Keurig K-Mini Single Serve K-Cup Pod Coffee Maker, Poppy Red

Google

Wednesday, October 21, 2009

Foreign Service

รัฐการต่างประเทศ

สถาบันทางการทูตและทางการกงสุลของสหรัฐอเมริกา รัฐการต่างประเทศนี้ได้ก่อตั้งขึ้นมาโดย รัฐบัญญัติโรเจอร์สแอ็คส์ปี ค.ศ. 1924 และได้รับการสนับสนุนจากรัฐบัญญัติเกี่ยวกับกิจการต่างประเทศอีกหลายฉบับ ผู้ที่จะเข้ามามีอาชีพเป็นข้ารัฐการต่างประเทศนี้ได้ต่างต้องผ่านการสอบแข่งขันที่เปิดรับสมัครคนทั่วทั้งประเทศ และความก้าวหน้าในอาชีพนี้อิงระบบคุณธรรมเป็นหลัก บุคลากรของรัฐการต่างประเทศแบ่งออกเป็น 5 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้ (1) ชิฟออฟมิชชั่น (ซีเอ็ม) อาจเป็นข้ารัฐการประจำอาวุโส หรือข้ารัฐการฝ่ายการเมือง ซึ่งทำหน้าที่เป็นเอกอัครราชทูตหรือหัวหน้าคณะทูตพิเศษประจำประเทศหรือประจำองค์การต่าง ๆ เช่น สหประชาชาติ เป็นต้น (2) ฟอเรน เซอร์วิส ออฟฟิสเซอร์ (เอฟเอสโอ) คือ เจ้าหน้าที่ทางการทูตหรือทางการกงสุลระดับต่าง ๆ (3) ฟอเรน เซอร์วิส รีเสิร์ฟ ออฟฟิสเซอร์ (เอฟเอสอาร์) คือ ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ชำนาญการทางเทคนิค เช่น ผู้ช่วยทูตฝ่ายพาณิชย์ เป็นต้น ซึ่งจะมาทำหน้าที่เป็นระยะเวลาไม่มีกำหนดจนถึง 5 ปี ตามแต่รัฐมนตรีว่าการต่างประเทศจะเห็นสมควร (4) ฟอเรน เซอร์วิส สตาฟฟ์ (เอฟเอสเอส) ได้แก่ ผู้เดินสารทางการทูต เลขานุการ และคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารสถานทูตฝ่ายต่าง ๆ อาทิ เจ้าหน้าที่ฝ่ายจ่ายเอกสาร เจ้าหน้าที่ฝ่ายงบประมาณ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดเก็บเอกสารการสื่อสาร (5) ฟอเรน เซอร์วิส โลคัล เอ็มพลอยยี (เอฟเอสแอล) ได้แก่ บุคคลที่ไม่ได้เป็นพลเมืองของสหรัฐหลายพันคนที่จ้างไว้ทำงานในตำแหน่งของข้ารัฐการต่างประเทศทั่วโลกให้ทำหน้าที่ต่าง ๆ นับตั้งแต่ผู้แปลเอกสารจนกระทั่งถึงเป็นยามรักษาการณ์

ความสำคัญ รัฐการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการต่างประเทศนั้น มีหน้าที่รับผิดชอบด้านการดำเนินความสัมพันธ์ประจำวัน ระหว่างสหรัฐอเมริกากับประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก หน้าที่ของรัฐการต่างประเทศมีดังนี้ (1) ทำให้นโยบายต่างประเทศของสหรัฐ ฯ บรรลุถึงวัตถุประสงค์ (2) คุ้มครองพลเมืองและผลประโยชน์ของสหรัฐ ฯ ในต่างประเทศ (3) รวบรวมและตีค่าข่าวสารสารสนเทศ(4) เจรจา และ(5) จัดคณะผู้แทนไปประจำตามองค์การระดับพหุภาคีและองค์การระดับภูมิภาค เช่น สหประชาชาติ และองค์การนานารัฐในทวีปอเมริกา (โอเอเอส)

No comments:

Post a Comment

Google