ประธานาธิบดี : ผู้บัญชาการทหาร
บทบาทของประมุขฝ่ายบริหารในฐานะเป็นผู้อำนวยการของทหารสามเหล่าทัพของสหรัฐ ฯ ภายใต้มาตรา 2 อนุมาตรา 2 ของรัฐธรรมนูญสหรัฐ ฯ ประธานาธิบดีได้ถูกออกแบบมาให้เป็นผู้บัญชาการทหารสามเหล่าทัพของสหรัฐ ฯ และของกองทัพอาสาสมัครจากมลรัฐที่ถูกเรียกเข้ามาประจำการรับใช้รัฐบาลกลาง
ความสำคัญ ประธานาธิบดีที่เป็นผู้บัญชาการสามเหล่าทัพนี้ สามารถใช้อำนาจได้อย่างล้นเหลือ อันจะมีผลกระทบต่อความมั่นคงของสหรัฐ ฯ และชาติอื่น ๆ อีกมากมาย ด้วยเหตุที่ประธานาธิบดีเป็นเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการเลือกตั้งในระดับสูงสุดของชาติ เพราะฉะนั้นอำนาจหน้าที่ทางกฎหมายของประธานาธิบดีต่อทหาร ก็คือ เพื่อส่งเสริมหลักการทางประชาธิปไตยของสหรัฐ ฯ ที่ให้พลเรือนควบคุมฝ่ายทหาร ในยามศึกสงครามประธานาธิบดีสามารถประสานความร่วมมือและอำนวยการทางยุทธการทหารและกิจกรรมเกี่ยวข้องอื่น ๆ เช่น ดำเนินการแลกเปลี่ยนเชลยศึก และดำเนินการเจรจาสงบศึก เป็นต้น ส่วนในยามสงบนั้นอำนาจของประธานาธิบดีในการวางกำลังทหารและความสามารถที่จะออกคำสั่งให้กำลังทหารเข้าแทรกแซงเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของสหรัฐ ฯ ย่อมมีผลกระทบต่อนโยบายต่างประเทศและสภาวะความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอย่างยิ่งยวด ประธานาธิบดีสามารถสั่งให้กองทัพสหรัฐ ฯ ทำการรบในสงครามที่ก่อขึ้นมาโดยรัฐบาลต่างชาติได้ อย่างเช่นที่ประธานาธิบดีแฮร์รี่ ทรูแมนดำเนินการในเกาหลีเหนือเมื่อปี ค.ศ. 1950 ถึงแม้ว่าประธานาธิบดีไม่สามารถประกาศสถานะสงครามได้ แต่ประธานาธิบดีก็สามารถดำเนินการในทางที่จะให้สภาคองเกรสมีทางเลือกอื่นน้อย ตัวอย่างเช่น เมื่อประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี.รูสเวลท์ มีคำสั่งให้กองทัพเรือสหรัฐ ฯ ทำการปกป้องขบวนลำเลียงยุทธปัจจัยไปให้อังกฤษเมื่อตอนต้นสงครามโลกครั้งที่สองก่อนที่สหรัฐฯจะทำสงครามเยอรมนีจริงๆ อิสรภาพที่จะดำเนินการเช่นนี้ของประธานาธิบดี ได้ถูกดัดแปลงไปบ้าง โดยรัฐบัญญัติวอว์เพาเวอร์ ปี ค.ศ.1973
No comments:
Post a Comment