ถูกใช้เป็นเครื่องชี้แนวทางนโยบายต่างประเทศสหรัฐอเมริกาใน "ซีกโลกตะวันตก" มากว่าหนึ่งร้อยห้าสิบปี หลังการประชุม "คองเกรส ออฟ เวียนนา ปี ค.ศ.1815" อังกฤษซึ่งเป็นมหาอำนาจทางทะเลในขณะนั้น ได้สถาปนา "แพกซ์ บริแทนนิกา" ขึ้นมาในละตินอเมริกา เป็นการให้การสนับสนุนลัทธิมอนโรนี้โดยอ้อมเพราะเป็นการแสดงว่าอังกฤษให้ความสนใจใน "ซีกโลกตะวันตก" นี้เหมือนกับสหรัฐอเมริกา พอถึงปลายคริสตศตวรรษที่ 18 สหรัฐอเมริกามีอานุภาพทางทหารเพียงพอที่จะนำมาใช้สนับสนุนลัทธิมอนโรนี้ โดยได้ใช้กำลังทหารเข้าแทรกแซงบ้าง มีการปฏิบัติการฝ่ายเดียวบ้าง มีการออกแถลงการณ์ย้ำถึงลัทธิมอนโรนี้บ้าง ก็จึงทำให้เป็นที่ขัดเคืองใจของประเทศต่าง ๆ ในละตินอเมริกา แต่เมื่อได้มีการประกาศใช้นโยบายเพื่อนบ้านที่ดีเมื่อปี ค.ศ.1903 แล้ว หลักการของลัทธิมอนโรนี้ก็ได้ดำเนินผ่านทางกระบวนการในรูปแบบพหุภาคี กล่าวคือ ในการสร้างเอกภาพทางด้านการเมืองนั้น ก็ได้ดำเนินการผ่านทางองค์การนานารัฐในทวีปอเมริกา (โอเอเอส) ส่วนที่เกี่ยวกับนโยบายความมั่นคงเพื่อต่อต้านการแทรกแซงจากต่างประเทศนั้น ก็ออกมาในรูปของสนธิสัญญาริโอ กระนั้นก็ดีก็ยังไม่มีฉันทามติเกี่ยวกับปัญหาที่ว่าเป็นการสมควรหรือไม่หรือควรทำอย่างไร ถึงจะนำลัทธิมอนโรนี้มาประยุกต์ใช้กับปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในละตินอเมริกา อาทิ (1) การจัดตั้งรัฐบาลคอมมิวนิสต์ในคิวบา (2) กิจกรรมการบ่อนทำลายตามที่ต่าง ๆ ในละตินอเมริกา และ (3) สหรัฐ ฯเข้าแทรกแซงในปฏิวัติภายใน เช่น ที่กัวเตมาลา เอลซัลวาดอร์ และนิการากัว เป็นต้น
National Security Council (NSC)
สภาความมั่งคงแห่งชาติ (เอ็นเอสซี)
หน่วยงานที่ปรึกษาในสำนักฝ่ายบริหาร ที่ก่อตั้งขึ้นมาโดยรัฐบัญญัติความมั่งคงแห่งชาติปี ค.ศ. 1947 เพื่อให้คำปรึกษาแก่ประธานาธิบดีทางด้านการสร้างบูรณาการนโยบายภายใน นโยบายต่างประเทศ และนโยบายทางทหารที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงแห่งชาติ สมาชิกตามกฎหมายของสภาความมั่นคงแห่งชาตินี้ประกอบด้วยประธานาธิบดี รองประธานาธิบดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม นอกจากนี้แล้วยังมีผู้เข้าร่วมประชุมในสภาความมั่นคง คือ ประธานคณะเสนาธิการร่วม และผู้อำนวยการหน่วยข่าวกรองกลาง (ซีไอเอ) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำงานอยู่ภายใต้การกำกับของสภาความมั่นคงแห่งชาตินี้ นอกจากนั้นแล้วประธานาธิบดีจะเชิญเจ้าหน้าที่อื่น ๆ มาประชุมด้วย อาทิ ผู้อำนวยการการจัดการและการงบประมาณ หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่ประธานาธิบดีเห็นว่าควรจะมาเข้าประชุมด้วย ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของประธานาธิบดี จะเป็นหัวหน้าสภาความมั่นคงแห่งชาติ
ความสำคัญ สภาความมั่นคงแห่งชาติถูกออกแบบมาให้ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานที่ปรึกษาระดับสูงสุดของประธานาธิบดีในด้านกิจการความมั่นคงแห่งชาติ อย่างไรก็ตามประธานาธิบดีมีอำนาจตามรัฐธรรมนูญขั้นสุดท้ายในด้านกลาโหม และในการตกลงใจว่าควรใช้บริการจากสภาความมั่นคงนี้หรือไม่ และเมื่อจะใช้ควรใช้ในสภาพแวดล้อมชนิดใด นับตั้งแต่ที่ได้มีการก่อตั้งสภาความมั่นคงแห่งชาติขึ้นมา บทบาทของสภาความมั่งคงในการให้คำปรึกษาแก่ประธานาธิบดีจะแตกต่างไปตามสไตล์การทำงานของประธานาธิบดีแต่ละคน บทบาทของสภาความมั่นคงแห่งชาติที่กำหนดไว้นั้น ก็คือ ทำการศึกษาปัญหาที่เกี่ยวกับด้านกลาโหมแล้วให้คำเสนอแนะ สภาความมั่นคงแห่งชาติไม่ได้จัดตั้งขึ้นมาเพื่อตกลงใจในยุทธศาสตร์และเพื่อให้มารับผิดชอบอย่างเต็มที่ในการทำนโยบายให้เป็นจริงขึ้นมาแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามรัฐบาลสหรัฐ ฯ ในยุคต่าง ๆ เมื่อไม่นานมานี้ บางทีก็จะให้สภาความมั่นคงแห่งชาติดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ส่งอาวุธให้อิหร่านเมื่อคราวทำสงครามอยู่กับอิรัก และให้ความช่วยเหลือแก่กองกำลังกบฎคอนทราในนิการากัว เป็นต้น นับตั้งแต่ยุคของเฮนรี คิสซิงเกอร์ เป็นต้นมา ประธานาธิบดีจะพึ่งคำปรึกษาของคณะที่ปรึกษาสภาความมั่นคงแห่งชาติ พอ ๆ กับที่พึ่งคำปรึกษาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ หรืออาจจะพึ่งฝ่ายแรกมากกว่าฝ่ายหลังด้วยซ้ำไป
หน่วยงานที่ปรึกษาในสำนักฝ่ายบริหาร ที่ก่อตั้งขึ้นมาโดยรัฐบัญญัติความมั่งคงแห่งชาติปี ค.ศ. 1947 เพื่อให้คำปรึกษาแก่ประธานาธิบดีทางด้านการสร้างบูรณาการนโยบายภายใน นโยบายต่างประเทศ และนโยบายทางทหารที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงแห่งชาติ สมาชิกตามกฎหมายของสภาความมั่นคงแห่งชาตินี้ประกอบด้วยประธานาธิบดี รองประธานาธิบดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม นอกจากนี้แล้วยังมีผู้เข้าร่วมประชุมในสภาความมั่นคง คือ ประธานคณะเสนาธิการร่วม และผู้อำนวยการหน่วยข่าวกรองกลาง (ซีไอเอ) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำงานอยู่ภายใต้การกำกับของสภาความมั่นคงแห่งชาตินี้ นอกจากนั้นแล้วประธานาธิบดีจะเชิญเจ้าหน้าที่อื่น ๆ มาประชุมด้วย อาทิ ผู้อำนวยการการจัดการและการงบประมาณ หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่ประธานาธิบดีเห็นว่าควรจะมาเข้าประชุมด้วย ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของประธานาธิบดี จะเป็นหัวหน้าสภาความมั่นคงแห่งชาติ
ความสำคัญ สภาความมั่นคงแห่งชาติถูกออกแบบมาให้ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานที่ปรึกษาระดับสูงสุดของประธานาธิบดีในด้านกิจการความมั่นคงแห่งชาติ อย่างไรก็ตามประธานาธิบดีมีอำนาจตามรัฐธรรมนูญขั้นสุดท้ายในด้านกลาโหม และในการตกลงใจว่าควรใช้บริการจากสภาความมั่นคงนี้หรือไม่ และเมื่อจะใช้ควรใช้ในสภาพแวดล้อมชนิดใด นับตั้งแต่ที่ได้มีการก่อตั้งสภาความมั่นคงแห่งชาติขึ้นมา บทบาทของสภาความมั่งคงในการให้คำปรึกษาแก่ประธานาธิบดีจะแตกต่างไปตามสไตล์การทำงานของประธานาธิบดีแต่ละคน บทบาทของสภาความมั่นคงแห่งชาติที่กำหนดไว้นั้น ก็คือ ทำการศึกษาปัญหาที่เกี่ยวกับด้านกลาโหมแล้วให้คำเสนอแนะ สภาความมั่นคงแห่งชาติไม่ได้จัดตั้งขึ้นมาเพื่อตกลงใจในยุทธศาสตร์และเพื่อให้มารับผิดชอบอย่างเต็มที่ในการทำนโยบายให้เป็นจริงขึ้นมาแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามรัฐบาลสหรัฐ ฯ ในยุคต่าง ๆ เมื่อไม่นานมานี้ บางทีก็จะให้สภาความมั่นคงแห่งชาติดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ส่งอาวุธให้อิหร่านเมื่อคราวทำสงครามอยู่กับอิรัก และให้ความช่วยเหลือแก่กองกำลังกบฎคอนทราในนิการากัว เป็นต้น นับตั้งแต่ยุคของเฮนรี คิสซิงเกอร์ เป็นต้นมา ประธานาธิบดีจะพึ่งคำปรึกษาของคณะที่ปรึกษาสภาความมั่นคงแห่งชาติ พอ ๆ กับที่พึ่งคำปรึกษาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ หรืออาจจะพึ่งฝ่ายแรกมากกว่าฝ่ายหลังด้วยซ้ำไป
Nicaragua V. The United States
คดีระหว่างนิการากัว กับสหรัฐอเมริกา
คดีที่รัฐบาลซานดานิสตาของประเทศนิการากัว ยื่นข้อเสนอต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ไอซีเจ) เมื่อปี ค.ศ. 1984 โดยที่นิการากัวอ้างว่า การที่สหรัฐอเมริกาได้ให้ความช่วยเหลือในการวางทุ่นระเบิดตามท่าเรือต่าง ๆ ของนิการากัวและในการให้การสนับสนุนฝ่ายกบฎคอนทราทำการโจมตีทางทหารต่อรัฐบาลนิการากัวที่ถูกต้องตามกฎหมายและที่สหรัฐ ฯ ก็ให้การรับรองนั้น เป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ ดังนั้นรัฐบาลนิการากัวจึงได้เรียกร้องค่าเสียหายจากสหรัฐ ฯ ข้างฝ่ายสหรัฐ ฯ ซึ่งคาดหมายไว้แต่แรกว่านิการากัวจะใช้วิธีนี้ จึงได้ปฏิเสธอำนาจศาลของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศที่จะมาพิจารณาคดีนี้ ต่อแต่นั้นนิการากัวได้ยื่นข้อเสนอใหม่ให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศออกคำสั่งห้ามสหรัฐ ฯ ให้ความช่วยเหลือแก่ฝ่ายกบฎคอนทราจนกว่าศาลจะนั่งพิจารณาคดี ซึ่งจะมีขึ้นในระหว่างวันที่ 12 - 20 กันยายน ค.ศ.1985 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศยอมรับข้อเสนอของฝ่ายนิการากัวแต่สหรัฐ ฯ ได้ทำการคัดค้าน ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้ตัดสินให้สหรัฐ ฯ ยุติให้ความช่วยเหลือแก่ฝ่ายกบฎคอนทรานั้นเสีย แต่สหรัฐ ฯ นิ่งเฉยไม่ยอมปฏิบัติตามคำตัดสินของศาลฯ
ความสำคัญ ความสามารถของสหรัฐ ฯ ที่จะมีอิทธิพลต่อเหตุการณ์ของโลกได้ลดน้อยถอยลงไปมากในช่วง 25 ปีสุดท้ายก่อนที่สิ้นคริสตศตวรรษที่ 20 การเปลี่ยนแปลงในสถานภาพของสหรัฐ ฯ ได้แสดงออกมาให้เห็นจากการเปลี่ยนแปลงในนโยบายต่างประเทศหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการบริหารงานของประธานาธิบดีโรนัลด์ เรเกน โดยเป็นนโยบายที่เคลื่อนจากฐานเดิม คือ นโยบายอิงลัทธิพหุภาคีนิยมในสถาบันระหว่างประเทศต่าง ๆ ที่ตนเองได้ช่วยจัดตั้งขึ้นมา การเคลื่อนออกจากฐานนโยบายเดิมนี้บ่งบอกว่าเป็นการกลับคืนสู่นโยบายที่อิงอาศัยลัทธิเอกภาคีนิยมในยุคที่โลกต้องมีการพึ่งพาอาศัยกันในระหว่างประเทศเพิ่มมากขึ้นนี้ หลักฐานที่บ่งบอกว่าเป็นเช่นนี้ ได้แก่ (1) สหรัฐ ฯ ได้ถอนตัวออกจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) และจากองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) (2) ได้โจมตีบทบาทปัจจุบันของสมัชชาใหญ่และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาติ (3) ได้ปฏิเสธอำนาจศาลของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในนิการากัว ในฐานะที่เป็นรัฐมีอำนาจอธิปไตยสหรัฐอเมริกามีสิทธิตามกฎหมายที่จะตกลงใจเช่นนี้ได้ แต่ก็ทำให้เกิดผลเสียทางการเมืองตามมา การที่สหรัฐ ฯ ปฏิเสธอำนาจของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศนี้ถือว่าเป็นการเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนอย่างสุด ๆ ทั้งนี้เพราะสหรัฐ ฯ มีธรรมเนียมปฏิบัติในการยืนหยัดที่จะพัฒนาและใช้หลักนิติธรรมในการดำเนินกิจการระหว่างประเทศมาตลอด ความจริงแล้วสหรัฐอเมริกาเคยใช้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศนี้เมื่อปี ค.ศ. 1980 ซึ่งตอนนั้นสหรัฐ ฯ ได้นำคดีวิกฤติที่อิหร่านยึดนักการทูตอเมริกันเป็นตัวประกันให้ศาลพิจารณา และได้ประณามอิหร่านที่ปฏิเสธอำนาจของศาล ฯ ในทำนองเดียวกันนี้
