Keurig K-Mini Single Serve K-Cup Pod Coffee Maker, Poppy Red

Google

Wednesday, October 21, 2009

Caribbean Basin Initiative (CBI)

โครงการริเริ่มลุ่มทะเลคาริบเบียน(ซีบีไอ)

โครงการของสหรัฐอเมริกา เพื่อพัฒนาคุณค่าประชาธิปไตยและเศรษฐกิจแบบตลาดเสรีที่มีเสถียรภาพในแถบกลุ่มประเทศลุ่มทะเลคาริบเบียน ซึ่งประกาศเป็นโครงการโดยประธานาธิบดีไรนัลด์ เรแกนในที่ประชุมขององค์การรัฐในทวีปอเมริกา (โอเอเอส) เมื่อปี ค.ศ. 1982 สภาครองเกสของสหรัฐ ฯ ได้ตรากฎหมายว่าด้วยการปลอดภาษีและผลประโยชน์ด้านภาษีของซีบีไอนี้ไว้ใน "รัฐบัญญัติการฟื้นฟูเศรษฐกิจของลุ่มทะเลคาริบเบียน" ปี ค.ศ. 1983 โครงการซีบีไอมีผลบังคับใช้เป็นเวลา 12 ปี โดยเริ่มตั้งปี ค.ศ. 1984 มีขอบข่ายโครงการครอบคลุม 22 ประเทศ ข้อกำหนดของโครงการที่ว่าด้วยการปลอดภาษีนั้น ได้ให้การสนับสนุนการพัฒนาโดยผ่านทางความหลากหลายของสินค้าขาออก ส่วนข้อกำหนดที่ว่าด้วยผลประโยชน์ทางด้านภาษีนั้นได้ให้การสนับสนุนให้มีการลงทุนต่างประเทศภาคเอกชนของสหรัฐอเมริกาในภูมิภาคดังกล่าว

ความสำคัญ โครงการซีบีไอเพื่อเสถียรภาพทางการเมืองและเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคกลุ่มทะเลคาริบเบียนนี้มีความสำคัญต่อประชาชนชาวอเมริกัน ห้าสิบเปอร์เซ็นต์ของการค้าของสหรัฐทั้งหมดรวมทั้งการนำเข้านำ้มันเกือบทั้งหมดจะต้องขนส่งผ่านเส้นทางการเดินเรือในแถบทะเลคาริบเบียนนี้ การสร้างงานให้แก่ประชาชนที่อยู่ในภูมิภาคดังกล่าวนี้มีวัตถุประสงค์จะลดภาวะการว่างงานของคนภายในภูมิภาคนี้ ที่มีอยู่สูงถึง 40 เปอร์เซ็นต์ อันเป็นเหตุให้เป็นภูมิภาคที่มีคนหลบหนีเข้าไปอยู่ในสหรัฐอเมริกาใหญ่อันเป็นอันดับสองของโลก นอกจากนี้แล้วภูมิภาคคาริบเบียนนี้ก็ยังเป็นตลาดสำหรับสินค้าออกที่สำคัญแห่งหนึ่งของสหรัฐ ฯ คือ เป็นตลาดใหญ่เป็นอันดับเจ็ดของโลกเลยทีเดียว สินค้าส่งออกของสหรัฐที่ส่งเข้าไปขายในภูมิภาคแห่งนี้มีมูลค่าทั้งสิ้น 6.3 พันล้านดอลล่าร์ คือ เป็นจำนวนที่มากกว่าสินค้าขาออกที่สหรัฐฯส่งไปขายในสหภาพโซเวียตและประเทศในยุโรปตะวันออกรวมกัน หรือมากกว่าสินค้าขาออกที่สหรัฐฯส่งไปขายทุกประเทศในทวีปอเมริกา หรือมากกว่าสินค้าออกที่สหรัฐ ฯ ส่งไปขายในฝรั่งเศส หรืออิตาลีเสียอีก การให้ความสนับสนุนด้านดุลการชำระเงิน การให้ความช่วยเหลือทางด้านการพัฒนา และการให้ความช่วยเหลือทางด้านโภคภัณฑ์จากสหรัฐฯก็ดี การได้รับความช่วยเหลือทางด้านพลังงานราคาถูกจากเม็กซิโกและเวเนซุเอลากับจากโครงการตลาดเสรีของแคนนาดาต่อประเทศเครือไพบูลย์แห่งคาริบเบียนก็ดี ได้ช่วยให้ดินแดนแถบนี้เกิดการพัฒนาด้านต่าง ๆ แม้ว่าปัญหาการขาดดุลทางงบประมาณของสหรัฐ ฯ จะทำให้สหรัฐ ฯ ให้ความช่วยเหลือไม่ได้เต็มที่แต่ก็ได้ช่วยให้ดินแดนแถบนี้มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ยทั่วภูมิภาคถึง 2 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ประชากรทั่วทั้งภูมิภาคยังคงเติบโต 2.5 เปอร์เซ็นต์ต่อปีอยู่ต่อไป

No comments:

Post a Comment

Google