ประธานาธิบดี : ประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ
แนวความคิดที่เน้นถึงความสำคัญในบทบาทของประธานาธิบดีในกระบวนการทางนิติบัญญัติ อำนาจทางนิติบัญญัติของประธานาธิบดีอิงอาศัยมาตรา 1 อนุมาตรา 7 และมาตรา 2 อนุมาตรา 3 ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งให้อำนาจประธานาธิบดีสามารถ (1) ใช้อำนาจยับยั้งทางนิติบัญญัติ (2) เลื่อนการประชุมของสภาคองเกรสภายใต้สภาพแวดล้อมที่ผิดปกติ (3) เรียกประชุมสมัยวิสามัญของสภาคองเกรส (4) ส่งสารพิเศษถึงสภาคองเกรสเรียกร้องให้สนใจเรื่องต่าง ๆ และเสนอแนะให้ออกกฎหมายด้วย ในการดำเนินความพยายามที่จะชี้นำนโยบายต่างประเทศนั้น ประธานาธิบดีก็ยังสามารถใช้เครื่องมือที่มีความสำคัญเท่าเทียมกันแต่มีรูปแบบเป็นทางการน้อยกว่าข้างต้นได้ด้วย อำนาจและเอกสิทธิ์ของตำแหน่งมีการนำมาใช้ผ่านทางตำแหน่งของประธานาธิบดีในฐานะที่ (1) เป็นผู้นำทางการเมือง (2) เป็นผู้ควบคุมข้ารัฐการฝ่ายบริหาร(3) เป็นผู้มีความสามารถในการชักนำผู้อื่น (4) เป็นผู้มีความสามารถในการเรียกร้องสาธารณชนให้มาสนับสนุนภาวะผู้นำของประธานาธิบดี
ความสำคัญ บทบาทของประธานาธิบดีในฐานะเป็นประมุขฝ่ายนิติบัญญัตินั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งทั้งในกิจการภายในและในกิจการต่างประเทศ ทั้งนี้เพราะนโยบายต่างประเทศจำต้องอาศัยการสนับสนุนและการดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายของฝ่ายนิติบัญญัติ ในการที่จะออกกฎหมายที่มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ต่างประเทศนั้นส่วนใหญ่แล้วจะเริ่มร่างกันที่ฝ่ายบริหารก่อน ต่อจากนั้นสมาชิกฝ่ายนิติบัญญัติที่เป็นมิตรหรือฝ่ายเดียวกับฝ่ายบริหาร ก็จะนำเสนอต่อสภาคองเกรสอีกต่อหนึ่ง ถ้าเป็นการเสนอร่างรัฐบัญญัติเกี่ยวกับการให้การช่วยเหลือต่างประเทศ ร่างรัฐบัญญัติที่เรียกร้องให้มีการจัดตั้งหน่วยงานใหม่ ๆ อาทิ หน่วยงานสันติภาพ หรือร่างรัฐบัญญัติเกี่ยวกับแผนจัดตั้งกองทัพ สภาคองเกรสก็จะให้ความสนใจเป็นพิเศษ เพราะรู้ว่า "เป็นมาตรการของฝ่ายบริหาร" หรือเป็นส่วนหนึ่งของ "โครงการของประธานาธิบดี"
No comments:
Post a Comment