คดีที่รัฐบาลซานดานิสตาของประเทศนิการากัว ยื่นข้อเสนอต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ไอซีเจ) เมื่อปี ค.ศ. 1984 โดยที่นิการากัวอ้างว่า การที่สหรัฐอเมริกาได้ให้ความช่วยเหลือในการวางทุ่นระเบิดตามท่าเรือต่าง ๆ ของนิการากัวและในการให้การสนับสนุนฝ่ายกบฎคอนทราทำการโจมตีทางทหารต่อรัฐบาลนิการากัวที่ถูกต้องตามกฎหมายและที่สหรัฐ ฯ ก็ให้การรับรองนั้น เป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ ดังนั้นรัฐบาลนิการากัวจึงได้เรียกร้องค่าเสียหายจากสหรัฐ ฯ ข้างฝ่ายสหรัฐ ฯ ซึ่งคาดหมายไว้แต่แรกว่านิการากัวจะใช้วิธีนี้ จึงได้ปฏิเสธอำนาจศาลของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศที่จะมาพิจารณาคดีนี้ ต่อแต่นั้นนิการากัวได้ยื่นข้อเสนอใหม่ให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศออกคำสั่งห้ามสหรัฐ ฯ ให้ความช่วยเหลือแก่ฝ่ายกบฎคอนทราจนกว่าศาลจะนั่งพิจารณาคดี ซึ่งจะมีขึ้นในระหว่างวันที่ 12 - 20 กันยายน ค.ศ.1985 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศยอมรับข้อเสนอของฝ่ายนิการากัวแต่สหรัฐ ฯ ได้ทำการคัดค้าน ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้ตัดสินให้สหรัฐ ฯ ยุติให้ความช่วยเหลือแก่ฝ่ายกบฎคอนทรานั้นเสีย แต่สหรัฐ ฯ นิ่งเฉยไม่ยอมปฏิบัติตามคำตัดสินของศาลฯ
ความสำคัญ ความสามารถของสหรัฐ ฯ ที่จะมีอิทธิพลต่อเหตุการณ์ของโลกได้ลดน้อยถอยลงไปมากในช่วง 25 ปีสุดท้ายก่อนที่สิ้นคริสตศตวรรษที่ 20 การเปลี่ยนแปลงในสถานภาพของสหรัฐ ฯ ได้แสดงออกมาให้เห็นจากการเปลี่ยนแปลงในนโยบายต่างประเทศหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการบริหารงานของประธานาธิบดีโรนัลด์ เรเกน โดยเป็นนโยบายที่เคลื่อนจากฐานเดิม คือ นโยบายอิงลัทธิพหุภาคีนิยมในสถาบันระหว่างประเทศต่าง ๆ ที่ตนเองได้ช่วยจัดตั้งขึ้นมา การเคลื่อนออกจากฐานนโยบายเดิมนี้บ่งบอกว่าเป็นการกลับคืนสู่นโยบายที่อิงอาศัยลัทธิเอกภาคีนิยมในยุคที่โลกต้องมีการพึ่งพาอาศัยกันในระหว่างประเทศเพิ่มมากขึ้นนี้ หลักฐานที่บ่งบอกว่าเป็นเช่นนี้ ได้แก่ (1) สหรัฐ ฯ ได้ถอนตัวออกจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) และจากองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) (2) ได้โจมตีบทบาทปัจจุบันของสมัชชาใหญ่และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาติ (3) ได้ปฏิเสธอำนาจศาลของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในนิการากัว ในฐานะที่เป็นรัฐมีอำนาจอธิปไตยสหรัฐอเมริกามีสิทธิตามกฎหมายที่จะตกลงใจเช่นนี้ได้ แต่ก็ทำให้เกิดผลเสียทางการเมืองตามมา การที่สหรัฐ ฯ ปฏิเสธอำนาจของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศนี้ถือว่าเป็นการเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนอย่างสุด ๆ ทั้งนี้เพราะสหรัฐ ฯ มีธรรมเนียมปฏิบัติในการยืนหยัดที่จะพัฒนาและใช้หลักนิติธรรมในการดำเนินกิจการระหว่างประเทศมาตลอด ความจริงแล้วสหรัฐอเมริกาเคยใช้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศนี้เมื่อปี ค.ศ. 1980 ซึ่งตอนนั้นสหรัฐ ฯ ได้นำคดีวิกฤติที่อิหร่านยึดนักการทูตอเมริกันเป็นตัวประกันให้ศาลพิจารณา และได้ประณามอิหร่านที่ปฏิเสธอำนาจของศาล ฯ ในทำนองเดียวกันนี้
Peace Corps
หน่วยสันติภาพ
โครงการส่งอาสาสมัครอเมริกันไปทำงานในประเทศต่าง ๆ เพื่อสันติภาพโลก โดยใช้วิธีการพัฒนาและความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม หน่วยสันติภาพนี้ถูกสร้างขึ้นมาครั้งแรก โดยคำสั่งฝ่ายบริหารของประธานาธิบดี จอห์น เอฟ. เคนเนดี เมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ.1961 และได้รับการจัดตั้งโดยรัฐบัญญัติในเดือนกันยายนของปีเดียวกัน รัฐบัญญัติฉบับนี้กำหนดไว้ว่า โครงการหน่วยสันติภาพนี้ถูกออกแบบเพื่อช่วยเหลือประเทศที่กำลังพัฒนาที่ได้ร้องขอ "เพื่อสนองตอบต่อความต้องการกำลังคนที่ผ่านการฝึกอบรมมาแล้ว และเพื่อส่งเสริมความเข้าใจกันดีมากยิ่งขึ้นของคนประเทศอื่นที่มีต่อคนอเมริกัน... และของคนอเมริกันที่มีต่อคนประเทศอื่น "
ความสำคัญ โครงการหน่วยสันติภาพ มุ่งให้ความช่วยเหลือต่างประเทศในรูปแบบใหม่ คือ การจัดหาทรัพยากรมนุษย์ให้ไปช่วยเหลือชาติต่าง ๆ ในกระบวนการสร้างความทันสมัย โครงการสันติภาพนับแต่ที่ได้เกิดขึ้นมาก็ได้มีคนอเมริกันหลายพันคนเป็นอาสาสมัครเดินทางไปอยู่คลุกคลีกับคนในระดับรากหญ้า(พื้นบ้าน)ตามประเทศต่าง ๆ กว่า 56 ประเทศ เป็นเวลา 2 ปี อาสาสมัครเหล่านี้ได้รับการฝึกอบรมในสหรัฐฯก่อนที่จะเดินทางไปอยู่และร่วมทำงานกับประชาชนที่พวกเขาไปให้การรับใช้ อาสาสมัครเหล่านี้ได้รับเงินเดือนไม่มาก อาสาสมัครส่วนใหญ่มีแรงจูงใจมาจากความต้องการจะให้ความช่วยเหลือผู้อื่น และจากความรู้สึกอยากผจญภัย อาสาสมัครจำนวนเกือบครึ่งหนึ่งเป็นครูอาจารย์สอนตามสถาบันศึกษาต่าง ๆ ส่วนอีกครึ่งหนึ่งทำงานในโครงการการเกษตร โครงการสาธารณสุข โครงการโยธาธิการ และโครงการพัฒนาชุมชน ประเทศที่รับอาสาสมัครชาวอเมริกันไปอยู่ล้วนมีท่าทีที่ดี ดังจะเห็นได้จากการมีการขออาสาสมัครเกินกว่าจำนวนที่จะให้การสนับสนุนได้
โครงการส่งอาสาสมัครอเมริกันไปทำงานในประเทศต่าง ๆ เพื่อสันติภาพโลก โดยใช้วิธีการพัฒนาและความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม หน่วยสันติภาพนี้ถูกสร้างขึ้นมาครั้งแรก โดยคำสั่งฝ่ายบริหารของประธานาธิบดี จอห์น เอฟ. เคนเนดี เมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ.1961 และได้รับการจัดตั้งโดยรัฐบัญญัติในเดือนกันยายนของปีเดียวกัน รัฐบัญญัติฉบับนี้กำหนดไว้ว่า โครงการหน่วยสันติภาพนี้ถูกออกแบบเพื่อช่วยเหลือประเทศที่กำลังพัฒนาที่ได้ร้องขอ "เพื่อสนองตอบต่อความต้องการกำลังคนที่ผ่านการฝึกอบรมมาแล้ว และเพื่อส่งเสริมความเข้าใจกันดีมากยิ่งขึ้นของคนประเทศอื่นที่มีต่อคนอเมริกัน... และของคนอเมริกันที่มีต่อคนประเทศอื่น "
ความสำคัญ โครงการหน่วยสันติภาพ มุ่งให้ความช่วยเหลือต่างประเทศในรูปแบบใหม่ คือ การจัดหาทรัพยากรมนุษย์ให้ไปช่วยเหลือชาติต่าง ๆ ในกระบวนการสร้างความทันสมัย โครงการสันติภาพนับแต่ที่ได้เกิดขึ้นมาก็ได้มีคนอเมริกันหลายพันคนเป็นอาสาสมัครเดินทางไปอยู่คลุกคลีกับคนในระดับรากหญ้า(พื้นบ้าน)ตามประเทศต่าง ๆ กว่า 56 ประเทศ เป็นเวลา 2 ปี อาสาสมัครเหล่านี้ได้รับการฝึกอบรมในสหรัฐฯก่อนที่จะเดินทางไปอยู่และร่วมทำงานกับประชาชนที่พวกเขาไปให้การรับใช้ อาสาสมัครเหล่านี้ได้รับเงินเดือนไม่มาก อาสาสมัครส่วนใหญ่มีแรงจูงใจมาจากความต้องการจะให้ความช่วยเหลือผู้อื่น และจากความรู้สึกอยากผจญภัย อาสาสมัครจำนวนเกือบครึ่งหนึ่งเป็นครูอาจารย์สอนตามสถาบันศึกษาต่าง ๆ ส่วนอีกครึ่งหนึ่งทำงานในโครงการการเกษตร โครงการสาธารณสุข โครงการโยธาธิการ และโครงการพัฒนาชุมชน ประเทศที่รับอาสาสมัครชาวอเมริกันไปอยู่ล้วนมีท่าทีที่ดี ดังจะเห็นได้จากการมีการขออาสาสมัครเกินกว่าจำนวนที่จะให้การสนับสนุนได้
Point Four Program
โครงการพ้อยท์โฟว์
โครงการที่ออกแบบไว้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสร้างความทันสมัยโดยวิธีให้ความช่วยเหลือในด้านความรู้และทักษะทางเทคนิคแก่ประเทศผู้รับ โครงการพ้อยท์โฟว์นี้เกิดขึ้นจากการที่ได้มีการเรียกร้องให้สภาคองเกรสให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคแก่ต่างประเทศ ที่โครงการมีชื่อเรียกว่าพ้อยท์โฟว์นั้นก็เพราะเป็นข้อสำคัญข้อที่ 4 ในคำปราศรัยในพิธีเข้ารับตำแหน่งของประธานาธิบดีแฮร์รี่ ทรูแมน เมื่อวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 1949 ประธานาธิบดีทรูแมนได้สนับสนุนให้มีการธำรงสันติภาพและอิสรภาพ โดยวิธีการใช้ "โครงการใหม่ ๆ เพื่อนำความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และความก้าวหน้าทางอุตสหกรรมของเราไปใช้ประโยชน์และเพื่อปรับปรุงการสร้างความเจริญเติบโตแก่ดินแดนที่ด้อยพัฒนาทั้งหลาย" ในการดำเนินการให้เป็นไปตามโครงการพ้อยท์โฟว์นี้ ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบัญญัติเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ ปี ค.ศ. 1950
ความสำคัญ โครงการพ้อยท์โฟว์เป็นที่นิยมมากในสหรัฐอเมริกาด้วยเหตุผลหลายอย่าง เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือ มีความมั่นใจในคุณภาพของความรู้และทักษะของสหรัฐฯว่าจะนำไปใช้ช่วยเหลือประเทศด้อยพัฒนาได้ และโครงการนี้ใช้จ่ายเงินไม่แพงเมื่อเทียบกับโครงการอื่น ๆ ในปีแรกที่เริ่มโครงการมีการจัดสรรเงินงบประมาณสนับสนุนจำนวน 45 ล้านดอลลาร์ แต่ด้วยเหตุที่มีการใช้เงินอย่างประหยัดนี่เอง จึงทำให้โครงการประสบความสำเร็จอยู่ในขอบเขตจำกัด ในช่วงนั้นไม่ได้เกิดความตระหนักว่าการที่โครงการนี้จะบรรลุถึงวัตถุประสงค์ตามที่ได้ตั้งไว้นั้นได้ ก็ต้องมีเงินทุนนำไปใช้สนับสนุนความสามารถทางเทคนิคที่ได้มาใหม่ของประเทศที่กำลังพัฒนาเหล่านี้ โครงการพ้อยท์โฟว์นี้เป็นโครงการให้ความช่วยเหลือโครงการแรก ๆ ในอีกหลาย ๆ โครงการที่ดำเนินการจัดหาให้โดยสหรัฐอเมริกา ประเทศที่เจริญแล้วอื่น ๆ และสหประชาชาติ เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนาในกระบวนการสร้างความทันสมัยของประเทศเหล่านี้
โครงการที่ออกแบบไว้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสร้างความทันสมัยโดยวิธีให้ความช่วยเหลือในด้านความรู้และทักษะทางเทคนิคแก่ประเทศผู้รับ โครงการพ้อยท์โฟว์นี้เกิดขึ้นจากการที่ได้มีการเรียกร้องให้สภาคองเกรสให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคแก่ต่างประเทศ ที่โครงการมีชื่อเรียกว่าพ้อยท์โฟว์นั้นก็เพราะเป็นข้อสำคัญข้อที่ 4 ในคำปราศรัยในพิธีเข้ารับตำแหน่งของประธานาธิบดีแฮร์รี่ ทรูแมน เมื่อวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 1949 ประธานาธิบดีทรูแมนได้สนับสนุนให้มีการธำรงสันติภาพและอิสรภาพ โดยวิธีการใช้ "โครงการใหม่ ๆ เพื่อนำความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และความก้าวหน้าทางอุตสหกรรมของเราไปใช้ประโยชน์และเพื่อปรับปรุงการสร้างความเจริญเติบโตแก่ดินแดนที่ด้อยพัฒนาทั้งหลาย" ในการดำเนินการให้เป็นไปตามโครงการพ้อยท์โฟว์นี้ ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบัญญัติเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ ปี ค.ศ. 1950
