สำนักฝ่ายบริหารของประธานาธิบดี
คณะหน่วยงานที่ปรึกษาที่รับผิดชอบโดยตรงต่อประธานาธิบดี ซึ่งก่อตั้งขึ้นมาเพื่อให้คำแนะนำและช่วยเหลือประธานาธิบดี ในการดำเนินงานในหน้าที่ฝ่ายบริหารที่มีขอบข่ายกว้างขวางมาก หน่วยงานภายในสำนักบริหารของประธานาธิบดีมีอยู่หลากหลายนับตั้งแต่ที่ได้จัดตั้งที่ทำการ ฯ โดยคำสั่งฝ่ายบริหารภายใต้รัฐบัญญัติการจัดหน่วยงานรัฐบาลใหม่ปี ค.ศ. 1939 หน่วยงานและปีที่จัดตั้งมีดังนี้ (1) สำนักทำเนียบขาว (1939) (2) สำนักการจัดการและงบประมาณ (โอเอ็มบี) (1921) (3) สำนักพัฒนานโยบาย (1970) (4) สภาความมั่นคงแห่งชาติ (เอ็นเอสซี) (1947) (5) สภาที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจ (ซีอีเอ) (1946) (6) สำนักนโยบายทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (1959) (7) สภาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (1969) (8) สำนักบริหาร (1979) และ(9) สำนักผู้แทนการค้าสหรัฐ ฯ (1974)
ความสำคัญ สำนักฝ่ายบริหารของประธานาธิบดีแต่แรกก่อตั้งขึ้นมาเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ประธานาธิบดีในด้านกิจการภายใน แต่ในปัจจุบันสำนักฝ่ายบริหารฯนี้เป็นเครื่องสะท้อนให้เห็นหน้าที่ของประธานาธิบดีว่าเกี่ยวข้องกับนโยบายต่างประเทศและเรื่องที่เกี่ยวข้องที่เท่าหรือมากกว่าฝ่ายอื่นๆอย่างไรบ้าง ก่อนที่จะได้ก่อตั้งสำนักฝ่ายบริหารนี้ขึ้นมา ประธานาธิบดีได้อาศัยหน่วยงานเชิงปฏิบัติการที่สำคัญต่างๆให้มาทำหน้าที่ (1) เสนอรายงาน (2) ให้คำแนะนำวางแผน และ (3) ให้ความช่วยเหลือภารกิจประจำวัน ปัจจุบันสำนักฝ่ายบริหารของประธานาธิบดีเป็นสถาบันถาวรสำหรับตำแหน่งประธานาธิบดี คณะ "ทีมงาน" ของประธานาธิบดีจากสำนักฝ่ายบริหารประธานาธิบดีนี้มีกำลังพลประมาณ 2,000 คน บุคคลเหล่านี้จะให้ความช่วยเหลือประธานาธิบดีในการกำหนดและดำเนินนโยบายกว้าง ๆ ในทุก ๆ เรื่องที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของฝ่ายบริหาร
No comments:
Post a Comment