รัฐบัญญัติเคสแอ็คส์ ปี ค.ศ. 1972
รัฐบัญญัติที่เสนอโดยวุฒิสมาชิกคลิฟฟอร์ดเคส (จากรัฐนิวเจอร์ซี) ซึ่งมีข้อกำหนดให้ประธานาธิบดีต่อยื่นต้นฉบับของข้อตกลงฝ่ายบริหารทั้งปวงต่อสภาครองเกส หากประธานาธิบดีพิจารณาเห็นว่าการเปิดเผยบทบัญญัติในข้อตกลงฝ่ายบริหารดังกล่าวจะเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของชาติกฎหมายก็ได้ให้สิทธิแก่ประธานาธิบดีที่จะไม่เปิดเผยความลับนี้ได้ อย่างไรก็ตามต้นฉบับของข้อตกลงดังกล่าวจะต้องส่งมอบให้แก่คณะกรรมาธิการวิเทศสัมพันธ์วุฒิสภาและแก่คณะกรรมาธิการกิจการต่างประเทศสภาผู้แทนนี้เท่านั้น รัฐบัญญัติเคสแอ็คส์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันฝ่ายบริหารมิให้ปกปิดฝ่ายนิติบัญญัติในเรื่องข้อผูกพันต่างประเทศโดยใช้วิธีการทำข้อตกลงฝ่ายบริหารแทนที่จะใช้กระบวนการทางสนธิสัญญา
ความสำคัญ รัฐบัญญัติเคสแอ็คส์เป็นตัวอย่างแสดงให้เห็นถึงการแข่งขันชิงดีชิงเด่นระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติที่ถูกสร้างขึ้นมาในการบริหารบ้านเมืองโดยระบบแบ่งแยกอำนาจและหลักการคานและดุลอำนาจ เมื่อปี ค.ศ. 1954 ข้อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ "บริกเกอร์ อะเมนด์เม้นท์" ที่ต้องการจำกัดอำนาจทำสนธิสัญญาของประธานาธิบดีมีอันตกไปเพราะขาดเสียงสนับสนุนหนึ่งเสียง ทำให้มีคะแนนเสียงไม่ถึงสองในสามของวุฒิสภาได้ อย่างไรก็ตามจากการที่ได้ประกาศยกเลิกมติอ่าวตังเกี๋ยในปี ค.ศ. 1970 ก็ดี จากการที่ได้ผ่านรัฐบัญญัติเคสแอ็คส์ปี ค.ศ. 1973 และรัฐบัญญัติวอร์พาวเวอร์แอ็คท์ ในปี ค.ศ. 1973 ก็ดี ล้วนแต่เป็นตัวอย่างของความพยายามของฝ่ายสภาครองเกรสที่จะยับยั้งการขยายอำนาจฝ่ายบริหารและเชิดชูบทบาทของสภาครองเกสในด้านนโยบายต่างประเทศ พลังของบทบาทนั้นยังจะต้องคอยทดสอบกันต่อไป ข้างฝ่ายศาลก็ไม่ต้องการจะยุ่งเกี่ยวกับการแข่งขันระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัตินี้ โดยมองว่าเป็นปัญหาทางการเมืองมิใช่ปัญหาการตัดสินข้อพิพาททางศาลแต่อย่างใด ในขณะเดียวกันการควบคุมของประธานาธิบดีในกิจการต่างประเทศอย่างสำคัญก็ยังคงมีต่อไปไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด
No comments:
Post a Comment