ความสำคัญ โครงการพ้อยท์โฟว์เป็นที่นิยมมากในสหรัฐอเมริกาด้วยเหตุผลหลายอย่าง เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือ มีความมั่นใจในคุณภาพของความรู้และทักษะของสหรัฐฯว่าจะนำไปใช้ช่วยเหลือประเทศด้อยพัฒนาได้ และโครงการนี้ใช้จ่ายเงินไม่แพงเมื่อเทียบกับโครงการอื่น ๆ ในปีแรกที่เริ่มโครงการมีการจัดสรรเงินงบประมาณสนับสนุนจำนวน 45 ล้านดอลลาร์ แต่ด้วยเหตุที่มีการใช้เงินอย่างประหยัดนี่เอง จึงทำให้โครงการประสบความสำเร็จอยู่ในขอบเขตจำกัด ในช่วงนั้นไม่ได้เกิดความตระหนักว่าการที่โครงการนี้จะบรรลุถึงวัตถุประสงค์ตามที่ได้ตั้งไว้นั้นได้ ก็ต้องมีเงินทุนนำไปใช้สนับสนุนความสามารถทางเทคนิคที่ได้มาใหม่ของประเทศที่กำลังพัฒนาเหล่านี้ โครงการพ้อยท์โฟว์นี้เป็นโครงการให้ความช่วยเหลือโครงการแรก ๆ ในอีกหลาย ๆ โครงการที่ดำเนินการจัดหาให้โดยสหรัฐอเมริกา ประเทศที่เจริญแล้วอื่น ๆ และสหประชาชาติ เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนาในกระบวนการสร้างความทันสมัยของประเทศเหล่านี้
President
ประธานาธิบดี
บุคคลสำคัญในระบบการปกครองของสหรัฐอเมริกา ประธานาธิบดีเป็นประมุขของฝ่ายบริหารของชาติ เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดของสามเหล่าทัพ และเป็นตัวแทนของชาติต่อโลกภายนอก อำนาจของประธานาธิบดีในกิจการต่างประเทศอิงอาศัย (1)รัฐธรรมนูญ(2) กฎหมาย(3) ขนบธรรมเนียมและประเพณี (4) การตีความของศาล (5) การเป็นผู้นำพรรคการเมือง และ(6) การสนับสนุนของสาธารณชน แหล่งอำนาจของแต่ละอย่างเหล่านี้ ได้ถูกพัฒนาและถูกนำมาใช้โดยบุคคลที่เข้ามาดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดี แต่ขอบข่ายของบทบาทของบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีที่เป็นที่เข้าใจกันมากที่สุดนั้น ได้แก่ (1) บทบาทเป็นประมุขของนักการทูต (2) บทบาทเป็นประมุขของผู้ดำนินนโยบายต่างประเทศ (3) บทบาทเป็นประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ(4) บทบาทเป็นผู้บัญชาการทหารสามเหล่าทัพ นอกจากนี้ประธานาธิบดีก็ยังมีอำนาจด้านต่าง ๆ คือ (1) อำนาจในการแต่งตั้งบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ (2) อำนาจในการให้การรับรองและอำนาจในการทำสนธิสัญญา
ความสำคัญ ในด้านกิจการระหว่างประเทศนั้น อำนาจเกิดจากบทบาทผสมของประธานาธิบดี ในฐานะเป็นประมุขรัฐและเป็นประมุขรัฐบาล ผสมผสานกับพลังแห่งชาติที่ประธานาธิบดีเป็นผู้นำอยู่นั้น ทำให้ประมุขฝ่ายบริหารของสหรัฐ ฯ เป็นบุคคลที่มีอำนาจมากที่สุดในโลก ประธานาธิบดีซึ่งมีบทบาทมากมายนี้ ทำหน้าที่เป็นประมุขผู้ดำเนินการพัฒนานโยบายต่างประเทศ และเป็นโฆษกของชาติเพียงผู้เดียวในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ชีวิตของประชาชาติและของประชาชนในหลายพื้นที่ทั่วโลก ย่อมได้รับผลกระทบจากบุคคลที่ชาวอเมริกันเลือกให้เข้ามาดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีในทำเนียบขาวผู้นี้
บุคคลสำคัญในระบบการปกครองของสหรัฐอเมริกา ประธานาธิบดีเป็นประมุขของฝ่ายบริหารของชาติ เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดของสามเหล่าทัพ และเป็นตัวแทนของชาติต่อโลกภายนอก อำนาจของประธานาธิบดีในกิจการต่างประเทศอิงอาศัย (1)รัฐธรรมนูญ(2) กฎหมาย(3) ขนบธรรมเนียมและประเพณี (4) การตีความของศาล (5) การเป็นผู้นำพรรคการเมือง และ(6) การสนับสนุนของสาธารณชน แหล่งอำนาจของแต่ละอย่างเหล่านี้ ได้ถูกพัฒนาและถูกนำมาใช้โดยบุคคลที่เข้ามาดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดี แต่ขอบข่ายของบทบาทของบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีที่เป็นที่เข้าใจกันมากที่สุดนั้น ได้แก่ (1) บทบาทเป็นประมุขของนักการทูต (2) บทบาทเป็นประมุขของผู้ดำนินนโยบายต่างประเทศ (3) บทบาทเป็นประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ(4) บทบาทเป็นผู้บัญชาการทหารสามเหล่าทัพ นอกจากนี้ประธานาธิบดีก็ยังมีอำนาจด้านต่าง ๆ คือ (1) อำนาจในการแต่งตั้งบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ (2) อำนาจในการให้การรับรองและอำนาจในการทำสนธิสัญญา
ความสำคัญ ในด้านกิจการระหว่างประเทศนั้น อำนาจเกิดจากบทบาทผสมของประธานาธิบดี ในฐานะเป็นประมุขรัฐและเป็นประมุขรัฐบาล ผสมผสานกับพลังแห่งชาติที่ประธานาธิบดีเป็นผู้นำอยู่นั้น ทำให้ประมุขฝ่ายบริหารของสหรัฐ ฯ เป็นบุคคลที่มีอำนาจมากที่สุดในโลก ประธานาธิบดีซึ่งมีบทบาทมากมายนี้ ทำหน้าที่เป็นประมุขผู้ดำเนินการพัฒนานโยบายต่างประเทศ และเป็นโฆษกของชาติเพียงผู้เดียวในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ชีวิตของประชาชาติและของประชาชนในหลายพื้นที่ทั่วโลก ย่อมได้รับผลกระทบจากบุคคลที่ชาวอเมริกันเลือกให้เข้ามาดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีในทำเนียบขาวผู้นี้
President : Appointment Power
ประธานาธิบดี : อำนาจในการแต่งตั้ง
อำนาจในการกำหนดตัวบุคคลที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่งในรัฐบาล อำนาจในการแต่งตั้ง (ซึ่งตามปกติเป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหาร) ในสหรัฐ ฯ ได้ถูกดัดแปลงโดยระบบคานและดุลอำนาจ ในมาตรา 2 อนุมาตรา 2 ของรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ว่า ประธานาธิบดี "จะเป็นผู้กำหนดตัวบุคคล และโดยคำแนะนำและความยินยอมของวุฒิสภา เป็นผู้แต่งตั้งเอกอัครราชทูต อัครราชทูตและกงสุล" อำนาจในการแต่งตั้งของประธานาธิบดีและของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้รับการสนับสนุนจากข้อกำหนดของกฎหมาย ภายใต้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมาตราเดียวกันนั้นว่า "สภาคองเกรสตามกฎหมายอาจมอบอำนาจการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ชั้นผู้น้อยดังกล่าวตามแต่จะเห็นสมควร ให้แก่ประธานาธิบดีแต่เพียงผู้เดียว ... หรือแก่รัฐมนตรีเจ้ากระทรวงต่าง ๆ ก็ได้ นอกจากนั้นแล้ว ประธานาธิบดีก็ยังได้รับมอบอำนาจให้แต่งตั้งบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งเป็นเอกอัครราชทูต อัครราชทูต หรือกงสุล ที่ว่างลงในขณะที่วุฒิสภาอยู่ในระหว่างพักการประชุม หากมีการเรียกประชุมวุฒิสภาแล้ว การแต่งตั้งชั่วคราวนั้นไม่ได้รับความยืนยันไม่ว่าจะด้วยเหตุใด ก็ให้การเข้าดำรงตำแหน่งของผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งนั้นสิ้นสุดลงเมื่อสิ้นสุดสมัยประชุมของวุฒิสภา" ด้วยเหตุนี้อำนาจของประธานาธิบดีในการแต่งตั้งได้มาโดยตรงจากรัฐธรรมนูญและได้รับการสนับสนุนจากกฎหมายที่ออกมาโดยสภาคองเกรส
ความสำคัญ ด้วยเหตุที่ประธานาธิบดีต้องรับผิดชอบต่อการดำเนินนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ ดังนั้นบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดี ก็จะต้องเป็นบุคคลที่สามารถดำเนินนโยบายด้วยความพิถีพิถันและด้วยความมีทักษะ ด้วยเหตุนี้ในการกำหนดตัวบุคคลที่จะเป็นเอกอัครราชทูตและนักการทูตอื่น ๆ นั้น ประธานาธิบดีจะมีเอกสิทธิ์อย่างกว้างขวาง และไม่ค่อยจะถูกตรวจสอบจากวุฒิสภาโดยปฏิเสธการให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งนั้น ประธานาธิบดีไม่จำเป็นต้องคัดเลือกบุคคลที่จะดำรงตำแหน่งทางการทูตในระดับสูงจากข้ารัฐการประจำฝ่ายต่างประเทศก็ได้ และในทุกรัฐบาลก็จะมีการแต่งตั้งบุคคลที่จะดำรงตำแหน่งทางการทูตในระดับสูงโดยทางการเมือง แต่นักการทูตมืออาชีพที่ได้รับการแต่งตั้งก็มีประมาณ 50 - 75 % นอกจากนั้นในการดำเนินทางการทูตระดับที่ไม่เป็นทางการนั้นประธานาธิบดีก็อาจจะส่งทูตส่วนตัวนำคณะทูตเดินทางไปยังประเทศต่าง ๆ โดยไม่จำต้องขอคำแนะนำหรือได้รับคำเห็นชอบจากวุฒิสภาเลยก็ได้ ประธานาธิบดีมีอำนาจที่จะถอดถอนเจ้าหน้าที่ทางการทูตได้ทุกเวลา ทั้งนี้เพราะเจ้าหน้าที่ทางฝ่ายบริหารและทางฝ่ายปกครองทุกคนอยู่ในบังคับของประธานาธิบดีทั้งนั้น
อำนาจในการกำหนดตัวบุคคลที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่งในรัฐบาล อำนาจในการแต่งตั้ง (ซึ่งตามปกติเป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหาร) ในสหรัฐ ฯ ได้ถูกดัดแปลงโดยระบบคานและดุลอำนาจ ในมาตรา 2 อนุมาตรา 2 ของรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ว่า ประธานาธิบดี "จะเป็นผู้กำหนดตัวบุคคล และโดยคำแนะนำและความยินยอมของวุฒิสภา เป็นผู้แต่งตั้งเอกอัครราชทูต อัครราชทูตและกงสุล" อำนาจในการแต่งตั้งของประธานาธิบดีและของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้รับการสนับสนุนจากข้อกำหนดของกฎหมาย ภายใต้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมาตราเดียวกันนั้นว่า "สภาคองเกรสตามกฎหมายอาจมอบอำนาจการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ชั้นผู้น้อยดังกล่าวตามแต่จะเห็นสมควร ให้แก่ประธานาธิบดีแต่เพียงผู้เดียว ... หรือแก่รัฐมนตรีเจ้ากระทรวงต่าง ๆ ก็ได้ นอกจากนั้นแล้ว ประธานาธิบดีก็ยังได้รับมอบอำนาจให้แต่งตั้งบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งเป็นเอกอัครราชทูต อัครราชทูต หรือกงสุล ที่ว่างลงในขณะที่วุฒิสภาอยู่ในระหว่างพักการประชุม หากมีการเรียกประชุมวุฒิสภาแล้ว การแต่งตั้งชั่วคราวนั้นไม่ได้รับความยืนยันไม่ว่าจะด้วยเหตุใด ก็ให้การเข้าดำรงตำแหน่งของผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งนั้นสิ้นสุดลงเมื่อสิ้นสุดสมัยประชุมของวุฒิสภา" ด้วยเหตุนี้อำนาจของประธานาธิบดีในการแต่งตั้งได้มาโดยตรงจากรัฐธรรมนูญและได้รับการสนับสนุนจากกฎหมายที่ออกมาโดยสภาคองเกรส
ความสำคัญ ด้วยเหตุที่ประธานาธิบดีต้องรับผิดชอบต่อการดำเนินนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ ดังนั้นบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดี ก็จะต้องเป็นบุคคลที่สามารถดำเนินนโยบายด้วยความพิถีพิถันและด้วยความมีทักษะ ด้วยเหตุนี้ในการกำหนดตัวบุคคลที่จะเป็นเอกอัครราชทูตและนักการทูตอื่น ๆ นั้น ประธานาธิบดีจะมีเอกสิทธิ์อย่างกว้างขวาง และไม่ค่อยจะถูกตรวจสอบจากวุฒิสภาโดยปฏิเสธการให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งนั้น ประธานาธิบดีไม่จำเป็นต้องคัดเลือกบุคคลที่จะดำรงตำแหน่งทางการทูตในระดับสูงจากข้ารัฐการประจำฝ่ายต่างประเทศก็ได้ และในทุกรัฐบาลก็จะมีการแต่งตั้งบุคคลที่จะดำรงตำแหน่งทางการทูตในระดับสูงโดยทางการเมือง แต่นักการทูตมืออาชีพที่ได้รับการแต่งตั้งก็มีประมาณ 50 - 75 % นอกจากนั้นในการดำเนินทางการทูตระดับที่ไม่เป็นทางการนั้นประธานาธิบดีก็อาจจะส่งทูตส่วนตัวนำคณะทูตเดินทางไปยังประเทศต่าง ๆ โดยไม่จำต้องขอคำแนะนำหรือได้รับคำเห็นชอบจากวุฒิสภาเลยก็ได้ ประธานาธิบดีมีอำนาจที่จะถอดถอนเจ้าหน้าที่ทางการทูตได้ทุกเวลา ทั้งนี้เพราะเจ้าหน้าที่ทางฝ่ายบริหารและทางฝ่ายปกครองทุกคนอยู่ในบังคับของประธานาธิบดีทั้งนั้น
