สภาคองเกรส : มติร่วม
ข้อกำหนดของฝ่ายนิติบัญญัติที่มีลักษณะคล้ายกับรัฐบัญญัติทั่วไป มติร่วมมีลักษณะเหมือนกับร่างรัฐบัญญัติทั่วไป คือ จะต้องผ่านทั้งสองสภาของสภาคองเกรสด้วยคะแนนเสียงข้างมากปกติ และมีการลงนามโดยประธานาธิบดีจึงจะเป็นกฎหมายได้ เมื่อเครื่องมือคือมติร่วมนี้สภาคองเกรสนำไปใช้เพื่อเสนอขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็ไม่จำเป็นต้องได้รับการลงนามโดยประธานาธิบดี มติร่วมนี้จะติดข้อความไว้ว่า "เอชเจ เรส" และ "เอสเจ เรส" เพื่อให้แตกต่างจากร่างรัฐบัญญัติทั่วไป
ความสำคัญ มติร่วมจะนำมาใช้ในเรื่องที่เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศ (1) เพื่อประกาศหรือเพื่อยุติสถานะสงคราม (2) เพื่อให้ความเห็นชอบในการกระทำของประธานาธิบดี หรือ (3) เพื่อพยายามริเริ่มนโยบายต่างประเทศ แต่ในบางครั้งนั้นมติร่วมโดยสองสภานี้ อาจจะนำมาใช้แทนสนธิสัญญาโดยวุฒิสภาก็ได้ ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ก็จะใช้วิธีลงคะแนนเสียงข้างมากปกติในสองสภา แทนการใช้การลงคะแนนเสียงสองในสามตามที่กำหนดไว้ในวุฒิสภา การผนวกมลรัฐเท็กซัสและมลรัฐฮาวายได้กำหนดโดยวิธีใช้มติร่วมนี้เมื่อปี ค.ศ.1964 ได้มีการผ่านมติร่วมอ่าวตังเกี๋ยเพื่อให้ประธานาธิบดีมีอิสระอย่างเต็มที่ในเวียดนาม แต่พอถึงปี ค.ศ. 1970 สภาคองเกรสได้ยกเลิกมติร่วมนี้ เพื่อเป็นการแสดงความไม่เห็นชอบกับปฏิบัติการสงครามของประธานาธิบดี
No comments:
Post a Comment