President : Chief Diplomat
ประธานาธิบดี : ประมุขนักการทูต
บทบาทของประมุขฝ่ายบริหาร ในฐานะที่เป็นผู้เจรจาระดับสูงสุดของชาติกับรัฐต่างประเทศ ประธานาธิบดีในฐานะที่เป็นประมุขนักการทูตนี้ ทำหน้าที่เป็นคนกลางอย่างเป็นทางการที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาสามารถใช้ติดต่อกับรัฐบาลต่างประเทศได้ อำนาจของประธานาธิบดีในด้านนี้ได้มาโดยตรงและโดยอ้อมจากมาตรา 2 ของรัฐธรรมนูญ ด้วยเหตุนี้ ประธานาธิบดีจึงสามารถ (1) ส่งและรับเอกอัครราชทูต (2) ให้การรับรองหรือถอนการรับรอง (3) ตัดความสัมพันธ์ทางการทูต (4) เจรจาสนธิสัญญา และ (5) มีอำนาจในฐานะเป็นผู้บัญชาการทหารสามเหล่าทัพ ที่จะใช้อำนาจทางทหารของชาติให้การสนับสนุนนโยบายต่างประเทศของสหรัฐ ฯ ได้ ในการสร้างและดำเนินนโยบายต่างประเทศนั้น ประธานาธิบดีจะต้องพึ่งพาอาศัยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ตลอดจนกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ที่เจ้ากระทรวงทั้งสองเป็นหัวหน้าบังคับบัญชาอยู่นั้น
ความสำคัญ ความสำคัญของประธานาธิบดีในฐานะเป็นประมุขนักการทูตนี้ได้รับการรับรองมาตั้งแต่ยุคต้น ๆ ของการก่อตั้งสาธารณรัฐ ศาลสูงในคดี "สหรัฐอเมริกากับเคอร์ติส - ไร้ท์ เอ็กซพอร์ต คอร์ป" มีมติว่า "ประธานาธิบดีเท่านั้นมีอำนาจที่จะพูดหรือฟังในฐานะเป็นตัวแทนของชาติ" การเจรจาโดยตรงในระดับประธานาธิบดีได้ดำเนินการโดยประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสันในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และโดยประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. รูสเวลท์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง สำหรับในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองนั้นการทูตในระดับประชุมสุดยอดกับประมุขรัฐบาลอื่น ๆ เป็นปรากฏการณ์สำคัญที่แสดงถึงบทบาทของประธานาธิบดีในฐานะเป็นประมุขนักการทูต และบทบาทนี้ก็ได้รับการส่งเสริมมากยิ่งขึ้นจากพัฒนาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เช่น เมื่อปี ค.ศ. 1963 ได้มีข้อตกลงติดตั้ง "สายด่วน" เชื่อมโยงการติดต่อโดยตรงระหว่างทำเนียบขาวกับพระราชวังเครมลิน เป็นต้น ในช่วงที่ประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสันรื้อฟื้นความสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณรัฐประชาชนจีน และในช่วงที่ประธานาธิบดีจิมมี คาร์เตอร์เจรจาสันติภาพที่แคมป์เดวิดกับอียิปต์และอิสราเอลระหว่างทศวรรษปี 1970 ล้วนแสดงให้เห็นบทบาททางการทูตของประธานาธิบดีได้เป็นอย่างดีทั้งสิ้น
บทบาทของประมุขฝ่ายบริหาร ในฐานะที่เป็นผู้เจรจาระดับสูงสุดของชาติกับรัฐต่างประเทศ ประธานาธิบดีในฐานะที่เป็นประมุขนักการทูตนี้ ทำหน้าที่เป็นคนกลางอย่างเป็นทางการที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาสามารถใช้ติดต่อกับรัฐบาลต่างประเทศได้ อำนาจของประธานาธิบดีในด้านนี้ได้มาโดยตรงและโดยอ้อมจากมาตรา 2 ของรัฐธรรมนูญ ด้วยเหตุนี้ ประธานาธิบดีจึงสามารถ (1) ส่งและรับเอกอัครราชทูต (2) ให้การรับรองหรือถอนการรับรอง (3) ตัดความสัมพันธ์ทางการทูต (4) เจรจาสนธิสัญญา และ (5) มีอำนาจในฐานะเป็นผู้บัญชาการทหารสามเหล่าทัพ ที่จะใช้อำนาจทางทหารของชาติให้การสนับสนุนนโยบายต่างประเทศของสหรัฐ ฯ ได้ ในการสร้างและดำเนินนโยบายต่างประเทศนั้น ประธานาธิบดีจะต้องพึ่งพาอาศัยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ตลอดจนกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ที่เจ้ากระทรวงทั้งสองเป็นหัวหน้าบังคับบัญชาอยู่นั้น
ความสำคัญ ความสำคัญของประธานาธิบดีในฐานะเป็นประมุขนักการทูตนี้ได้รับการรับรองมาตั้งแต่ยุคต้น ๆ ของการก่อตั้งสาธารณรัฐ ศาลสูงในคดี "สหรัฐอเมริกากับเคอร์ติส - ไร้ท์ เอ็กซพอร์ต คอร์ป" มีมติว่า "ประธานาธิบดีเท่านั้นมีอำนาจที่จะพูดหรือฟังในฐานะเป็นตัวแทนของชาติ" การเจรจาโดยตรงในระดับประธานาธิบดีได้ดำเนินการโดยประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสันในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และโดยประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. รูสเวลท์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง สำหรับในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองนั้นการทูตในระดับประชุมสุดยอดกับประมุขรัฐบาลอื่น ๆ เป็นปรากฏการณ์สำคัญที่แสดงถึงบทบาทของประธานาธิบดีในฐานะเป็นประมุขนักการทูต และบทบาทนี้ก็ได้รับการส่งเสริมมากยิ่งขึ้นจากพัฒนาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เช่น เมื่อปี ค.ศ. 1963 ได้มีข้อตกลงติดตั้ง "สายด่วน" เชื่อมโยงการติดต่อโดยตรงระหว่างทำเนียบขาวกับพระราชวังเครมลิน เป็นต้น ในช่วงที่ประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสันรื้อฟื้นความสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณรัฐประชาชนจีน และในช่วงที่ประธานาธิบดีจิมมี คาร์เตอร์เจรจาสันติภาพที่แคมป์เดวิดกับอียิปต์และอิสราเอลระหว่างทศวรรษปี 1970 ล้วนแสดงให้เห็นบทบาททางการทูตของประธานาธิบดีได้เป็นอย่างดีทั้งสิ้น
President : Chief Legislator
ประธานาธิบดี : ประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ
แนวความคิดที่เน้นถึงความสำคัญในบทบาทของประธานาธิบดีในกระบวนการทางนิติบัญญัติ อำนาจทางนิติบัญญัติของประธานาธิบดีอิงอาศัยมาตรา 1 อนุมาตรา 7 และมาตรา 2 อนุมาตรา 3 ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งให้อำนาจประธานาธิบดีสามารถ (1) ใช้อำนาจยับยั้งทางนิติบัญญัติ (2) เลื่อนการประชุมของสภาคองเกรสภายใต้สภาพแวดล้อมที่ผิดปกติ (3) เรียกประชุมสมัยวิสามัญของสภาคองเกรส (4) ส่งสารพิเศษถึงสภาคองเกรสเรียกร้องให้สนใจเรื่องต่าง ๆ และเสนอแนะให้ออกกฎหมายด้วย ในการดำเนินความพยายามที่จะชี้นำนโยบายต่างประเทศนั้น ประธานาธิบดีก็ยังสามารถใช้เครื่องมือที่มีความสำคัญเท่าเทียมกันแต่มีรูปแบบเป็นทางการน้อยกว่าข้างต้นได้ด้วย อำนาจและเอกสิทธิ์ของตำแหน่งมีการนำมาใช้ผ่านทางตำแหน่งของประธานาธิบดีในฐานะที่ (1) เป็นผู้นำทางการเมือง (2) เป็นผู้ควบคุมข้ารัฐการฝ่ายบริหาร(3) เป็นผู้มีความสามารถในการชักนำผู้อื่น (4) เป็นผู้มีความสามารถในการเรียกร้องสาธารณชนให้มาสนับสนุนภาวะผู้นำของประธานาธิบดี
ความสำคัญ บทบาทของประธานาธิบดีในฐานะเป็นประมุขฝ่ายนิติบัญญัตินั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งทั้งในกิจการภายในและในกิจการต่างประเทศ ทั้งนี้เพราะนโยบายต่างประเทศจำต้องอาศัยการสนับสนุนและการดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายของฝ่ายนิติบัญญัติ ในการที่จะออกกฎหมายที่มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ต่างประเทศนั้นส่วนใหญ่แล้วจะเริ่มร่างกันที่ฝ่ายบริหารก่อน ต่อจากนั้นสมาชิกฝ่ายนิติบัญญัติที่เป็นมิตรหรือฝ่ายเดียวกับฝ่ายบริหาร ก็จะนำเสนอต่อสภาคองเกรสอีกต่อหนึ่ง ถ้าเป็นการเสนอร่างรัฐบัญญัติเกี่ยวกับการให้การช่วยเหลือต่างประเทศ ร่างรัฐบัญญัติที่เรียกร้องให้มีการจัดตั้งหน่วยงานใหม่ ๆ อาทิ หน่วยงานสันติภาพ หรือร่างรัฐบัญญัติเกี่ยวกับแผนจัดตั้งกองทัพ สภาคองเกรสก็จะให้ความสนใจเป็นพิเศษ เพราะรู้ว่า "เป็นมาตรการของฝ่ายบริหาร" หรือเป็นส่วนหนึ่งของ "โครงการของประธานาธิบดี"
แนวความคิดที่เน้นถึงความสำคัญในบทบาทของประธานาธิบดีในกระบวนการทางนิติบัญญัติ อำนาจทางนิติบัญญัติของประธานาธิบดีอิงอาศัยมาตรา 1 อนุมาตรา 7 และมาตรา 2 อนุมาตรา 3 ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งให้อำนาจประธานาธิบดีสามารถ (1) ใช้อำนาจยับยั้งทางนิติบัญญัติ (2) เลื่อนการประชุมของสภาคองเกรสภายใต้สภาพแวดล้อมที่ผิดปกติ (3) เรียกประชุมสมัยวิสามัญของสภาคองเกรส (4) ส่งสารพิเศษถึงสภาคองเกรสเรียกร้องให้สนใจเรื่องต่าง ๆ และเสนอแนะให้ออกกฎหมายด้วย ในการดำเนินความพยายามที่จะชี้นำนโยบายต่างประเทศนั้น ประธานาธิบดีก็ยังสามารถใช้เครื่องมือที่มีความสำคัญเท่าเทียมกันแต่มีรูปแบบเป็นทางการน้อยกว่าข้างต้นได้ด้วย อำนาจและเอกสิทธิ์ของตำแหน่งมีการนำมาใช้ผ่านทางตำแหน่งของประธานาธิบดีในฐานะที่ (1) เป็นผู้นำทางการเมือง (2) เป็นผู้ควบคุมข้ารัฐการฝ่ายบริหาร(3) เป็นผู้มีความสามารถในการชักนำผู้อื่น (4) เป็นผู้มีความสามารถในการเรียกร้องสาธารณชนให้มาสนับสนุนภาวะผู้นำของประธานาธิบดี
ความสำคัญ บทบาทของประธานาธิบดีในฐานะเป็นประมุขฝ่ายนิติบัญญัตินั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งทั้งในกิจการภายในและในกิจการต่างประเทศ ทั้งนี้เพราะนโยบายต่างประเทศจำต้องอาศัยการสนับสนุนและการดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายของฝ่ายนิติบัญญัติ ในการที่จะออกกฎหมายที่มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ต่างประเทศนั้นส่วนใหญ่แล้วจะเริ่มร่างกันที่ฝ่ายบริหารก่อน ต่อจากนั้นสมาชิกฝ่ายนิติบัญญัติที่เป็นมิตรหรือฝ่ายเดียวกับฝ่ายบริหาร ก็จะนำเสนอต่อสภาคองเกรสอีกต่อหนึ่ง ถ้าเป็นการเสนอร่างรัฐบัญญัติเกี่ยวกับการให้การช่วยเหลือต่างประเทศ ร่างรัฐบัญญัติที่เรียกร้องให้มีการจัดตั้งหน่วยงานใหม่ ๆ อาทิ หน่วยงานสันติภาพ หรือร่างรัฐบัญญัติเกี่ยวกับแผนจัดตั้งกองทัพ สภาคองเกรสก็จะให้ความสนใจเป็นพิเศษ เพราะรู้ว่า "เป็นมาตรการของฝ่ายบริหาร" หรือเป็นส่วนหนึ่งของ "โครงการของประธานาธิบดี"
President : Chief Of Foreign Policy
ประธานาธิบดี : ประมุขผู้ดำเนินนโยบายต่างประเทศ
บทบาทของประมุขฝ่ายบริหารในฐานะที่เป็นผู้กำหนดนโยบายสูงสุดในด้านกิจการระหว่างประเทศ ประธานาธิบดีในฐานะที่เป็นประมุขผู้ดำเนินนโยบายต่างประเทศ ต้องรับผิดชอบด้านความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรืองของชาติ ความรับผิดชอบของประธานาธิบดีในด้านนี้ ได้จากบทบาทที่มีการกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ในฐานะเป็นประมุขฝ่ายบริหารและผู้บัญชาการทหาร ซึ่งกำหนดให้ประธานาธิบดีเป็นผู้สร้าง ผู้ขอรับการสนับสนุน และผู้ดำเนินนโยบายต่างประเทศ เพื่ออำนวยให้ผลประโยชน์แห่งชาติของสหรัฐ ฯ บรรลุถึงเป้าหมายสูงสุด หน้าที่เป็นประมุขผู้ดำเนินนโยบายต่างประเทศของประธานาธิบดี จะกระทำผ่านทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและกรมกองต่าง ๆ ในกระทรวงนี้ แต่การเป็นประมุขผู้ดำเนินนโยบายต่างประเทศของประธานาธิบดี ก็ยังสามารถดำเนินการในทางอื่น ๆ ได้อีกหลากหลาย อาทิ (1) โดยการร่างกฎหมาย (2) โดยการส่งสารถึงสภาคองเกรส (3) โดยใช้การทูตส่วนตัว (4) โดยการกล่าวปราศรัยต่อสาธารณชน (5) โดยการประชุมพบปะสื่อมวลชน (6) โดยการแถลงข่าวแก่สื่อมวลชน ยกตัวอย่างเช่น ลัทธิมอนโร ปรากฎอยู่ในสาร "สเต็ต ออฟ ยูเนียน" ส่วนโครงการพ้อยน์โฟว์ ปรากฎครั้งแรกในคำปราศรัยในวันเข้ารับตำแหน่งของประธานาธิบดีแฮร์รี่ ทรูแมน ถ้อยแถลงต่อสาธารณชนของบุคคลที่อยู่ในคณะบริหารของประธานาธิบดี ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารอื่น ๆ ตลอดจนของบุคคลที่เป็นที่รู้กันว่าพูดโดยอาศัยอำนาจหน้าที่ของประธานาธิบดี ล้วนเป็นช่องทางที่ไม่เป็นทางการ ซึ่งประธานาธิบดีสามารถใช้สื่อสารถึงประชาชนและรัฐบาลของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้ทั้งสิ้น
ความสำคัญ ผู้ร่างระบบการปกครองของสหรัฐอเมริกาคงไม่ได้คาดการณ์ว่าจะมีการพัฒนาตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ ฯ ไปเป็นตำแหน่งผู้นำโลกขึ้นมาได้ ถึงแม้ว่าการเกี่ยวข้องกับนโยบายต่างประเทศของประธานาธิบดีสหรัฐ ฯ บางคนจะมีน้อย แต่ก็มีประธานาธิบดีบางคนได้นำตนเข้าไปเกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องกิจการต่างประเทศ โดยได้ดำเนินการเสมือนหนึ่งเป็นรัฐมนตรีีว่าการกระทรวงต่างประเทศเสียเองไปเลยก็มี การที่ประธานาธิบดีจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับนโยบายต่างประเทศในระดับที่มากหรือน้อยแค่ไหนเป็นเรื่องที่ประธานาธิบดีแต่ละคนจะเป็นผู้เลือก อย่างไรก็ตามความสำคัญของสำนักประธานาธิบดีในฐานะเป็นหน่วยงานทางการในระดับสูงสุดของชาติ เพื่อการพัฒนาและดำเนินนโยบายต่างประเทศนั้น ได้มีกำหนดอยู่ในรัฐธรรมนูญและในคำตัดสินเป็นบรรทัดฐานของศาลสูงสหรัฐฯ
บทบาทของประมุขฝ่ายบริหารในฐานะที่เป็นผู้กำหนดนโยบายสูงสุดในด้านกิจการระหว่างประเทศ ประธานาธิบดีในฐานะที่เป็นประมุขผู้ดำเนินนโยบายต่างประเทศ ต้องรับผิดชอบด้านความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรืองของชาติ ความรับผิดชอบของประธานาธิบดีในด้านนี้ ได้จากบทบาทที่มีการกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ในฐานะเป็นประมุขฝ่ายบริหารและผู้บัญชาการทหาร ซึ่งกำหนดให้ประธานาธิบดีเป็นผู้สร้าง ผู้ขอรับการสนับสนุน และผู้ดำเนินนโยบายต่างประเทศ เพื่ออำนวยให้ผลประโยชน์แห่งชาติของสหรัฐ ฯ บรรลุถึงเป้าหมายสูงสุด หน้าที่เป็นประมุขผู้ดำเนินนโยบายต่างประเทศของประธานาธิบดี จะกระทำผ่านทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและกรมกองต่าง ๆ ในกระทรวงนี้ แต่การเป็นประมุขผู้ดำเนินนโยบายต่างประเทศของประธานาธิบดี ก็ยังสามารถดำเนินการในทางอื่น ๆ ได้อีกหลากหลาย อาทิ (1) โดยการร่างกฎหมาย (2) โดยการส่งสารถึงสภาคองเกรส (3) โดยใช้การทูตส่วนตัว (4) โดยการกล่าวปราศรัยต่อสาธารณชน (5) โดยการประชุมพบปะสื่อมวลชน (6) โดยการแถลงข่าวแก่สื่อมวลชน ยกตัวอย่างเช่น ลัทธิมอนโร ปรากฎอยู่ในสาร "สเต็ต ออฟ ยูเนียน" ส่วนโครงการพ้อยน์โฟว์ ปรากฎครั้งแรกในคำปราศรัยในวันเข้ารับตำแหน่งของประธานาธิบดีแฮร์รี่ ทรูแมน ถ้อยแถลงต่อสาธารณชนของบุคคลที่อยู่ในคณะบริหารของประธานาธิบดี ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารอื่น ๆ ตลอดจนของบุคคลที่เป็นที่รู้กันว่าพูดโดยอาศัยอำนาจหน้าที่ของประธานาธิบดี ล้วนเป็นช่องทางที่ไม่เป็นทางการ ซึ่งประธานาธิบดีสามารถใช้สื่อสารถึงประชาชนและรัฐบาลของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้ทั้งสิ้น
ความสำคัญ ผู้ร่างระบบการปกครองของสหรัฐอเมริกาคงไม่ได้คาดการณ์ว่าจะมีการพัฒนาตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ ฯ ไปเป็นตำแหน่งผู้นำโลกขึ้นมาได้ ถึงแม้ว่าการเกี่ยวข้องกับนโยบายต่างประเทศของประธานาธิบดีสหรัฐ ฯ บางคนจะมีน้อย แต่ก็มีประธานาธิบดีบางคนได้นำตนเข้าไปเกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องกิจการต่างประเทศ โดยได้ดำเนินการเสมือนหนึ่งเป็นรัฐมนตรีีว่าการกระทรวงต่างประเทศเสียเองไปเลยก็มี การที่ประธานาธิบดีจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับนโยบายต่างประเทศในระดับที่มากหรือน้อยแค่ไหนเป็นเรื่องที่ประธานาธิบดีแต่ละคนจะเป็นผู้เลือก อย่างไรก็ตามความสำคัญของสำนักประธานาธิบดีในฐานะเป็นหน่วยงานทางการในระดับสูงสุดของชาติ เพื่อการพัฒนาและดำเนินนโยบายต่างประเทศนั้น ได้มีกำหนดอยู่ในรัฐธรรมนูญและในคำตัดสินเป็นบรรทัดฐานของศาลสูงสหรัฐฯ
President : Commander in Chief
ประธานาธิบดี : ผู้บัญชาการทหาร
บทบาทของประมุขฝ่ายบริหารในฐานะเป็นผู้อำนวยการของทหารสามเหล่าทัพของสหรัฐ ฯ ภายใต้มาตรา 2 อนุมาตรา 2 ของรัฐธรรมนูญสหรัฐ ฯ ประธานาธิบดีได้ถูกออกแบบมาให้เป็นผู้บัญชาการทหารสามเหล่าทัพของสหรัฐ ฯ และของกองทัพอาสาสมัครจากมลรัฐที่ถูกเรียกเข้ามาประจำการรับใช้รัฐบาลกลาง
ความสำคัญ ประธานาธิบดีที่เป็นผู้บัญชาการสามเหล่าทัพนี้ สามารถใช้อำนาจได้อย่างล้นเหลือ อันจะมีผลกระทบต่อความมั่นคงของสหรัฐ ฯ และชาติอื่น ๆ อีกมากมาย ด้วยเหตุที่ประธานาธิบดีเป็นเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการเลือกตั้งในระดับสูงสุดของชาติ เพราะฉะนั้นอำนาจหน้าที่ทางกฎหมายของประธานาธิบดีต่อทหาร ก็คือ เพื่อส่งเสริมหลักการทางประชาธิปไตยของสหรัฐ ฯ ที่ให้พลเรือนควบคุมฝ่ายทหาร ในยามศึกสงครามประธานาธิบดีสามารถประสานความร่วมมือและอำนวยการทางยุทธการทหารและกิจกรรมเกี่ยวข้องอื่น ๆ เช่น ดำเนินการแลกเปลี่ยนเชลยศึก และดำเนินการเจรจาสงบศึก เป็นต้น ส่วนในยามสงบนั้นอำนาจของประธานาธิบดีในการวางกำลังทหารและความสามารถที่จะออกคำสั่งให้กำลังทหารเข้าแทรกแซงเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของสหรัฐ ฯ ย่อมมีผลกระทบต่อนโยบายต่างประเทศและสภาวะความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอย่างยิ่งยวด ประธานาธิบดีสามารถสั่งให้กองทัพสหรัฐ ฯ ทำการรบในสงครามที่ก่อขึ้นมาโดยรัฐบาลต่างชาติได้ อย่างเช่นที่ประธานาธิบดีแฮร์รี่ ทรูแมนดำเนินการในเกาหลีเหนือเมื่อปี ค.ศ. 1950 ถึงแม้ว่าประธานาธิบดีไม่สามารถประกาศสถานะสงครามได้ แต่ประธานาธิบดีก็สามารถดำเนินการในทางที่จะให้สภาคองเกรสมีทางเลือกอื่นน้อย ตัวอย่างเช่น เมื่อประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี.รูสเวลท์ มีคำสั่งให้กองทัพเรือสหรัฐ ฯ ทำการปกป้องขบวนลำเลียงยุทธปัจจัยไปให้อังกฤษเมื่อตอนต้นสงครามโลกครั้งที่สองก่อนที่สหรัฐฯจะทำสงครามเยอรมนีจริงๆ อิสรภาพที่จะดำเนินการเช่นนี้ของประธานาธิบดี ได้ถูกดัดแปลงไปบ้าง โดยรัฐบัญญัติวอว์เพาเวอร์ ปี ค.ศ.1973
บทบาทของประมุขฝ่ายบริหารในฐานะเป็นผู้อำนวยการของทหารสามเหล่าทัพของสหรัฐ ฯ ภายใต้มาตรา 2 อนุมาตรา 2 ของรัฐธรรมนูญสหรัฐ ฯ ประธานาธิบดีได้ถูกออกแบบมาให้เป็นผู้บัญชาการทหารสามเหล่าทัพของสหรัฐ ฯ และของกองทัพอาสาสมัครจากมลรัฐที่ถูกเรียกเข้ามาประจำการรับใช้รัฐบาลกลาง
ความสำคัญ ประธานาธิบดีที่เป็นผู้บัญชาการสามเหล่าทัพนี้ สามารถใช้อำนาจได้อย่างล้นเหลือ อันจะมีผลกระทบต่อความมั่นคงของสหรัฐ ฯ และชาติอื่น ๆ อีกมากมาย ด้วยเหตุที่ประธานาธิบดีเป็นเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการเลือกตั้งในระดับสูงสุดของชาติ เพราะฉะนั้นอำนาจหน้าที่ทางกฎหมายของประธานาธิบดีต่อทหาร ก็คือ เพื่อส่งเสริมหลักการทางประชาธิปไตยของสหรัฐ ฯ ที่ให้พลเรือนควบคุมฝ่ายทหาร ในยามศึกสงครามประธานาธิบดีสามารถประสานความร่วมมือและอำนวยการทางยุทธการทหารและกิจกรรมเกี่ยวข้องอื่น ๆ เช่น ดำเนินการแลกเปลี่ยนเชลยศึก และดำเนินการเจรจาสงบศึก เป็นต้น ส่วนในยามสงบนั้นอำนาจของประธานาธิบดีในการวางกำลังทหารและความสามารถที่จะออกคำสั่งให้กำลังทหารเข้าแทรกแซงเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของสหรัฐ ฯ ย่อมมีผลกระทบต่อนโยบายต่างประเทศและสภาวะความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอย่างยิ่งยวด ประธานาธิบดีสามารถสั่งให้กองทัพสหรัฐ ฯ ทำการรบในสงครามที่ก่อขึ้นมาโดยรัฐบาลต่างชาติได้ อย่างเช่นที่ประธานาธิบดีแฮร์รี่ ทรูแมนดำเนินการในเกาหลีเหนือเมื่อปี ค.ศ. 1950 ถึงแม้ว่าประธานาธิบดีไม่สามารถประกาศสถานะสงครามได้ แต่ประธานาธิบดีก็สามารถดำเนินการในทางที่จะให้สภาคองเกรสมีทางเลือกอื่นน้อย ตัวอย่างเช่น เมื่อประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี.รูสเวลท์ มีคำสั่งให้กองทัพเรือสหรัฐ ฯ ทำการปกป้องขบวนลำเลียงยุทธปัจจัยไปให้อังกฤษเมื่อตอนต้นสงครามโลกครั้งที่สองก่อนที่สหรัฐฯจะทำสงครามเยอรมนีจริงๆ อิสรภาพที่จะดำเนินการเช่นนี้ของประธานาธิบดี ได้ถูกดัดแปลงไปบ้าง โดยรัฐบัญญัติวอว์เพาเวอร์ ปี ค.ศ.1973
President : Recognition
ประธานาธิบดี : การรับรอง
การบ่งบอกถึงเจตนารมณ์ที่จะสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตในระดับปกติกับรัฐหรือรัฐบาลอื่น ๆ อำนาจของประธานาธิบดีว่าด้วยเรื่องการรับรองนี้ ได้จากการตีความอำนาจในการส่งและรับเอกอัครราชทูต (มาตรา 2 อนุมาตรา 2) และอำนาจนี้จะถูกใช้โดยดุลยพินิจของประธานาธิบดี
ความสำคัญ การรับรองเป็นก้าวที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจและทางทหารอย่างสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้เพราะการรับรองจะเอื้ออำนวยหรือขัดขวางความสำเร็จของรัฐหรือรัฐบาลใหม่ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของรัฐหรือรัฐบาลนั้นได้ นอกจากนั้นแล้วการรับรองยังอาจช่วยส่งเสริมหรือขัดขวางความสัมพันธ์อันดีระหว่างสหรัฐ ฯ กับภาคีที่เกี่ยวข้องนั้นได้ด้วย ประธานาธิบดีสหรัฐ ฯ จะมีการดำเนินนโยบายการรับรองในรูปแบบที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งบางคราวก็อาจยึดหลักทางกฎหมาย แต่บางคราวก็อาจยึดหลักทางการเมือง ในปี ค.ศ.1914 ในระหว่างเกิดปฏิวัติที่เม็กซิโก ประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสันปฏิเสธการรับรองระบอบการปกครองของฮูเออตา เพราะเห็นว่าเป็นระบอบการปกครองที่ขัดต่อกฎหมาย ทำให้รัฐบาลของฮูเออตาล้มในเวลาต่อมา ในปี ค.ศ.1933 ประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. รูสเวลท์ รับรองรัฐบาลของสหภาพโซเวียตหลังจากที่ได้อำนาจรัฐมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1917 ประธานาธิบดี แฮร์รี่ ทรูแมน รับรองรัฐอิสราเอลภายในไม่กี่ชั่วโมงที่รัฐนี้ก่อตั้งขึ้นมาในปี ค.ศ.1948 ไม่มีประธานาธิบดีสหรัฐ ฯ คนใดต้องการรับรองรัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีนระหว่างปี ค.ศ. 1949 - 1979 ในขณะที่รัฐบาลคอมมิวนิสต์ของรัฐต่าง ๆ ในยุโรปตะวันออกสหรัฐฯกลับให้การรับรอง ประธานาธิบดีเท่านั้นมีอำนาจทางกฎหมายที่จะให้การรับรองและถอนการรับรอง แต่ผลของการตัดสินใจมีความสำคัญทางการเมืองอย่างยิ่งยวดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ประธานาธิบดีได้รับคาดหวังว่าจะต้องฟังเสียงของฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายมติมหาชนก่อนว่าจะคัดค้านแนวการตัดสินใจรักษาผลประโยชน์แห่งชาติในเรื่องนี้หรือไม่ ก่อนที่จะใช้อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดนี้ของตนออกไป
การบ่งบอกถึงเจตนารมณ์ที่จะสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตในระดับปกติกับรัฐหรือรัฐบาลอื่น ๆ อำนาจของประธานาธิบดีว่าด้วยเรื่องการรับรองนี้ ได้จากการตีความอำนาจในการส่งและรับเอกอัครราชทูต (มาตรา 2 อนุมาตรา 2) และอำนาจนี้จะถูกใช้โดยดุลยพินิจของประธานาธิบดี
ความสำคัญ การรับรองเป็นก้าวที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจและทางทหารอย่างสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้เพราะการรับรองจะเอื้ออำนวยหรือขัดขวางความสำเร็จของรัฐหรือรัฐบาลใหม่ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของรัฐหรือรัฐบาลนั้นได้ นอกจากนั้นแล้วการรับรองยังอาจช่วยส่งเสริมหรือขัดขวางความสัมพันธ์อันดีระหว่างสหรัฐ ฯ กับภาคีที่เกี่ยวข้องนั้นได้ด้วย ประธานาธิบดีสหรัฐ ฯ จะมีการดำเนินนโยบายการรับรองในรูปแบบที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งบางคราวก็อาจยึดหลักทางกฎหมาย แต่บางคราวก็อาจยึดหลักทางการเมือง ในปี ค.ศ.1914 ในระหว่างเกิดปฏิวัติที่เม็กซิโก ประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสันปฏิเสธการรับรองระบอบการปกครองของฮูเออตา เพราะเห็นว่าเป็นระบอบการปกครองที่ขัดต่อกฎหมาย ทำให้รัฐบาลของฮูเออตาล้มในเวลาต่อมา ในปี ค.ศ.1933 ประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. รูสเวลท์ รับรองรัฐบาลของสหภาพโซเวียตหลังจากที่ได้อำนาจรัฐมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1917 ประธานาธิบดี แฮร์รี่ ทรูแมน รับรองรัฐอิสราเอลภายในไม่กี่ชั่วโมงที่รัฐนี้ก่อตั้งขึ้นมาในปี ค.ศ.1948 ไม่มีประธานาธิบดีสหรัฐ ฯ คนใดต้องการรับรองรัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีนระหว่างปี ค.ศ. 1949 - 1979 ในขณะที่รัฐบาลคอมมิวนิสต์ของรัฐต่าง ๆ ในยุโรปตะวันออกสหรัฐฯกลับให้การรับรอง ประธานาธิบดีเท่านั้นมีอำนาจทางกฎหมายที่จะให้การรับรองและถอนการรับรอง แต่ผลของการตัดสินใจมีความสำคัญทางการเมืองอย่างยิ่งยวดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ประธานาธิบดีได้รับคาดหวังว่าจะต้องฟังเสียงของฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายมติมหาชนก่อนว่าจะคัดค้านแนวการตัดสินใจรักษาผลประโยชน์แห่งชาติในเรื่องนี้หรือไม่ ก่อนที่จะใช้อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดนี้ของตนออกไป
President : Treaty Power
ประธานาธิบดี : อำนาจทำสนธิสัญญา
สนธิสัญญาจะดำเนินการเจรจาภายใต้การอำนวยการของประธานาธิบดี ในฐานะเป็นประมุขนักการทูตและเป็นประมุขผู้ดำเนินนโยบายต่างประเทศ อำนาจทำสนธิสัญญานี้อยู่ในมาตรา 2 อนุมาตรา 2 ของรัฐธรรมนูญสหรัฐ ฯ ภายใต้ระบบคานและดุลอำนาจกันนั้นประธานาธิบดีสามารถเจรจาสนธิสัญญาได้ แต่ไม่สามารถให้สัตยาบันสนธิสัญญานั้นจนกว่าวุฒิสภาจะให้ความยินยอมด้วยวิธีให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียงสองในสาม แนวทางปฏิบัติของประธานาธิบดีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับบทบาทของวุฒิสภาในกระบวนการสนธิสัญญา มีดังต่อไปนี้ คือ (1) โดยทั่ว ๆ ไปนั้น ประธานาธิบดีจะยื่นเสนอสนธิสัญญาต่อวุฒิสภา และจากนั้นไปก็จะให้สัตยาบันสนธิสัญญาหลังจากที่วุฒิสภาให้ความยินยอมแล้ว (2) หากวุฒิสภาคัดค้านต่อสนธิสัญญา ประธานาธิบดีก็อาจจะไม่ยื่นสนธิสัญญานั้นไป แต่จะใช้วิธีปล่อยให้ขาดอายุไปเอง จะไม่ยื่นไปแล้วถูกปฏิเสธจากวุฒิสภากลับมา (3) ภายใต้เงื่อนไขคล้าย ๆ กันนั้นสนธิสัญญาอาจถูกถอนออกจากวุฒิสภาก่อนจะมีการลงคะแนนเสียงก็ได้ (4)หากวุฒิสภาให้ความเห็นชอบในสนธิสัญญาโดยที่มีการแก้ไขโดยวุฒิสภา และหากประธานาธิบดีเห็นว่าเป็นการไม่สมควรที่จะมีการเจรจากันใหม่ ประธานาธิบดีก็จะปฏิเสธการให้สัตยาบันได้ ส่วนขั้นตอนทางเทคนิคในกระบวนการของสนธิสัญญาตั้งแต่ต้นจนจบมีดังนี้ (1) การเจรจา (2) การลงนาม (3) การให้สัตยาบัน (4) การแลกเปลี่ยนสัตยาบันสาร (5) การตีพิมพ์ (6) การประกาศ และ(7) การดำเนินการให้เป็นไปตามสนธิสัญญา
ความสำคัญ การที่ประธานาธิบดีได้รับมอบหมายให้ทำหน้าเจรจาสนธิสัญญานั้น ก็เพราะว่าประธานาธิบดีมีทรัพยากรมากมายในฐานะที่เป็นฝ่ายบริหาร และเพราะประธานาธิบดีนี้เองที่รัฐบาลต่างประเทศใช้เป็นช่องทางดำเนินความสัมพันธ์ของตนกับสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตามสภาคองเกรสสามารถใช้มติร่วมชี้นำให้ประธานาธิบดีเจรจาสนธิสัญญาได้ โดยนัยตรงกันข้าม เนื่องจากเคยมีประสบการณ์ในสมัยประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน เกี่ยวกับสนธิสัญญาแวร์ซายส์ในวุฒิสภา ประธานาธิบดีสหรัฐ ฯ จึงได้พยายามให้วุฒิสภาได้เข้ามาร่วมในขบวนการสนธิสัญญาตั้งแต่ในขั้นตอนแรก ๆ เสียเลย ยกตัวอย่างเช่น มีวุฒิสมาชิกจำนวนหนึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนของสหรัฐ ฯ ไปประชุมที่ซานฟานซิสโก และเข้าร่วมเจรจาเกี่ยวกับกฎบัตรสหประชาชาติ วุฒิสมาชิกคนสำคัญ ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ วุฒิสมาชิกที่เป็นสมาชิกของคณะกรรมาธิการวิเทศสัมพันธ์จะได้รับรายงานให้ทราบในช่วงที่การเจรจากำลังดำเนินอยู่นั้น ทั้งนี้เพื่อจะได้นำข้อคิดเห็นของวุฒิสภามาพิจารณาก่อนที่จะยื่นเอกสารที่สมบูรณ์แบบให้วุฒิสภาให้ความเห็นชอบ ประธานาธิบดีในฐานะที่เป็นประมุขของผู้เจรจา หากเห็นว่าวุฒิสภามีแต่คอยขัดขวางก็อาจจะหันไปใช้ทางเลือกอื่น คือ การทำข้อตกลงของฝ่ายบริหารแทนไปเลยก็ได้
สนธิสัญญาจะดำเนินการเจรจาภายใต้การอำนวยการของประธานาธิบดี ในฐานะเป็นประมุขนักการทูตและเป็นประมุขผู้ดำเนินนโยบายต่างประเทศ อำนาจทำสนธิสัญญานี้อยู่ในมาตรา 2 อนุมาตรา 2 ของรัฐธรรมนูญสหรัฐ ฯ ภายใต้ระบบคานและดุลอำนาจกันนั้นประธานาธิบดีสามารถเจรจาสนธิสัญญาได้ แต่ไม่สามารถให้สัตยาบันสนธิสัญญานั้นจนกว่าวุฒิสภาจะให้ความยินยอมด้วยวิธีให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียงสองในสาม แนวทางปฏิบัติของประธานาธิบดีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับบทบาทของวุฒิสภาในกระบวนการสนธิสัญญา มีดังต่อไปนี้ คือ (1) โดยทั่ว ๆ ไปนั้น ประธานาธิบดีจะยื่นเสนอสนธิสัญญาต่อวุฒิสภา และจากนั้นไปก็จะให้สัตยาบันสนธิสัญญาหลังจากที่วุฒิสภาให้ความยินยอมแล้ว (2) หากวุฒิสภาคัดค้านต่อสนธิสัญญา ประธานาธิบดีก็อาจจะไม่ยื่นสนธิสัญญานั้นไป แต่จะใช้วิธีปล่อยให้ขาดอายุไปเอง จะไม่ยื่นไปแล้วถูกปฏิเสธจากวุฒิสภากลับมา (3) ภายใต้เงื่อนไขคล้าย ๆ กันนั้นสนธิสัญญาอาจถูกถอนออกจากวุฒิสภาก่อนจะมีการลงคะแนนเสียงก็ได้ (4)หากวุฒิสภาให้ความเห็นชอบในสนธิสัญญาโดยที่มีการแก้ไขโดยวุฒิสภา และหากประธานาธิบดีเห็นว่าเป็นการไม่สมควรที่จะมีการเจรจากันใหม่ ประธานาธิบดีก็จะปฏิเสธการให้สัตยาบันได้ ส่วนขั้นตอนทางเทคนิคในกระบวนการของสนธิสัญญาตั้งแต่ต้นจนจบมีดังนี้ (1) การเจรจา (2) การลงนาม (3) การให้สัตยาบัน (4) การแลกเปลี่ยนสัตยาบันสาร (5) การตีพิมพ์ (6) การประกาศ และ(7) การดำเนินการให้เป็นไปตามสนธิสัญญา
ความสำคัญ การที่ประธานาธิบดีได้รับมอบหมายให้ทำหน้าเจรจาสนธิสัญญานั้น ก็เพราะว่าประธานาธิบดีมีทรัพยากรมากมายในฐานะที่เป็นฝ่ายบริหาร และเพราะประธานาธิบดีนี้เองที่รัฐบาลต่างประเทศใช้เป็นช่องทางดำเนินความสัมพันธ์ของตนกับสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตามสภาคองเกรสสามารถใช้มติร่วมชี้นำให้ประธานาธิบดีเจรจาสนธิสัญญาได้ โดยนัยตรงกันข้าม เนื่องจากเคยมีประสบการณ์ในสมัยประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน เกี่ยวกับสนธิสัญญาแวร์ซายส์ในวุฒิสภา ประธานาธิบดีสหรัฐ ฯ จึงได้พยายามให้วุฒิสภาได้เข้ามาร่วมในขบวนการสนธิสัญญาตั้งแต่ในขั้นตอนแรก ๆ เสียเลย ยกตัวอย่างเช่น มีวุฒิสมาชิกจำนวนหนึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนของสหรัฐ ฯ ไปประชุมที่ซานฟานซิสโก และเข้าร่วมเจรจาเกี่ยวกับกฎบัตรสหประชาชาติ วุฒิสมาชิกคนสำคัญ ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ วุฒิสมาชิกที่เป็นสมาชิกของคณะกรรมาธิการวิเทศสัมพันธ์จะได้รับรายงานให้ทราบในช่วงที่การเจรจากำลังดำเนินอยู่นั้น ทั้งนี้เพื่อจะได้นำข้อคิดเห็นของวุฒิสภามาพิจารณาก่อนที่จะยื่นเอกสารที่สมบูรณ์แบบให้วุฒิสภาให้ความเห็นชอบ ประธานาธิบดีในฐานะที่เป็นประมุขของผู้เจรจา หากเห็นว่าวุฒิสภามีแต่คอยขัดขวางก็อาจจะหันไปใช้ทางเลือกอื่น คือ การทำข้อตกลงของฝ่ายบริหารแทนไปเลยก็ได้
Reciprocal Trade Agreement Act of 1934
รัฐบัญญัติข้อตกลงทางการค้าต่างตอบแทนปี ค.ศ. 1934
รัฐบัญญัติที่ให้อำนาจแก่ประธานาธิบดีโดยอิงหลักต่างตอบแทนกับประเทศอื่น ๆ ให้สามารถขึ้นหรือลดภาษีศุลกากรได้จนถึง 50% ของอัตราที่ใช้อยู่นั้น รัฐบัญญัติการค้าต่างตอบแทนกำหนดให้ใช้หลักการ "ชาติที่ได้รับการอนุเคราะห์ยิ่ง" ซึ่งยอมให้การผ่อนปรนตามที่ได้เจรจากับรัฐใดๆที่เข้าร่วมแล้วนั้นมีผลโดยอัตโนมัติกับทุกรัฐที่มีข้อกำหนดว่าด้วย "ชาติที่ได้รับการอนุเคราะห์ยิ่ง" อยู่ในข้อตกลงทางการค้าของรัฐเหล่านี้ด้วย รัฐบัญญัติข้อตกลงทางการค้าต่างตอบแทนฉบับแก้ไขปรับปรุงได้ยินยอมให้ลดเปอร์เซ็นต์พิกัดอัตราภาษีศุลกากรให้ต่ำลงมาได้อีก แต่พวกที่ยึดถือลัทธิปกป้องสินค้าหรืออุตสาหกรรมภายในประเทศ พยายามจะนำระเบียบปฏิบัติว่าด้วยจุดที่ "มีอันตราย" และจุดที่ "รอดพ้น"ใส่ไว้ในรัฐบัญญัติด้วย จุดอันตรายที่ว่านี้ ก็คือ ระดับภาษีศุลกากรที่การแข่งขันจากต่างประเทศจะเป็นการคุกคามหรือเป็นอันตรายต่อผู้ผลิตภายในประเทศ หากเกิดเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งในสองอย่างนี้ ก็ให้คณะกรรมาธิการภาษีศุลกากรรายงานให้ประธานาธิบดีและสภาคองเกรสได้ทราบ ในกรณีที่มีการใช้แนวปฏิบัติแบบรอดพ้นนั้น ประธานาธิบดีสามารถขึ้นพิกัดภาษีศุลกากรเพื่อให้การคุ้มครองแก่อุตสาหรกรรมที่ได้รับผลกระทบได้
ความสำคัญ รัฐบัญญัติข้อตกลงทางการค้าต่างตอบแทน ค.ศ.1934 นำมาใช้ช่วงที่เกิดลัทธิชาตินิยมทางเศรษฐกิจที่กระจายอยู่ทั่วโลกในช่วงต้นที่เกิดการตกต่ำทางเศรษฐกิจทั่วโลก จากการมีรัฐบัญญัติฉบับนี้ได้ส่งผลให้มีการเจรจาลดภาษีศุลกากรต่างตอบแทน โดยได้ทำข้อตกลงของฝ่ายบริหารกับประเทศต่าง ๆ จำนวน 43 ประเทศ รัฐบัญญัติฉบับนี้ซึ่งมีการขยายเวลาในการบังคับใช้ออกไปถึง 11 ครั้ง บางทีก็เรียกกันว่า โครงการข้อตกลงทางการค้าต่างตอบแทนของฮัลล์ ทั้งนี้โดยตั้งชื่อตาม นายคอร์เดลล์ ฮัลล์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของสหรัฐ ฯ ในระหว่างเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งในตอนนั้นนโยบายทางการค้าระหว่างประเทศเริ่มจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่เน้นการขยายทางการค้า มีรัฐบัญญัติอื่น ๆ อีก 3 ฉบับ คือ (1) รัฐบัญญัติขยายการค้าปี ค.ศ. 1962 (2) รัฐบัญญัติการค้าปี ค.ศ. 1974 และ(3) รัฐบัญญัติข้อตกลงทางการค้าปี ค.ศ. 1979
รัฐบัญญัติที่ให้อำนาจแก่ประธานาธิบดีโดยอิงหลักต่างตอบแทนกับประเทศอื่น ๆ ให้สามารถขึ้นหรือลดภาษีศุลกากรได้จนถึง 50% ของอัตราที่ใช้อยู่นั้น รัฐบัญญัติการค้าต่างตอบแทนกำหนดให้ใช้หลักการ "ชาติที่ได้รับการอนุเคราะห์ยิ่ง" ซึ่งยอมให้การผ่อนปรนตามที่ได้เจรจากับรัฐใดๆที่เข้าร่วมแล้วนั้นมีผลโดยอัตโนมัติกับทุกรัฐที่มีข้อกำหนดว่าด้วย "ชาติที่ได้รับการอนุเคราะห์ยิ่ง" อยู่ในข้อตกลงทางการค้าของรัฐเหล่านี้ด้วย รัฐบัญญัติข้อตกลงทางการค้าต่างตอบแทนฉบับแก้ไขปรับปรุงได้ยินยอมให้ลดเปอร์เซ็นต์พิกัดอัตราภาษีศุลกากรให้ต่ำลงมาได้อีก แต่พวกที่ยึดถือลัทธิปกป้องสินค้าหรืออุตสาหกรรมภายในประเทศ พยายามจะนำระเบียบปฏิบัติว่าด้วยจุดที่ "มีอันตราย" และจุดที่ "รอดพ้น"ใส่ไว้ในรัฐบัญญัติด้วย จุดอันตรายที่ว่านี้ ก็คือ ระดับภาษีศุลกากรที่การแข่งขันจากต่างประเทศจะเป็นการคุกคามหรือเป็นอันตรายต่อผู้ผลิตภายในประเทศ หากเกิดเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งในสองอย่างนี้ ก็ให้คณะกรรมาธิการภาษีศุลกากรรายงานให้ประธานาธิบดีและสภาคองเกรสได้ทราบ ในกรณีที่มีการใช้แนวปฏิบัติแบบรอดพ้นนั้น ประธานาธิบดีสามารถขึ้นพิกัดภาษีศุลกากรเพื่อให้การคุ้มครองแก่อุตสาหรกรรมที่ได้รับผลกระทบได้
ความสำคัญ รัฐบัญญัติข้อตกลงทางการค้าต่างตอบแทน ค.ศ.1934 นำมาใช้ช่วงที่เกิดลัทธิชาตินิยมทางเศรษฐกิจที่กระจายอยู่ทั่วโลกในช่วงต้นที่เกิดการตกต่ำทางเศรษฐกิจทั่วโลก จากการมีรัฐบัญญัติฉบับนี้ได้ส่งผลให้มีการเจรจาลดภาษีศุลกากรต่างตอบแทน โดยได้ทำข้อตกลงของฝ่ายบริหารกับประเทศต่าง ๆ จำนวน 43 ประเทศ รัฐบัญญัติฉบับนี้ซึ่งมีการขยายเวลาในการบังคับใช้ออกไปถึง 11 ครั้ง บางทีก็เรียกกันว่า โครงการข้อตกลงทางการค้าต่างตอบแทนของฮัลล์ ทั้งนี้โดยตั้งชื่อตาม นายคอร์เดลล์ ฮัลล์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของสหรัฐ ฯ ในระหว่างเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งในตอนนั้นนโยบายทางการค้าระหว่างประเทศเริ่มจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่เน้นการขยายทางการค้า มีรัฐบัญญัติอื่น ๆ อีก 3 ฉบับ คือ (1) รัฐบัญญัติขยายการค้าปี ค.ศ. 1962 (2) รัฐบัญญัติการค้าปี ค.ศ. 1974 และ(3) รัฐบัญญัติข้อตกลงทางการค้าปี ค.ศ. 1979
Secretary of State
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ผู้บังคับบัญชาสูงสุดของกระทรวงการต่างประเทศ และเป็นหัวหน้าที่ปรึกษาของประธานาธิบดีด้านนโยบายต่างประเทศที่ประธานาธิบดีต้องรับผิดชอบในขั้นสุดท้าย ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศนี้ได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1789 พร้อมกับที่ได้มีการสถาปนากระทรวงการต่างประเทศ ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมีลักษณะเป็นตำแหน่งทางการเมืองและบุคคลที่เข้ามาดำรงตำแหน่งได้รับการคัดเลือกจากประธานาธิบดีโดยตรง การแต่งตั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ก็เช่นเดียวกับการแต่งตั้งบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งในระดับสูงอื่น ๆ คือ จะต้องให้วุฒิสภาให้ความเห็นชอบเสียก่อน แต่เนื่องจากความรับผิดชอบในขั้นสุดท้ายทางด้านกิจการต่างประเทศอยู่กับประธานาธิบดีดังนั้นวุฒิสภาจึงไม่ค่อยปฏิเสธการให้ความเห็นชอบ ด้วยเหตุที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้งโดยทางการเมือง จึงไม่มีวาระการดำรงตำแหน่งที่กำหนดไว้เป็นการตายตัว แต่จะดำรงตำแหน่งตามแต่ประธานาธิบดีจะเห็นสมควร ความสำคัญของตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะเห็นได้จากการอนุมานข้อเท็จจริง คือ จะเป็นรัฐมนตรีที่มีความสำคัญในอันดับต้นๆในหมู่รัฐมนตรีในคณะรัฐบาลของประธานาธิบดี กับเป็นบุคคลอันดับต้นๆในหมู่เจ้าหน้าที่ที่มิได้มาจากการเลือกตั้งที่จะสืบทอดตำแหน่งประธานาธิบดี
ความสำคัญ ความสำคัญของตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศนี้จะเพิ่มขึ้นตามสัดส่วนเดียวกับการเกี่ยวข้องของสหรัฐ ฯ ในกิจการระหว่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศจะใช้ความสามารถส่วนตัวและใช้กระทรวงต่างประเทศของตนทำการกำหนดผลประโยชน์แห่งชาติอย่างใดอย่างหนึ่ง และจากนั้นก็จะวางโครงการที่จะนำมาใช้เพื่อให้บรรลุผลประโยชน์แห่งชาติที่กำหนดไว้แล้วนั้น ด้วยการเสนอแนะให้มีการใช้การผสมผสานระหว่างการเจรจา การโฆษณาชวนเชื่อ อำนาจทางเศรษฐกิจและกำลังทหาร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะมีอิสระในการเป็นผู้กำหนดนโยบายมากน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับสัมพันธภาพระหว่างกระทรวงการต่างประเทศกับประธานาธิบดีเป็นสำคัญ ประธานาธิบดีบางคน เช่น วูดโวร์ วิลสัน และแฟรงกลิน ด. รูสเวลท์ ทำตัวเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเสียเอง ส่วนประธานาธิบดีอื่น ๆ เช่น ดไวท์ ไอเซนฮาว และเจอรัลด์ ฟอร์ด ยอมให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมีอิสระในการอำนวยการกิจการต่างประเทศของสหรัฐฯกับประชาชาติในโลกได้อย่างเต็มที่
ผู้บังคับบัญชาสูงสุดของกระทรวงการต่างประเทศ และเป็นหัวหน้าที่ปรึกษาของประธานาธิบดีด้านนโยบายต่างประเทศที่ประธานาธิบดีต้องรับผิดชอบในขั้นสุดท้าย ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศนี้ได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1789 พร้อมกับที่ได้มีการสถาปนากระทรวงการต่างประเทศ ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมีลักษณะเป็นตำแหน่งทางการเมืองและบุคคลที่เข้ามาดำรงตำแหน่งได้รับการคัดเลือกจากประธานาธิบดีโดยตรง การแต่งตั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ก็เช่นเดียวกับการแต่งตั้งบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งในระดับสูงอื่น ๆ คือ จะต้องให้วุฒิสภาให้ความเห็นชอบเสียก่อน แต่เนื่องจากความรับผิดชอบในขั้นสุดท้ายทางด้านกิจการต่างประเทศอยู่กับประธานาธิบดีดังนั้นวุฒิสภาจึงไม่ค่อยปฏิเสธการให้ความเห็นชอบ ด้วยเหตุที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้งโดยทางการเมือง จึงไม่มีวาระการดำรงตำแหน่งที่กำหนดไว้เป็นการตายตัว แต่จะดำรงตำแหน่งตามแต่ประธานาธิบดีจะเห็นสมควร ความสำคัญของตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะเห็นได้จากการอนุมานข้อเท็จจริง คือ จะเป็นรัฐมนตรีที่มีความสำคัญในอันดับต้นๆในหมู่รัฐมนตรีในคณะรัฐบาลของประธานาธิบดี กับเป็นบุคคลอันดับต้นๆในหมู่เจ้าหน้าที่ที่มิได้มาจากการเลือกตั้งที่จะสืบทอดตำแหน่งประธานาธิบดี
ความสำคัญ ความสำคัญของตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศนี้จะเพิ่มขึ้นตามสัดส่วนเดียวกับการเกี่ยวข้องของสหรัฐ ฯ ในกิจการระหว่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศจะใช้ความสามารถส่วนตัวและใช้กระทรวงต่างประเทศของตนทำการกำหนดผลประโยชน์แห่งชาติอย่างใดอย่างหนึ่ง และจากนั้นก็จะวางโครงการที่จะนำมาใช้เพื่อให้บรรลุผลประโยชน์แห่งชาติที่กำหนดไว้แล้วนั้น ด้วยการเสนอแนะให้มีการใช้การผสมผสานระหว่างการเจรจา การโฆษณาชวนเชื่อ อำนาจทางเศรษฐกิจและกำลังทหาร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะมีอิสระในการเป็นผู้กำหนดนโยบายมากน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับสัมพันธภาพระหว่างกระทรวงการต่างประเทศกับประธานาธิบดีเป็นสำคัญ ประธานาธิบดีบางคน เช่น วูดโวร์ วิลสัน และแฟรงกลิน ด. รูสเวลท์ ทำตัวเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเสียเอง ส่วนประธานาธิบดีอื่น ๆ เช่น ดไวท์ ไอเซนฮาว และเจอรัลด์ ฟอร์ด ยอมให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมีอิสระในการอำนวยการกิจการต่างประเทศของสหรัฐฯกับประชาชาติในโลกได้อย่างเต็มที่
State, Department of
กระทรวงการต่างประเทศ
องค์กรที่ปรึกษาที่สำคัญของประธานาธิบดีในกิจการทุกอย่างที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ต่างประเทศ นับตั้งแต่กระทรวงการต่างประเทศนี้ได้รับการก่อตั้งขึ้นมาเมื่อปี ค.ศ. 1789 ก็ได้อยู่ภายใต้การอำนวยการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และทำหน้าที่ดังต่อไปนี้ (1) ให้คำปรึกษาแก่ประธานาธิบดี (2) ริเริ่มและดำเนินนโยบายต่างประเทศ (3) บริหารโครงการต่างประเทศที่ได้รับมอบหมายจากสภาคองเกรส (4) ตรวจสอบนโยบายภายในในส่วนที่จะมีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (5) ประสานความร่วมมือระหว่างองค์การภาครัฐบาลที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นและมีกิจกรรมที่กระทบต่อความสัมพันธ์ต่างประเทศ (6) ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างสหรัฐฯกับชาติต่าง ๆ ทั่วโลก โครงสร้างในรูปพีระมิดของกระทรวงการต่างประเทศมีการจัดเป็นหลายระดับลดหลั่นกันดังต่อไปนี้ (1) สำนักรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งรวมทั้งปลัดกระทรวงการต่างประเทศอีกหลายคน (2) ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ทำหน้าที่กำกับดูและหน่วยงานเฉพาะกิจต่าง ๆ เช่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกิจการทางเศรษฐกิจ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ต่างๆ เช่น หน่วยงานกิจการยุโรป เป็นต้น (3) ภารกิจภาคสนามหลายประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภารกิจทางด้านการทูตซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยข้ารัฐการฝ่ายต่างประเทศ นอกจากนี้แล้วก็ยังมีหน่วยงานกึ่งอิสระอีหลายหน่วยงาน เช่น หน่วยงานสันติภาพ และองค์การเพื่อพัฒนาระหว่างประเทศ (เอไอดี) ซึ่งต่างก็อยู่ภายใต้การกำกับทางนโยบายของกระทรวงการต่างประเทศ และหน่วยงานความร่วมมือพัฒนาระหว่าประเทศ (ไอดีซีเอ)
ความสำคัญ กระทรวงการต่างประเทศซึ่งถือว่าเป็นหน่วยงานของรัฐบาลกลางที่มีความเก่าแก่มากหน่วยงานหนึ่งนี้ ยังคงสืบสานภารกิจในด้านกิจการระหว่างประเทศที่มีมาแต่เดิมอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยเหตุที่กระทรวงการต่างประเทศนี้มีภารกิจหลักคือการดำเนินการทางด้านต่างประเทศ ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ระหว่างกระทรวงการต่างประเทศกับสาธารณชนสหรัฐ ฯ จึงไม่ค่อยมีมากนัก แต่เมื่อไม่นานมานี้ได้มีการใช้นโยบายบรรจุแต่งตั้งข้ารัฐการกระทรวงนี้โดยยึดหลัก "ประชาธิปไตย" และยึดหลัก "ความเป็นมืออาชีพ" ก็จึงทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างกระทรวงการต่างประเทศกับสาธรณชนสหรัฐ ฯ มีการปรับปรุงดีขึ้น การมิอิสระของกระทรวงการต่างประเทศที่จะดำเนินการพัฒนานโยบายจะมีมากหรือน้อยนั้น มีปัจจัยมาจากลักษณะของระบบการปกครองของสหรัฐฯที่กำหนดให้ประธานาธิบดีมีความรับผิดชอบขั้นสุดท้ายทางด้านกิจการต่างประเทศ เมื่อเป็นเช่นนี้บทบาทของกระทรวงการต่างประเทศส่วนใหญ่จึงขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ระหว่างประธานาธิบดีกับบุคคลที่ประธานาธิบดีเลือกสรรให้มาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศนี้
องค์กรที่ปรึกษาที่สำคัญของประธานาธิบดีในกิจการทุกอย่างที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ต่างประเทศ นับตั้งแต่กระทรวงการต่างประเทศนี้ได้รับการก่อตั้งขึ้นมาเมื่อปี ค.ศ. 1789 ก็ได้อยู่ภายใต้การอำนวยการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และทำหน้าที่ดังต่อไปนี้ (1) ให้คำปรึกษาแก่ประธานาธิบดี (2) ริเริ่มและดำเนินนโยบายต่างประเทศ (3) บริหารโครงการต่างประเทศที่ได้รับมอบหมายจากสภาคองเกรส (4) ตรวจสอบนโยบายภายในในส่วนที่จะมีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (5) ประสานความร่วมมือระหว่างองค์การภาครัฐบาลที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นและมีกิจกรรมที่กระทบต่อความสัมพันธ์ต่างประเทศ (6) ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างสหรัฐฯกับชาติต่าง ๆ ทั่วโลก โครงสร้างในรูปพีระมิดของกระทรวงการต่างประเทศมีการจัดเป็นหลายระดับลดหลั่นกันดังต่อไปนี้ (1) สำนักรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งรวมทั้งปลัดกระทรวงการต่างประเทศอีกหลายคน (2) ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ทำหน้าที่กำกับดูและหน่วยงานเฉพาะกิจต่าง ๆ เช่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกิจการทางเศรษฐกิจ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ต่างๆ เช่น หน่วยงานกิจการยุโรป เป็นต้น (3) ภารกิจภาคสนามหลายประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภารกิจทางด้านการทูตซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยข้ารัฐการฝ่ายต่างประเทศ นอกจากนี้แล้วก็ยังมีหน่วยงานกึ่งอิสระอีหลายหน่วยงาน เช่น หน่วยงานสันติภาพ และองค์การเพื่อพัฒนาระหว่างประเทศ (เอไอดี) ซึ่งต่างก็อยู่ภายใต้การกำกับทางนโยบายของกระทรวงการต่างประเทศ และหน่วยงานความร่วมมือพัฒนาระหว่าประเทศ (ไอดีซีเอ)
ความสำคัญ กระทรวงการต่างประเทศซึ่งถือว่าเป็นหน่วยงานของรัฐบาลกลางที่มีความเก่าแก่มากหน่วยงานหนึ่งนี้ ยังคงสืบสานภารกิจในด้านกิจการระหว่างประเทศที่มีมาแต่เดิมอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยเหตุที่กระทรวงการต่างประเทศนี้มีภารกิจหลักคือการดำเนินการทางด้านต่างประเทศ ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ระหว่างกระทรวงการต่างประเทศกับสาธารณชนสหรัฐ ฯ จึงไม่ค่อยมีมากนัก แต่เมื่อไม่นานมานี้ได้มีการใช้นโยบายบรรจุแต่งตั้งข้ารัฐการกระทรวงนี้โดยยึดหลัก "ประชาธิปไตย" และยึดหลัก "ความเป็นมืออาชีพ" ก็จึงทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างกระทรวงการต่างประเทศกับสาธรณชนสหรัฐ ฯ มีการปรับปรุงดีขึ้น การมิอิสระของกระทรวงการต่างประเทศที่จะดำเนินการพัฒนานโยบายจะมีมากหรือน้อยนั้น มีปัจจัยมาจากลักษณะของระบบการปกครองของสหรัฐฯที่กำหนดให้ประธานาธิบดีมีความรับผิดชอบขั้นสุดท้ายทางด้านกิจการต่างประเทศ เมื่อเป็นเช่นนี้บทบาทของกระทรวงการต่างประเทศส่วนใหญ่จึงขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ระหว่างประธานาธิบดีกับบุคคลที่ประธานาธิบดีเลือกสรรให้มาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศนี้
Tonkin Gulf Resolution
มติอ่าวตังเกี๋ย
มติร่วมปี ค.ศ. 1964 ที่ส่งผลให้สภาคองเกรสให้ความเห็นชอบในเบื้องต้นให้ประธานาธิบดีสามารถดำเนินการใช้ "มาตรการที่จำเป็นทั้งปวงในอันที่จะขับไล่กองกำลังทหารใด ๆ ที่เข้าโจมตีกองกำลังทหารของสหรัฐ ฯ และป้องกันการรุกรานมากยิ่งขึ้น" ได้มีการผ่านมติร่วมอ่าวตังเกี๋ยนี้ภายหลังจากที่กองกำลังทางเรือของเวียดนามเหนือได้ระดมยิงเรือพิฆาต 2 ลำของสหรัฐ ฯ อยู่ก่อนหน้านี้หลายวัน ที่อ่าวตังเกี๋ยซึ่งตั้งอยู่ระหว่างผืนแผ่นดินใหญ่เวียดนามเหนือกับเกาะไฮนันของจีน ประธานาธิบดีลินดอน บี. จอห์นสัน เห็นว่ามติร่วมอ่าวตังเกี๋ยนี้มีความสำคัญมาตั้งแต่เริ่มแรกแล้ว เขาต้องการใช้มติร่วมนี้เพื่อขีดวงจำกัดสงครามไว้ที่เวียดนามใต้และจะทำการตอบโต้หากฝ่ายเวียดนามเหนือทำการโจมตีต่อกองกำลังของสหรัฐ ฯ หลังการเลือกตั้งปี ค.ศ. 1964 และนโยบายนี้ประสบความล้มเหลว ประธานาธิบดีจอห์นสันต้องการจะสยบเสียงของผู้วิพากษ์วิจารณ์นโยบายนี้ของเขา แต่เขาก็ไม่ได้เลือกใช้นโยบายเพิ่มภาษีหรือประกาศสงคราม มติร่วมอ่าวตังเกี๋ยนี้จึงได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือของเขาเพื่อสนับสนุนความพยายามทางทหารของสหรัฐ ฯ ในเวียดนาม แต่ภายในประเทศสหรัฐฯได้เกิดการจลาจลและการคัดค้านสงครามเวียดนามมากจนประธานาธิบดีจอนห์สันต้องถอนตัวออกจากการลงแข่งขันเป็นประธานาธิบดีเมื่อปี ค.ศ. 1968
ความสำคัญ การลุกลามของสงครามเวียดนามในท่ามกลางกระแสซึ่งมีทั้งผู้ที่สนับสนุนและผู้คัดค้านนี้ ได้ส่งผลให้มีการเรียกร้องให้สหรัฐ ฯ รีบเผด็จศึกในเวียดนามและรีบถอนตัวออกมาเสีย ความขัดแย้งภายในเกี่ยวกับการตีความผลประโยชน์แห่งชาตินี้ ได้ส่งผลให้มีการนัดหยุดงาน การประท้วง การเดินขบวน การชุมนุม การก่อม็อบ การใช้ความรุนแรงของตำรวจเข้าปราบปราม ตลอดจนถึงการใช้หน่วยพิทักษ์ชาติระดมยิงนักศึกษาในวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยต่าง ๆ จากการที่มีกระแสต่อต้าน "ประธานาธิบดีจักรวรรดินิยม" นี่เอง จึงได้มีการยกเลิกมติร่วมอ่าวตังเกี๋ยเมื่อปี ค.ศ. 1970 และจากประวัติศาสตร์ของมติร่วมอ่าวตังเกี๋ยนี้อีกเหมือนกัน ที่ทำให้สภาคองเกรสเริ่มตั้งข้อสงสัยต่อบทบาทของตนในด้านนโยบายต่างประเทศ เพราะสภาคองเกรสจะทำหน้าที่ทั้งให้การสนับสนุนและใช้ความพยายามขัดขวางการขยายอำนาจของประธานาธิบดีในการควบคุมกิจการต่างประเทศ
มติร่วมปี ค.ศ. 1964 ที่ส่งผลให้สภาคองเกรสให้ความเห็นชอบในเบื้องต้นให้ประธานาธิบดีสามารถดำเนินการใช้ "มาตรการที่จำเป็นทั้งปวงในอันที่จะขับไล่กองกำลังทหารใด ๆ ที่เข้าโจมตีกองกำลังทหารของสหรัฐ ฯ และป้องกันการรุกรานมากยิ่งขึ้น" ได้มีการผ่านมติร่วมอ่าวตังเกี๋ยนี้ภายหลังจากที่กองกำลังทางเรือของเวียดนามเหนือได้ระดมยิงเรือพิฆาต 2 ลำของสหรัฐ ฯ อยู่ก่อนหน้านี้หลายวัน ที่อ่าวตังเกี๋ยซึ่งตั้งอยู่ระหว่างผืนแผ่นดินใหญ่เวียดนามเหนือกับเกาะไฮนันของจีน ประธานาธิบดีลินดอน บี. จอห์นสัน เห็นว่ามติร่วมอ่าวตังเกี๋ยนี้มีความสำคัญมาตั้งแต่เริ่มแรกแล้ว เขาต้องการใช้มติร่วมนี้เพื่อขีดวงจำกัดสงครามไว้ที่เวียดนามใต้และจะทำการตอบโต้หากฝ่ายเวียดนามเหนือทำการโจมตีต่อกองกำลังของสหรัฐ ฯ หลังการเลือกตั้งปี ค.ศ. 1964 และนโยบายนี้ประสบความล้มเหลว ประธานาธิบดีจอห์นสันต้องการจะสยบเสียงของผู้วิพากษ์วิจารณ์นโยบายนี้ของเขา แต่เขาก็ไม่ได้เลือกใช้นโยบายเพิ่มภาษีหรือประกาศสงคราม มติร่วมอ่าวตังเกี๋ยนี้จึงได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือของเขาเพื่อสนับสนุนความพยายามทางทหารของสหรัฐ ฯ ในเวียดนาม แต่ภายในประเทศสหรัฐฯได้เกิดการจลาจลและการคัดค้านสงครามเวียดนามมากจนประธานาธิบดีจอนห์สันต้องถอนตัวออกจากการลงแข่งขันเป็นประธานาธิบดีเมื่อปี ค.ศ. 1968
ความสำคัญ การลุกลามของสงครามเวียดนามในท่ามกลางกระแสซึ่งมีทั้งผู้ที่สนับสนุนและผู้คัดค้านนี้ ได้ส่งผลให้มีการเรียกร้องให้สหรัฐ ฯ รีบเผด็จศึกในเวียดนามและรีบถอนตัวออกมาเสีย ความขัดแย้งภายในเกี่ยวกับการตีความผลประโยชน์แห่งชาตินี้ ได้ส่งผลให้มีการนัดหยุดงาน การประท้วง การเดินขบวน การชุมนุม การก่อม็อบ การใช้ความรุนแรงของตำรวจเข้าปราบปราม ตลอดจนถึงการใช้หน่วยพิทักษ์ชาติระดมยิงนักศึกษาในวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยต่าง ๆ จากการที่มีกระแสต่อต้าน "ประธานาธิบดีจักรวรรดินิยม" นี่เอง จึงได้มีการยกเลิกมติร่วมอ่าวตังเกี๋ยเมื่อปี ค.ศ. 1970 และจากประวัติศาสตร์ของมติร่วมอ่าวตังเกี๋ยนี้อีกเหมือนกัน ที่ทำให้สภาคองเกรสเริ่มตั้งข้อสงสัยต่อบทบาทของตนในด้านนโยบายต่างประเทศ เพราะสภาคองเกรสจะทำหน้าที่ทั้งให้การสนับสนุนและใช้ความพยายามขัดขวางการขยายอำนาจของประธานาธิบดีในการควบคุมกิจการต่างประเทศ
Subscribe to:
Posts (Atom)